บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    เทรนด์ฮิตแฟรนไชส์
22K
2 นาที
26 พฤศจิกายน 2561
มาแน่! 5 เทรนด์แฟรนไชส์ ปี 2019
 

ต้องยอมรับว่า ยุคปัจจุบันผู้คนหันมาสนใจธุรกิจแฟรนไชส์กันมากขึ้น เห็นได้จากเจ้าของธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการ พอทำได้สักพัก ธุรกิจของตัวเองขายดิบขายดี มีการเติบโต ก็อยากจะสร้างระบบแฟรนไชส์ให้กับธุรกิจของตัวเอง
 
ขณะที่ผู้ที่อยากมีธุรกิจ หรือกิจการเป็นของตัวเอง ก็หันมานิยมซื้อแบรนด์แฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม ประสบความสำเร็จในยอดขาย เพราะเป็นการลดความเสี่ยงในการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตัวเอง อีกทั้งยังได้แบรนด์ธุรกิจที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว 
 
จะเห็นได้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 20% ในปี 2560 มีมูลค่าตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ต่อปีอยู่ที่ประมาณกว่า 200,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2561 มูลค่าตลาดจะเติบโตขึ้นอีกราวๆ 2.5-3 แสนล้านบาท 

 
โดยแฟรนไชส์ธุรกิจอาหาร มีสัดส่วนการลงทุนหรือเปิดกิจการมากที่สุด แต่ก็ยังมีแฟรนไชส์ธุรกิจบริการ ธุรกิจด้านการศึกษา ธุรกิจเบเกอรี่ และเครื่องดื่ม เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการเติบโตสูงเช่นกัน
 
แต่คุณผู้อ่านรู้ไหมว่า ต่อจากนี้เป็นต้นไป คือ ตั้งแต่ปี 2019 เทรนด์และรูปแบบของการทำแฟรนไชส์จะเปลี่ยนแปลงไป วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะเล่าให้ฟังว่า เทรนด์แฟรนไชส์ของโลกในช่วงปลายปี 2018 ไปจนถึงปี 2019 จะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง โดยปัจจุบันเทรนด์แฟรนไชส์ในเมืองไทย 
 
จะเป็นในลักษณะของ แฟรนไชส์ซีจะซื้อแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์มาทำธุรกิจ, แฟรนไชส์ซอร์จะสร้างแฟรนไชส์มากกว่า 1 แบรนด์ และแบรนด์แฟรนไชส์ไทยจะนิยมขยายสาขาในต่างประเทศมากขึ้น มาดูต่อกันว่า เทรนด์แฟรนไชส์ในต่างประเทศ จะเป็นอย่างไร และอุตสาหกรรมแฟรนไชส์เมืองไทย จะปรับตัวและรับมืออย่างไร
 
1.Micro-Influencer Marketing
 

จะเห็นได้ว่า ก่อนหน้านี้เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ส่วนใหญ่นิยมทำการตลาด ผ่านทางโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ทั้งทีวี ป้ายบิลบอร์ด สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ แต่ต่อจากนี้รูปแบบของการทำตลาดแฟรนไชส์แบบ Micro-Influencer Marketing จะได้รับความนิยมมากขึ้น เป็นวิธีการให้ผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ เซเลบริตี้ เน็ตไอดอลทำคอนเทนต์โปรโมทสินค้า และบริการ 
 
เทรนด์ของการใช้ Micro Influencer เป็นการที่คนธรรมดาทั่วไป ทำคอนเทนต์รีวิวสินค้า เหมือนเป็นการบอกต่อแบบเพื่อนบอกเพื่อน จึงทำให้ผู้บริโภคเชื่อถือคอนเทนต์แบบนี้ หลายแบรนด์จึงสนใจทำ Micro Influencer มากขึ้น
 
2.พนักงานสู่การเป็นเจ้าของแฟรนไชส์
 

ระบบแฟรนไชส์ในต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา กำลังจะมีโปรแกรมสร้างพนักงานในร้านสาขาแฟรนไชส์ของตัวเองก้าวขึ้นสู่การเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์ เพราะเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์รู้ดีว่า พนักงานเหล่านี้มีความเหมาะสมที่จะเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์มากที่สุด หรือมากกว่านักลงทุนภายนอกด้วยซ้ำ ดังนั้น พนักงานได้ผ่านการอบรม ได้เรียนรู้ทุกๆ อย่างหมดแล้ว 
 
3.แฟรนไชส์ซี่มีแนวโน้มเป็นผู้หญิงมากขึ้น
 

ระบบแฟรนไชส์ในยุคถัดไป เราจะเห็นกลุ่มผู้หญิงที่เป็นคนรุ่นใหม่ หันมาเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์มากขึ้น ด้วยการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ ตั้งแต่ธูรกิจแฟรนไชส์จานด่วน ความงาม ไอที เค้ก ไอศกรีม เรียกได้ว่าแฟรนไชส์ที่เกี่ยวกับผู้หญิงจะเข้ามาครอบงำอุตสาหกรรมแฟรนไชส์ ผู้หญิงจะมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมแฟรนไชส์ 
 
4.ธุรกิจแฟรนไชส์กำลังขยายไปทั่วโลก
 

ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่แฟรนไชส์ในแต่ละประเทศทั่วโลก จะนิยมก้าวออกไปเติบโต และขยายสาขาในต่างประเทศ จะไม่ทำตลาดเฉพาะในประเทศของตัวเองอีกต้อไป และหลายๆ ที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่า แบรนด์แฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ก็เจาะตลาดไปในหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราด้วย และประเทศอื่นๆ ก็จะเดินตามสหรัฐฯ ขยายแบรนด์แฟรนไชส์ตัวเอง เข้าไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเช่นกัน    
 
5.Crowdfunding ในระบบแฟรนไชส์ 
 

เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมแฟรนไชส์โลก นั่นคือ “การระดมทุนสาธารณะ” หรือ “Crowdfunding” ในอุตสาหกรรมแฟรนไชส์ เป็นการระดมทุนจากประชาชนทั่วไป ที่ไม่ใช่นักลงทุนโดยตรงและลงทุนในจำนวนน้อย 
 
โดยใช้ช่องทางออนไลน์เป็นทางเลือก แน่นอนว่าไม่รวมกับการระดมทุนโดยตรงกับธนาคารทั่วไป วิธี “Crowdfunding” นี้ ใช้ได้ดีกับธุรกิจ SMEs กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) งานสร้างสรรค์ (Kick starter) เงินกู้ (Kiva) หรือโครงการพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน (Abundance Generation) แน่นอนว่าต่อไปเราจะได้เห็นการระดมทุนในอุตสาหกรรมแฟรนไชส์บ้าง
 
ทั้งหมดเป็น 5 เทรนด์ในธุรกิจแฟรนไชส์ ที่เราจะได้เห็นในช่วงปี 2019 แม้ว่าหลายๆ เทรนด์อาจจะยังไม่ได้เห็นในเมืองไทยช่วงเวลาต่อจากนี้ แต่ก็มีบางเทรนด์ที่สามารถนำมาปรับใช้ในเมืองไทยได้ โดยเฉพาะเทรนด์การสร้างพนักงานให้เป็นเจ้าร้านแฟรนไชส์ แทนที่จะตัดเลือกนักลงทุนจากข้างนอก ที่ไม่รู้เกี่ยวกับธุรกิจดีเหมือนกับพนักงานของตัวเอง 

#ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้รวบรวมธุรกิจ #แฟรนไชส์ แยกตามหมวดหมู่ ดังนี้ (ใครสนใจแฟรนไชส์กลุ่มไหน คลิกเข้าไปเลือก เพื่อขอข้อมูลการลงทุนได้ทันที!)
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: 
@thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document 
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

Franchise Tips
  1. Micro-Influencer Marketing
  2. 2สู่การเป็นเจ้าของแฟรนไชส์
  3. ผู้หญิงจำนวนมากกลายเป็นแฟรนไชส์ซี
  4. ธุรกิจแฟรนไชส์กำลังขยายไปทั่วโลก
  5. Crowdfunding ในระบบแฟรนไชส์ 
อ้างอิงข้อมูล  goo.gl/zV6tS3

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
23,058
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,056
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,951
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,852
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,242
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,194
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด