บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.9K
3 นาที
21 พฤศจิกายน 2561
แฟรนไชส์ กับ ริเน็น (Rinen) ปรัชญาธุรกิจสู่ความยั่งยืน 


ภาพจาก goo.gl/cVRYHX

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมบริษัทของญี่ปุ่นจำนวนมาก ถึงมีอายุยืนยาว ดำเนินธุรกิจมาได้เป็นร้อยๆ ปี เขามีหลักการทำธุรกิจอย่างไร ให้ยืนหยัดอยู่ได้จนถึง 100 ปี หรือมากกว่านั้น หากธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ของไทย สามารถยึดแนวทางทำธุรกิจแบบญี่ปุ่นได้หรือไม่

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ และสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วย 

มุ่งเป้ายอดขาย หวังกำไร ไปไม่รอด


ลองย้อนกลับไปดูว่า ทำไมหลายๆ ธุรกิจในเมืองไทย ไปไม่ถึงฝั่งฝัน ล้มหายตายจาก เพราะธุรกิจไทยส่วนใหญ่ ยังคงทำธุรกิจแบบแนวคิดตะวันตกมากเกินไป แต่ละปีผู้บริหารต้องตั้งเป้ายอดขาย และทำกำไรเพิ่มขึ้นเท่านั้นเท่านี้ บางครั้งถึงกับต้องลดต้นทุน ทำให้คุณภาพสินค้าหายไป โดยที่ไม่แคร์ความรู้สึกของลูกค้า  

ขณะเดียวกัน ถ้าอยากให้ธุรกิจเติบโต ก็ต้องจ้างคนเก่ง ให้แรงจูงใจด้วยผลตอบแทนก้อนโต เมื่อบุคคลเหล่านี้เข้ามาทำงานในองค์กรได้ง่าย พวกเขาก็จะเปลี่ยนไปหาแรงจูงใจใหม่ๆ ที่อื่นได้ง่ายเช่นเดียวกัน สุดท้ายคนเก่งไป ธุรกิจเดินไม่ได้ 
 
ธุรกิจจะยืนยาว ลูกค้าต้องมีความสุข


แนวทางการทำธุรกิจแบบตั้งเป้ายอดขาย ทำกำไร โดยไม่แคร์ความรู้สึกลูกค้า พนักงาน และคู่ค้า ส่วนใหญ่แล้วธุรกิจจะไปไม่ได้ไกลมากนัก ไม่เหมือนบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมาก ที่สามารถดำรงอยู่มาได้อย่างมั่งคนนานนับร้อยๆ ปี เพราะบริษัทเหล่านี้ล้วนทำธุรกิจ โดยยึดถือสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ ริเน็น (Rinen) 

ริเน็น คือ ความเชื่ออย่างมีเหตุผล ตั้งใจทำในสิ่งที่ดี เริ่มต้นจากการทำดีให้ผู้อื่นก่อน ทำให้คนอื่นมีความสุข แล้วทุกอย่างจะกลับมาหาเราเอง ในหนังสือริเน็นได้เปรียบเทียบลักษณะของธุรกิจไว้ คือ ธุรกิจต้นไผ่ กับ ธุรกิจต้นสน

โดยธุรกิจแบบต้นไผ่ ปลูกง่ายโตไว แต่ก็ล้มง่าย แต่ธุรกิจแบบต้นสน จะค่อยๆ โตอย่างมั่นคง เพราะมีรากลึกลงดิน ทำให้สามารถต่อสู้กับสภาพแวดล้อมได้ดีและยั่งยืนกว่า พูดง่ายๆ คือ ถ้าเป็นธุรกิจอย่ามุ่งหวังการขาย จนลืมคิดถึงลูกค้า 
 
คิดแต่จะขาย ทำกรอบความคิดแคบ


บริษัทที่มีริเน็นชัดเจน จะมีจุดยืนและแนวคิดที่ชัด สามารถประยุกต์แนวคิดนั้น ไปสู่ประเภทสินค้าใหม่ๆ ได้ง่ายกว่าบริษัทที่เน้นคิดแต่ว่าจะขายอะไรดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ที่ตีกรอบความคิดพอสมควร

ยกตัวอย่าง ร้านดอกไม้ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี มีหลักปรัชญาว่า จะร่วมสร้างสังคมที่มั่งคั่งไปด้วยดอกไม้และสีเขียว กรอบธุรกิจของร้านจึงไม่ได้จำกัดแค่การจัดดอกไม้เท่านั้น แต่ยังขยายไปสู่การให้คำปรึกษา ในการผลิตสารสกัดกลิ่นจากกดอกไม้ การปลูกดอกไม้ การออกแบบภายตกแต่งในอาคารให้ร่มรื่น รวมถึงงานอื่นๆ ที่ต้องใช้ดอกไม้ ฯลฯ

การทำธุรกิจที่มีริเน็น หากเราเป็นธุรกิจเล็ก ถ้าแข่งขันกับรายใหญ่ ก็อย่าไปเล่นเกมใหญ่ อย่าแข่งขันที่เงิน ให้แข่งที่หัวใจ โดยเฉพาะการมองให้ลึกไปเข้าไปในขั้วหัวใจของลูกค้า ว่า ความสุขของลูกค้าอยู่ตรงไหน 
 
ข้อเสนอแนะลูกค้า คือ จิ๊กซอว์ไขความสำเร็จ 


ภาพจาก goo.gl/images/DhcxWQ

เอาลูกค้ามาเป็นตัวตั้งในการทำธุรกิจ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับลูกค้าต้องรีบสั่งการทันที ที่สำคัญต้องถามตัวเองบ่อยๆ ว่า ธุรกิจของเรานั้น จะสร้างสิ่งดีๆ ให้กับสังคม และลูกค้าได้อย่างไร โดยมีพนักงาน และคู่ค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความสุขให้กับลูกค้า เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกค้ามีความสุข สินค้าที่เราให้เขาไปสร้างคุณค่ากับเขา เขาก็จะกลับมาหาเราเอง 

เหมือนกับกรณีธุรกิจแฟรนไชส์ของญี่ปุ่น ที่ยึดแนวทางริเน็นในการทำธุรกิจ เช่น CoCoICHIBANYA แฟรนไชส์ร้านข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่น ที่มีสาขามากกว่า 1,400 สาขาทั่วโลก และมีมากว่า 28 สาขาในประเทศไทย

“มุเนสุกุ โทคุจิ” เจ้าของร้านและผู้ก่อตั้งธุรกิจ “โคโค่อิฉิบันยะ” บอกว่า ความสำเร็จของร้านข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่นอยู่ที่ “ลูกค้า” เป็นอันดับแรก ถัดมาก็เป็น พนักงาน และคู่ค้า โดยหลังจากสาขาแรกได้ความนิยมจากลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มุเนสุกุและภรรยาต้องเปิดสาขาแห่งที่ 2 โดยช่วง 2 วันแรกมีลูกค้าเข้ามาอุดหนุนเป็นจำนวนมาก เรียกว่าเต็มร้านก็ว่าได้ แต่พอวันที่ 3 กลับไม่มีลูกค้าเลย เขาและภรรยาจึงกลับไปนั่งฟังเสียงลูกค้าอีกครั้ง ลูกค้าบางคนบ่นว่า “แกงกะหรี่ไม่ร้อนเลย” หรือ “มันทอดเกรียมเกินไป” 

หลังจากนั้นพวกเขาก็ปรับปรุงทุกอย่างตามคำแนะนำของลูกค้าทุกอย่าง ในที่สุดลูกค้ากลับมาเช่นเดิม ที่สำคัญทุกสาขาของ CoCoICHIBANYA จะมีไปรษณียบัตรให้ลูกค้าเขียนคำแนะนำ ข้อเสนอแนะ รวมถึงปัญหาต่างๆ ไว้ด้วย 
 
ปลูกฝัง DNA ก่อนขายแฟรนไชส์


ส่วนการให้ความสำคัญกับ คู่ค้า หุ้นส่วน หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ มุเนสุกุจะไม่เรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ และเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย แต่แฟรนไชส์ซีจะต้องซื้อวัตถุดิบจากบริษัทของเขา เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน

อีกทั้งยังต้องการให้แฟรนไชส์ซีมีรายได้ มีกำไร และรู้สึกว่าธุรกิจข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่นดีจริงๆ และหากใครคิดจะซื้อแฟรนไชส์จะต้องทำงานในบริษัทอย่างน้อย 2 ปี ถึง 5 ปี เท่านั้น เพื่อให้ซึมซับและเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง พร้อมทั้งมีระบบแฟรนไชส์ ที่มุ่งเน้นการฝึกอบรม และสอนพนักงานให้ออกไปเป็นผู้บริหารอย่างแท้จริง พร้อมที่จะเติบโตไปด้วยกัน 

สรุป ก็คือ แนวคิดริเน็นกับการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อความยั่งยืน สามารถทำได้ โดยที่บริษัทแฟรนไชส์จะต้องยึดหลักที่ว่า ตัวเองขายแฟรนไชส์ได้ นักลงทุนซื้อได้ สังคมไทยได้ด้วย แต่เจ้าของแฟรนไชส์อย่าเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน มุ่งขายแฟรนไชส์ เพื่อให้ถึงเป้าหมาย และกำไรอย่างไร ทั้งๆ ที่ระบบแฟรนไชส์ยังไม่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน 


ที่สำคัญในการทำธุรกิจให้ยั่งยืน ทั้งเจ้าของแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ ต้องยึดหลัก “กำไรน้อย ขายมาก” จงขายสินค้าในราคาที่ไม่สูงเกินไป ราคาที่ดี คือ ราคาที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า สินค้าดีขนาดนี้ ทำไมราคาไม่แพงเลย เมื่อขายราคาไม่แพงมาก ก็จะทำให้ลูกค้าแห่แหนมาซื้อสินค้าจากร้านเป็นจำนวนมาก เราก็จะได้กำไรจากการขายสินค้ามาก   

ประการสำคัญผู้ประกอบการอย่าโก่งราคา หรือตั้งราคาสูงเกินไป แม้จะเป็นยุคที่น่าจะขายของได้ราคางามก็ตาม อย่ากักตุนสินค้า อย่าหลงไปกับกำไรระยะสั้น จนทำลายความไว้วางใจและความเชื่อมั่นของลูกค้า

ธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย ถ้าอยากใช้ริเน็นในการขับเคลื่อนธุรกิจ เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ ก็สามารถทำได้ เจ้าของแฟรไชส์อย่าตั้งเป้าที่จะขายแฟรนไชส์ ขยายสาขาอย่างเดียว ทั้งๆ ที่หลังบ้านของตัวเองยังรั่วอยู่ ระบบแฟรนไชส์ต่างๆ ยังไม่เป็นมาตรฐานเลย ขายไปแล้ว ไม่ให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ สุดท้ายพวกเขาก็ต้องตาย 

ดังนั้น ก่อนจะขายแฟนไชส์ต้องมองให้ลึกๆ ว่า หากขายแฟรนชส์ไปแล้ว แฟรนไชส์ซีต่างๆ จะอยู่รอด และเติบโตไปพร้อมกับเราหรือไม่ ถ้าอยากให้เขารอด เราต้องมีระบบแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐาน พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าธุรกิจนี้ดีจริงๆ เพราะถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ มีรายได้มั่นคง ครอบครัวของพวกเขาก็จะมีความสุข ขณะที่แฟรนไชส์ซีเองก็ต้องบริหารธุรกิจตามระบบแฟรนไชส์ที่ได้รับมา ไม่เอาเปรียบเจ้าของแฟรนไชส์ และลูกค้า นั่นคือ หลักการของริเน็น 

สรุปก็คือ เม็ดเงินสร้างได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ความไว้วางใจและความเชื่อมั่น ต้องใช้ความซื่อสัตย์และความจริงใจในการสร้าง และต้องใช้ระยะเวลาในการบ่มเพาะ แต่หากทำได้ ก็จะนำไปสู่ความสัมพันธ์และความสำเร็จอันยั่งยืนของบริษัท


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise 

 

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
แหล่งข้อมูล
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,691
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,828
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด