บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    ช่องทางทำกิน
3.3K
2 นาที
26 มิถุนายน 2561
ซื้อแฟรนไชส์หรือทำงานพาร์ทไทม์ อะไรดีกว่ากัน?
 

มีการเปรียบเทียบที่ยกตัวอย่างให้เห็นมากมาย ระหว่าง เลือกทำธุรกิจตัวเอง , ลงทุนกับแฟรนไชส์ , เป็นมนุษย์เงินเดือน , รวมถึงการทำงานแบบพาร์ทไทม์ ซึ่งบริบทของรูปแบบการทำงานในแต่ละอย่างก็มีจุดดีจุดด้อยในตัวเอง คำตอบของเรื่องนี้ส่วนใหญ่จะโฟกัสว่าขณะนั้นเราเหมาะสมกับการทำงานแบบไหน

ซึ่งบางครั้งก็สามารถเลือกทำแบบผสมผสานได้ แต่ทีนี้ก็มีคำถามเล็กๆว่าหากพูดถึงแค่ต้องการรายได้เสริมที่ดี ชนิดที่ไม่ได้มีเงินทุนมากมาย จะเลือกทำอะไรดีระหว่าง ซื้อแฟรนไชส์ หรืองานพาร์ทไทม์ ลองมาดูคำตอบที่ www.ThaiFranchiseCenter.com นำมาฝากเพื่อช่วยในการตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น

เลือกลงทุนกับแฟรนไชส์
 

แฟรนไชส์คือสูตรสำเร็จการทำธุรกิจที่ทำให้เราไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่ต้องบุกเบิกตลาดเอง ซึ่งข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์สร้างรายได้เสริมคือ
  1. สามารถเลือกรูปแบบราคาการลงทุนได้ว่าต้องการแบบไหนอย่างไร
  2. มีโอกาสในการสร้างรายได้ทันทีถ้าเลือกแบรนด์แฟรนไชส์ที่คนนิยม
  3. มีโอกาสก้าวหน้าและต่อยอดธุรกิจได้ง่าย

ซึ่งถ้าเราเลือกซื้อแฟรนไชส์ในราคาที่ไม่สูงเกินไป เช่นซื้อแฟรนไชส์ในราคา 10,000 บาท งบลงทุนเบื้องต้นที่นอกเหนือจากค่าแฟรนไชส์เช่นค่าเช่าที่ ค่าอุปกรณ์เสริมในการเปิดร้าน อาจจะรวมๆ แล้วต้องมีงบลงทุนเบื้องต้นอีกประมาณ 5,000 บาท เบ็ดเสร็จค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนประมาณ 15,000-20,000 บาท ซึ่งการคืนทุนและได้กำไรก็ขึ้นอยู่กับสินค้าที่เราเลือก ทำเลที่เราตั้งร้าน 
 

ส่วนใหญ่หากเป็นสินค้ายอดนิยมอย่างลูกชิ้น เครื่องดื่ม ก็จะขายได้ง่ายโอกาสคืนทุนก็ไวแต่หากเป็นการลงทุนที่มีค่าแฟรนไชส์สูงขึ้น  งบการลงทุนเบื้องต้นสูงขึ้น ระยะการคืนทุนได้กำไรก็จะมากตามไปด้วย
 
ทำงานพาร์ทไทม์


เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ไม่ต้องการจะเสี่ยงเรื่องการลงทุน หรือว่าไม่มีทุนเริ่มต้นให้กับตัวเอง ปัจจุบันมีงานพาร์ทไทม์หลายชนิดที่น่าสนใจ ซึ่งรายได้ของงานพาร์ทไทม์ก็ขึ้นอยู่กับประเภทงานและความขยันในการทำงานของแต่ละคน ซึ่งข้อดีของการทำงานพาร์ทไทม์ก็คือ
  1. ไม่มีความเสี่ยงใดๆ อาศัยว่าต้องขยันและทำงานตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้
  2. มีรายได้ที่แน่นอนจากการจ้างงาน
  3. เป็นช่องทางสร้างเสริมประสบการณ์สำหรับคนที่อยากเพิ่มประสบการณ์ให้ตัวเอง
  4. สามารถเลือกงานพาร์ทไทม์ที่หลากหลายและเปลี่ยนงานได้ตามต้องการ
ในมุมมองด้านหนึ่งการทำงานพาร์ทไทม์แม้จะไม่ต้องลงทุนเรื่องเงินแต่ก็ต้องลงทุนเรื่องแรงกายและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ปัจจุบันค่าแรงของการทำงานพาร์ทไทม์มักจะจ้างเป็นรายชั่วโมง เริ่มต้นที่ประมาณ 30 บาท/ชม.


หรือในบางบริษัทที่มีการจ้างแบบพาร์ทไทม์เช่น พวกคีย์ข้อมูล (แบบพาร์ทไทม์) ก็อาจให้ค่าจ้างประมาณ 35-40 บาท หรือในร้านอาหารอย่างชาบู หมูกระทะ ถ้ามีการจ้างพาร์ทไทม์ราคาจะอยู่ประมาณ 30 บาท ซึ่งนอกจากค่าจ้างที่ได้อาจมีสวัสดิการอื่นๆเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเช่น ค่าข้าว ค่าอาหาร สำหรับการจ้างในบางที่เป็นต้น
 
ซึ่งจะเห็นได้ว่ารายได้ของงานพาร์ทไทม์ที่ส่วนใหญ่ทำงานได้วันละ 250-300 บาท แต่เงินส่วนนี้ไม่ได้มากมาย อีกทั้งยังเป็นรายได้ที่ไม่หักรายจ่ายส่วนตัว ซึ่งการทำงานพาร์ทไทม์ส่วนใหญ่จะเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับการเงินตัวเองแต่ไม่อาจจะเก็บออมไว้ได้มากนัก
 
เมื่อมองในมุมของการทำเพื่ออนาคตแล้ว การลงทุนซื้อแฟรนไชส์จะตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ดีกว่า แม้จะต้องเริ่มต้นด้วยเงินทุนแต่ในระยะยาวก็อาจจะคุ้มค่าและมั่นคงกว่าการทำงานพาร์ทไทม์ ซึ่งไม่ใช่งานประจำและอาจจะไม่ได้มีงานให้ทำทุกวัน รวมถึงความไม่แน่นอนที่อาจจะถูกเลิกจ้างเมื่อไหร่ก็ได้

 
ดังนั้นหากเป็นไปได้เราสามารถผสมผสานทั้งสองเรื่องนี้ไว้เป็นเรื่องเดียวกันได้เช่น เราอาจเริ่มต้นทำงานพาร์ทไทม์เพื่อสะสมประสบการณ์ในงานที่เราอยากทำธุรกิจ พร้อมกับการเก็บสะสมเงินที่ได้ เพื่อนำไปซื้อแฟรนไชส์ที่เราคิดว่ามีความถนัด ซึ่งจากประสบการณ์ที่เราได้ทำงานพาร์ทไทม์ด้านนั้นมาบ้างแล้วก็จะทำให้เราสามารถบริหารจัดการร้านได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าเรามีโอกาสคืนทุน สร้างกำไร และขยายกิจการต่อไปได้มากขึ้นด้วย
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่  goo.gl/Io5k2S
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,531
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,634
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,287
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,905
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,241
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด