บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
6.6K
2 นาที
7 กันยายน 2554
AEC กับแนวคิดการสร้างตลาดใหม่แฟรนไชส์


 
 ขนาดตลาด AEC หรือ ประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เรียกให้ไพเราะได้ว่า อุศาคเนค์ นั้นมีการเติบโตและน่าสนใจอย่างมาก อีกเพียง 3 ปีกว่าเท่านั้นขนาดตลาดที่เปิดกว้างมากขึ้นทำให้การนับประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทางการค้าก็จะไม่น้อยกว่า 580 ล้านคน

กระบวนการคิดการจัดการระบบธุรกิจในโลกสมัยใหม่จึงต้องเรียกกันได้ว่า เรียนรู้กันใหม่เลยก็ว่าได้ ทฤษฎีการตลาดที่ผ่านมากับตลาดรูปแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นคงต้องเปลี่ยนไป ปรับให้เข้ากับกระแสความคิดของกลุ่มลูกค้าหลากความเชื่อ และการให้คุณค่าของสิ่งที่ตนเองต้องซื้อกินซื้อใช้ในรูปแบบใหม่ ส่วนการสร้างระบบการค้าให้ขยายตัวด้วยแฟรนไชส์นั้นก็มีเรื่องที่น่าพูดคุยให้เห็นแง่มุมที่จะส่งผลต่อการขยายตัวของระบบธุรกิจแฟรนไชส์เองหลายด้าน
 
เริ่มจากเรื่องของทัศนคติความคิดและความเข้าใจต่อระบบแฟรนไชส์ ที่เป็นสิ่งที่จะส่งผลต่ออัตราการเติบโตนั้นมีผลต่อการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์  มีการศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นสาธารณะและระบบ แฟรนไชส์ ในตลาดใหม่   โดยมีกรอบในการประเมินผลของความคิดเห็นสาธารณะที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ ทั้งนี้จากการสำรวจ ความคิดเห็น และรสนิยม ของผู้คนในตลาดที่เกิดขึ้นใหม่ในประเทศที่มีการพัฒนาธุรกิจช่วงเริ่มต้น มีการขยายตัวด้วยความรวดเร็วอย่าง

เช่น การเติบโตในประเทศอินเดีย จีน และประเทศเขตเอเชีย เนื่องจากระบบ แฟรนไชส์สำหรับการขายตัวในตลาดใหม่แบบนี้มักจะมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว  สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจแบบนี้ เรามักจะเรียกโดยรวมว่าเป็น ตลาดใหม่ หรือ Emerging Market ดังนั้นการสร้างความรู้สึกความเข้าใจที่ดีต่อระบบแฟรนไชส์คือเรื่องที่ธุรกิจทั้งระบบที่เกี่ยวข้องต้องสร้างร่วมกัน การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องจะส่งผลต่อการขยายตัวระบบแฟรนไชส์น้อยลงทันที

 

นอกจากนั้นระบบแฟรนไชส์ในตลาดใหม่จะถือเป็นช่วงแรกของการพัฒนาธุรกิจที่เริ่มขยายตัวทั้งมาจากประเทศอื่นหรือเกิดการพัฒนาขึ้นมาเองในประเทศและเรื่องแบบนี้จะถือว่าเป็นแนวความคิดที่แปลกใหม่ในตลาด
และมักจะได้รับความสนใจในช่วงแรกได้อย่างรวดเร็ว ระบบแฟรนไชส์มีเสน่ท์ตรงที่เห็นกระบวนการจัดการในรูปแบบของธุรกิจที่เห็นได้ไม่ยาก

การขายสินค้า การบริการ รูปแบบการตกแต่งร้าน และวิธีการตลาดที่สร้างความพอใจให้กับคนบริโภคได้รวดเร็วผลคือ การสร้างตลาดได้อย่างรวดเร็ว เกิดการยอมรับในตรายี่ห้อ โดยทั่วไปแล้วสังคมมักจะมีทัศนคติต่อระบบแฟรนไชส์ด้านดี ส่วนความรู้สึกที่ไม่ดีก็ยังพอจะเห็นได้บ้างโดยเฉพาะผลของการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าประชาชนประเมินผลระบบแฟรนไชส์โดยใช้ 4 ปัจจัย คือ

ประเด็นแรกคือ การประเมินความรู้สึกต่อแฟรนไชส์ในประเทศที่จะรับธุรกิจเหล่านั้นเข้าไปดำเนินในประเทศของตนเอง ผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็นว่าธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศนั้นจะส่งผลต่อสถานะภาพทางธุรกิจของธุรกิจขนาดเล็ก ก็เลยจะทำให้ความรู้สึกต่อระบบแฟรนไชส์เป็นไปในด้านลบ เนื่องเพราะสังคมที่เพิ่งเริ่มพัฒนาจะมีความกังวลในด้านการแข่งขันทางธุรกิจ และมองเห็นแล้วว่าธุรกิจแบบแฟรนไชส์ที่มีระบบสมบูรณ์ที่มีการพัฒนาอย่างดีเหล่านั้นจะทำให้ธุรกิจระดับรากหญ้าจะไม่สามารถแข่งขันด้วยได้


แนวคิดนี้ในประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่แม้กระทั่งในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตามหมู่ประชาชนในสังคมนั้นถึงจะรับรู้ว่า ธุรกิจขนาดเล็กที่เป็นรูปแบบแฟรนไชส์นั้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคมได้ทั้งการยกระดับคุณภาพ และเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่ดี ความสามารถในการจัดการและความเข้มแข็งของธุรกิจแฟรนไชส์ที่เข้ามาในประเทศก็จะส่งผลให้ธุรกิจขนาดเล็กเกิดปัญหา
 
สำหรับประเด็นที่สองคือ เรื่องเศรษฐสังคม (Socioeconomic) ซึ่งพอจะเป็นทัศนคติในด้านดี เนื่องจากเป็นความคิดเห็นที่เน้นถึงสภาพสังคมที่มีเศรษฐกิจที่ดีเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือการจ้างงานส่งผลกระทบต่อความรู้สึกในด้านบวก ด้วยปัจจัยของการพัฒนาด้านนี้เองกลายเป็นผลให้ระบบแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ จากงานวิจัยสรุปให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่า แฟรนไชส์มีผลดีต่อ เศรษฐสังคมที่ดี

ประเด็นที่สามเป็นเรื่องของสังคมและวัฒนธรรม ความเห็นด้านการพัฒนารูปแบบการให้บริการและยกระดับของสินค้าช่วยให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น ส่งผลให้สังคมและวัฒนธรรมที่ดีขึ้น ซึ่งจากแนวทัศคติด้านนี้มีแนวโน้มค่อนข้างดีในตลาดที่ระบบแฟรนไชส์เริ่มเข้าไปพัฒนา

สุดท้ายคือ ความคิดเห็นในเรื่อง แฟรนไชส์สร้างโอกาสการจ้างงานในสังคมเพิ่มขึ้น เป็นทัศคติต่อระบบแฟรนไชส์ที่สังคมยอมรับอย่างมาก เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการกระจายสาขาของธุรกิจคือโอกาสการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าระบบแฟรนไชส์นั้นดีต่อโอกาสการจ้างงานพัฒนาคุณภาพของแรงงานและที่สำคัญเปิดโอกาสการลงทุนให้กับทุกคนที่มีความสามารถ 



การที่ระบบแฟรนไชส์ในระบบเศรษฐกิจนั้นจะประสบความสำเร็จในตลาดใหม่และกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมในระบบแฟรนไชส์จะต้องให้ความสนใจอย่างยิ่งกับความคิดเห็นของคนในสังคมนั้น ทั้งความรู้สึกและทัศนคติต่อระบบแฟรนไชส์ การวิเคราะห์แต่ละปัจจัยโดยละเอียดเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์มาก ซึ่งจะส่งผลต่อการประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานในแต่ละประเทศ    
 
ดังนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาคือ เมื่อไรก็ตามที่ภาพรวมในระบบเกิดการขาดธุรกิจแฟรนไชส์ซีที่ดีและเหมาะสมต่อการลงทุน จะส่งผลให้การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ลดน้อยลงไปด้วยทันที เนื่องจากคนทั่วไปขาดความเข้าใจหรือไม่รู้จักธุรกิจทำให้ลดความสนใจต่อการลงทุน ในภาพรวมของเศรษฐกิจทำให้เกิดภาวะขาดโอกาสที่จะเป็นเจ้าของกิจการและพัฒนาธุรกิจด้านแฟรนไชส์

ถ้าจะให้ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโตเพิ่มขึ้นและทำให้มีศักยภาพในการสร้างธุรกิจให้เกิดการลงทุนสร้างความเป็นเจ้าของกิจการและจะส่งผลบริษัทเล็ก ๆ ก้าวหน้าขึ้น จะต้องเน้นสร้างความเข้าใจเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์นี้ให้กับคนทั่วไป และพัฒนาการจัดการของธุรกิจประเภทนี้อย่างต่อเนื่อง การก้าวข้ามธุรกิจของแฟรนไชส์ที่จะเข้าไปสู่ตลาดใกล้บ้านจึงต้องไม่มองข้ามเรื่องการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้ดีเสียก่อนในประเทศที่เป็นเป้าหมาย 



ถ้าเน้นการขยายแบบเดียวกับระบบการส่งสินค้าออก ขายแล้วแล้วกัน ในระบบแฟรนไชส์จะก่อปัญหาให้กับภาพรวมของอุตสาหกรรมด้านแฟรนไชส์ทันที การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยนั้นต้องทำความเข้าใจร่วมกันให้ดีเสียก่อน ยิ่งต้องออกต่างประเทศโดยวาง AEC เป็นเป้าหมายแล้ว ยังถือได้ว่าบ้านเรา ธุรกิจของเรามีโอกาสเหนือคนอื่นในระดับหนึ่ง

แต่ถ้าธุรกิจเหล่านั้นมุ่งเน้นขยายขายออกโดยไม่สร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจและสังคมนั้นๆเข้าใจเสียก่อน ก็จะทำให้เกิดปัญหาภายหลังได้ ด้วยเหตุนี้เอง การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ยิ่งต้องเน้นการพัฒนาคน พัฒนาความรู้ความเข้าใจ และสร้างโอกาสการลงทุนของประเทศเราให้เพิ่มขึ้น ยิ่งมีการลงทุนในระบบเศรษฐกิจและกระจายรายได้ไปสู่ผู้คน สร้างโอกาสที่ไม่ผูกขาดกับกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประเทศเราก็จะมีการพัฒนาต่อเนื่อง ธุรกิจและสังคมก็ไม่ล้าหลังอย่างแน่นอน


บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
8,249
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,875
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,610
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,402
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
820
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
812
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด