บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
6.2K
2 นาที
20 กุมภาพันธ์ 2555
มีกฏหมายแฟรนไชส์ก่อนเปิด AEC ดีหรือไม่?

ฉบับที่แล้ว นำเสนอเกี่ยวกับมาตรการฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัย โดยกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ (DBD) รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น พร้อมทั้งเชิญหน่วยงานราชการ สถาบันการเงิน สมาคมธุรกิจ และกลุ่มผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยมาพบกัน

เพื่อจะหาทางช่วยเหลือและเยียวยาภาคธุรกิจที่ประสบภัยน้ำท่วม ให้สามารถขับเคลื่อนและเดินหน้าต่อไปได้ รวมทั้งดึงเอาประชาชนผู้ประสบภัยที่ถูกเลิกจ้างให้มาพบกับเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อจะให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพของประชาชน

นั่นเป็นมุมหนึ่งที่ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม โดยภาครัฐพยายามที่จะให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน แต่อีกมุมหนึ่งที่ภาครัฐพยายามปลุกภาคเอกชนให้ตื่นตัว เพื่อจะรับมือกับการเปิดเสรีทางการค้า ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี (Asian Economic Community: AEC) ทั้งนี้จะมีผลทำให้การค้าในอาเซียนกลายเป็นหนึ่งเดียว ฉะนั้นหากว่าผู้ประกอบการมีการศึกษาและเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าก็จะส่งด้านบวก ในทำนองเดียวกันหากไม่เตรียมตัวให้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นก็อาจจะกลายเป็นผลร้าย เพราะเวทีการค้ามีขนาดใหญ่ขึ้น คู่แข่งขันมากขึ้น ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นฯลฯ

นักวิชาการและสื่อต่างๆ กำลังเฝ้าจับตามองทั้งภาครัฐ และเอกชนในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็พยายามจะจุดพลุเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์หันมาสนใจและตื่นตัว แต่ดูจะเป็นจะตื่นเต้นและปรากฏเป็นภาพให้เห็นแค่วูบเดียว (แล้วก็เงียบหายไป) ทั้งๆ ที่เหลือเวลาอีกแค่เพียง 3 ปีเท่านั้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีก็จะเปิดกว้างแล้ว

ดังนั้นหลายๆ ฝ่ายจึงมีความเป็นห่วงว่าผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยจะเข้มแข็งจริงหรือเป็นมืออาชีพเพียงใด สำหรับการจะขยายออกไปยังประเทศแถบในอาเซียนและภูมิภาคอื่น หรือจะมีศักยภาพจะต่อกรกับแฟรนไชส์สัญชาติยักษ์ใหญ่ได้มากน้อยแค่ไหน...น่าสงสัย

เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ผู้อยู่ในแวดวงแฟรนไชส์เห็นว่ารัฐบาลควรจะเร่งดำเนินการโดยเร็วก็คือ การพิจารณาและออกกฏหมายมารองรับธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบการไทยและเทศ ที่อ้างว่าหรือบอกว่าทำธุรกิจแฟรนไชส์อยู่นับพันราย มีมูลค่าทางธุรกิจหลายหมื่นล้านบาท มีหน่วยงานของรัฐอย่างกรมพัฒฯ และงบประมาณส่งเสริมปีละหลายสิบล้านบาท มีผู้ประกอบการขี้ฉ้อทำการหลอกลวงประชาชนและมีมูลค่าความเสียหายนับร้อยล้านบาทต่อปี แต่ประเทศไทยไม่ยังมีกฏหมายมารองรับและควบคุมธุรกิจแฟรนไชส์

ผิดกับนานาประเทศ หรือประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียน บางประเทศเพิ่งจะเริ่มมีธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศได้ไม่นาน เช่น ประเทศเวียดนาม แต่ที่รัฐบาลของเขาก็เห็นความสำคัญในเรื่องกฏหมายแฟรนไชส์ เพราะนอกจากกฏหมายแฟรนไชส์จะควบคุมผู้ประกอบการขี้ฉ้อและต้มตุ๋นแล้ว กฏหมายแฟรนไชส์ในหลายประเทศต่างก็พยายามปกป้องผู้ประกอบการของประเทศตัวเอง เพื่อมิให้เสียเปรียบในการแข่งขันกับผู้ประกอบการแฟรนไชส์สัญชาติอื่นที่มีทุนขนาดใหญ่ ที่จะเข้ามากินรวบตลาดแฟรนไชส์ของประเทศนั้นๆ

ซึ่งตั้งแต่ผู้เขียนก้าวเข้าสู่แวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ ก็ได้ยินจากกูรูท่านหนึ่งบอกว่ามีการร่างกฏหมายแฟรนไชส์มานานนับ 10 ปีแล้ว (ไม่รู้จริงหรือเท็จ) เมื่อเร็วๆ นี้ก็มีการทำประชาพิจารณ์แล้ว แต่รอเสนอรัฐบาลและนำเข้าสูสภาฯ พิจารณาออกเป็นกฏหมาย แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่เห็นวี่แววว่าหน่วยงานของรัฐจะผลักดันเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง หากประเทศไทยยังไม่มีกฏหมายแฟรนไชส์ออกมาภายในอีก 3 ปีนี้ ไม่รู้ว่าแฟรนไชส์ไทยจะเป็นยังไงน้า

อ้างอิงจาก สยามรัฐ
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,010
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,491
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,634
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,573
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด