บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.0K
3 นาที
26 มีนาคม 2562
ความรู้เรื่องกฎหมายแฟรนไชส์


ภาพจาก goo.gl/images/iHk9dv
 
ในการประกอบธุรกิจใดๆ ก็ตาม ความรู้และความเข้าใจเรื่องกฎหมายเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนจำเป็นจะต้องมี นอกเหนือจากความรู้ด้านการบริหารและจัดการธุรกิจแล้ว ความรอบรู้เรื่องอื่นๆ ไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องสังคมรอบตัว แม้กระทั่งเรื่องกฎหมาย ล้วนแล้วแต่มีความจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจด้วยกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนเราทุกคนต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย การที่นักธุรกิจจะอ้างว่าตนเองไม่รู้กฎหมาย จะไม่สามารถนำเป็นข้อโต้แย้งได้เลย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยก็จะได้มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ตลอดจนกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องออกมาใช้บังคับ (ทั้งที่ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยได้ก่อกำเนิดมาแล้วหลายสิบปี และประเทศเวียดนามธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่งเริ่มต้น แต่ก็กลับมีกฎหมายธุรกิจแฟรนไชส์ออกมาบังคับใช้ก่อนไทยเสียอีก)
 
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ


ภาพจาก goo.gl/images/Gq7WBo
 
มีกฎหมายและระเบียบที่นักธุรกิจจะต้องเข้าใจและปฏิบัติตามอยู่มากมาย บางระเบียบข้อบังคับก็ยังไม่มีผู้รวบรวมให้เป็นหมวดหมู่ หรือบ้างก็เป็นเพียงคำสั่ง ประกาศ หรือข้อวินิจฉัย ซึ่งก็ถือเสมือนว่าเป็นแนวทางที่จะต้องปฏิบัติตามของผู้ที่เกี่ยวข้องในการที่จะเป็นผู้ประกอบการ แฟรนไชส์ซีนั้น หากท่านมีความรู้พื้นฐานกฎหมายอยู่บ้างก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายบางครั้ง อาจจะมีความผิดทั้งทางแพ่งหรืออาญา ถ้าเป็นเพียงความผิดทางแพ่ง ก็จะแค่เสียค่าปรับ แต่ถ้าเป็นความผิดทางอาญาแล้ว บางครั้งอาจมีทั้งโทษจำคุกและปรับ
 
นับตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้ามาทำธุรกิจ ผู้ลงทุนจะต้องตระเตรียมการที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องมีการจดทะเบียนก่อตั้งหน่วยธุรกิจใหม่หรือแม้กระทั่งใช้นามบุคคลธรรมดา เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายและเพื่อเสียภาษีในวันข้างหน้า ก่อนที่จะได้ใช้ชื่อดังกล่าวไปทำการติดต่อแฟรนไชส์ซอร์และตลอดจนใช้ในการประกอบธุรกิจในภายหน้า กฎหมายบางอย่างที่อาจจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจของแฟรนไชส์ซี เช่น
 
1.กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

แฟรนไชส์ซีทุกคนควรรู้ว่าการทำนิติกรรม, สัญญา, ฯลฯ นั้นจะต้องทำอย่างไร นิติบุคคลประเภทต่างๆ มีหน้าที่และความรับผิดอย่างไร เอกสารทางการค้าและการเงินมีอะไรบ้าง และกฎหมายพิจารณาบังคับใช้อย่างไร ฯลฯ

ปัจจุบันกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งมีอยู่ 5 บรรพใหญ่ๆ ถือได้ว่าเป็นกฎหมายหลักที่บุคคลหรือนิติบุคคลจะต้องปฏิบัติตามและใช้เป็นหลักในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างกัน
 
2.ประมวลรัษฎากร


ภาพจาก goo.gl/images/x1rZqa

ในการทำธุรกิจทุกประเภท ล้วนแล้วแต่มีภาระจะต้องทำบัญชีและเสียภาษีให้ถูกต้อง กฎหมายรัษฎากร  ได้กำหนดให้ต้องเสียภาษีอยู่หลายประเภท เช่น ภาษีรายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย อากรแสตมป์ ฯลฯ และยังกำหนดระยะเวลาและรูปแบบวิธีการของการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอย่างละเอียด

ดังนั้น แฟรนไชส์ซีทุกรายจะต้องเข้าใจภาษีที่เกี่ยวข้องกับตนให้ถูกต้อง เพื่อมิให้เกิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ซึ่งบางกรณีการทำผิดอาจมีโทษถึงจำคุก และเบี้ยปรับเงินเพิ่มอาจทำให้กิจการถึงกับต้องล้มลง และเป็นที่รู้กันดีในหมู่ผู้ทำธุรกิจว่า หากถูกตรวจสอบภาษีแล้วมีความผิดจะเป็นเรื่องที่อันตรายมาก นอกจากนี้ หากผู้ที่มีความรู้ภาษีเป็นอย่างดี ก็อาจจะใช้ประโยชน์จากความรู้ในการทำให้เสียภาษีน้อยลงอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ ดังมีคำกล่าวที่ว่า ให้หลบหลีกแต่อย่าหลีกเลี่ยงภาษี
 
3.พรบ.สัญญาที่ไม่เป็นธรรม

ในปัจจุบันยังมีนักธุรกิจจำนวนไม่น้อย ที่ชอบเขียนสัญญาในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตนเองอย่างน่าเกียจ ซึ่งแต่เดิมนั้น คู่สัญญาที่เสียเปรียบจะต้องอาศัยบทบัญญัติในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เข้าต่อสู้ ซึ่งเป็นการยากมากที่จะได้ชนะคดีพลิกกลับจากข้อความในสัญญา ซึ่งมักจะต้องสู้ในประเด็นคดีจนศาลพิเคราะห์ให้ข้อตกลงประเด็นนั้นเป็นโมฆะ

แต่ปัจจุบันประเทศไทยก็ได้มีการพัฒนากฎหมายของไทย จนหากศาลเห็นว่าสัญญาในจุดใดที่ไม่เป็นธรรม ก็อาจยกเว้นการบังคับในจุดนั้นได้ ดังนั้น สัญญาซื้อแฟรนไชส์ และแม้กระทั่งสัญญาที่แฟรนไชส์ซีจะไปทำกับลูกค้า หรือคู่กรณีอื่นๆ จึงจะต้องอย่าให้มีข้อความที่เข้าข่ายสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
 
4.พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค


ภาพจาก goo.gl/images/2tLejg

ในการทำธุรกิจแล้ว ย่อมจะต้องมีทั้งนักธุรกิจที่ดีและไม่ดีปะปนกันไป และมีอยู่บ่อยมากที่ผู้บริโภคมักจะเสียเปรียบพ่อค้า ดังนั้นหากเราเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ไม่ได้เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค  ก็อาจจะไม่ต้องระวังในกฎหมายนี้  แต่อย่างไรก็ตาม  แฟรนไชส์ซีทุกรายก็ต้องพึงระลึกเสมอว่า  ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนและอาศัยพรบ.คุ้มครองผู้บริโภค  มาเล่นงานผู้ประกอบธุรกิจหากมีกฎหมายได้บัญญัติไว้แล้ว
 
5.ร่าง พรบ.การประกอบกิจการธุรกิจแฟรนไชส์

จะเป็นกฎหมายที่สำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ต้องปฏิบัติตามในเร็วๆ นี้ ดังนั้น ในตอนต่อไปของบทนี้ จะมีการวิเคราะห์ถึงเนื้อหาและประเด็นสำคัญในกฎหมายฉบับนี้ต่อไป
 
6.กฎหมาย, ระเบียบเฉพาะธุรกิจบางประเภท


ภาพจาก goo.gl/images/81wj38

มีกฎหมายและระเบียบมากมากในการทำธุรกิจบางกฎหมายก็เป็นเพียงข้อบังคับหรือระเบียบของท้องถิ่น ผู้ประกอบกิจการทุกรายจะต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตาม บางครั้งก็อาจต้องมีค่าใช้จ่ายเสียค่าธรรมเนียมหรือภาษีเพิ่มเติมตามระเบียบเหล่านั้น เช่น ต้องมีใบอนุญาตในการขายบุหรี่ ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการประกอบธุรกิจที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยต้องขออนุญาตต่อสาธารณสุขจังหวัดก่อนด้วย

และการประกอบธุรกิจก็ต้องไม่ไปขัดต่อประกาศหรือข้อบังคับในหมวดธุรกิจนั้นหรือในท้องที่นั้นด้วย เช่น บางบริเวณอาจไม่สามารถเปิดธุรกิจบันเทิง หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ได้ เพราะอยู่ใกล้วัดหรือโรงเรียน หรืออาจจะไม่สามารถเก็บเคมีภัณฑ์หรือแม้กระทั่งเชื้อเพลิงในปริมาณมากได้ เป็นต้น


ภาพจาก goo.gl/images/HMoKcS
 
ทางที่ดีแล้ว ขอแนะนำให้ผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์ทุกราย ปรึกษากับผู้รู้ของแฟรนไชส์ซอร์เพื่อแนะนำให้ปฏิบัติให้ถูกต้องก่อนจะเริ่มทำธุรกิจ หรือหากจำเป็นก็จะต้องมีการพบปะหารือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้รู้แนวทางปฏิบัติและค่าใช้จ่ายที่จะต้องมีมาในภายหลัง
 
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกิจ
 
โดยทั่วไปแล้ว การทำเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ ย่อมจะเป็นการง่ายกว่าการเริ่มต้นด้วยตนเองอย่างมาก เพราะหลายๆ อย่างแฟรนไชส์ซอร์อาจจะช่วยเหลือดำเนินการแทนให้ หรือแนะนำให้ไปปฏิบัติให้ถูกต้อง และแฟรนไชส์ซอร์ก็จะมีข้อมูลและประสบการณ์ปัญหาที่เคยพบจากแฟรนไชส์ซีรายก่อนๆ อยู่แล้ว ตัวอย่างการติดต่อเหล่านี้ เช่น
 
1.กรมพัฒนาธุรกิจการค้า


ภาพจาก goo.gl/images/dPXpex

ในการประกอบธุรกิจส่วนใหญ่ กฎหมายจะบังคับให้ผู้ประกอบการต้องไปขอจดทะเบียน และต้องแสดงใบทะเบียนการค้าไว้ในสถานที่ประกอบการด้วย

นอกจากนี้ ยังต้องส่งข้อมูลตามระเบียบและรูปแบบที่กฎหมายบังคับภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วย และการจดทะเบียนธุรกิจที่แตกต่างกัน เช่น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ฯลฯ ก็จะมีภาระหน้าที่ที่แตกต่างกันอย่างมาก หากเป็นนิติบุคคลแล้ว ยังจะต้องส่งงบการเงิน บัญชีผู้ถือหุ้น และรายงานการประชุม ภายในระยะเวลาที่กำหนดทุกปีด้วย  
 
2.กรมสรรพากร


ภาพจาก goo.gl/images/Lyp3Dq

แฟรนไชส์ซอร์ทุกราย จะต้องทำบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี และทำการจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีตามที่กฎหมายกำหนด และต้องแสดงใบจดเบียนเป็นผู้เสียภาษีในสถานที่ประกอบการด้วย และที่สำคัญแฟรนไชส์ซียังต้องมีการทำบัญชีและสต็อคการ์ด ตามรูปแบบที่กำหนด ให้ทันปัจจุบันและมีผู้ตรวจสอบบัญชีรับรองด้วย (ในกรณีนิติบุคคล)

แต่หากเสียภาษีในนามบุคคลธรรมดา บัญชีก็อาจง่ายกว่ามาก และเพียงสามารถชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้ก็เพียงพอแล้ว แต่ก็มีข้อเสียของการทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดาที่สำคัญๆ อยู่หลายประการ นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจทุกราย จะต้องยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษี (ภงด. ประเภทต่างๆ) ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย
 
3.ธุรกิจบางประเภทต้องขออนุญาต


ภาพจาก goo.gl/images/YE3zKb

บางครั้งต้องขออนุญาตตั้งแต่จะประกอบกิจการ เช่น ขออนุญาตเปิดกิจการสปา ขออนุญาตเปิดกิจการสอนหนังสือ ฯลฯ และหลังจากขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (นอกเหนือจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร) แล้ว ยังอาจจะต้องมีการขออนุญาตเพื่อผลิตหรือนำเข้าสินค้าหรือบริการบางประเภทอีกด้วย เช่น ธุรกิจด้านอาหารเสริมและยา ของเด็กเล่น ส่วนใหญ่จะต้องผ่านอนุมัติจากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.), ธุรกิจที่เกี่ยวกับวัตถุอันตรายหรือความมั่นคงของชาติ อาจจะต้องผ่านอนุมัติจากมหาดไทยหรือราชการส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,739
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,854
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,917
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,245
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด