บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
142K
3 นาที
23 พฤศจิกายน 2553
แฟรนไชส์ คือ อะไร?

 
 
วันนี้เป็นวันเริ่มรู้จักกันกับผู้อ่านในสายธุรกิจขายตรงกันล่ะครับ เหตุอันเนื่องจากที่ผมนั่งคุยกับ บก. คุณสุทิน ที่ต่างคนต่างมีความเห็นตรงกันว่าน่าจะสร้างมุมของบทความ ที่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบธุรกิจที่จะว่าใหม่ก็ไม่เชิง แต่เป็นสนใจของหลายฝ่าย คือ ระบบงานแบบแฟรนไชส์ ที่อาจจะสามารถสร้าง หรือปรับให้เข้ากับระบบงานของธุรกิจขายตรงของพวกเราได้มากน้อย


 
ผมคงจะเริ่มจากพื้นฐานด้านระบบงานแฟรนไชส์ และค่อยวิเคราะห์ลงไปเชิงลึกมากขึ้น
 
เริ่มกันที่ “ความหมายของแฟรนไชส์”
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ คือ วิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี ส่วนทางบริษัทให้สิทธิเครื่องหมายการค้า ซึ่งถ้ายังไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิถือว่าไม่ถูกต้อง ต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะถ้าไม่มีเครื่องหมายการค้าจะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญหรือ Know How อาจจะเป็นวิธีการในการทำธุรกิจที่จะถ่ายทอด ให้แฟรนไชส์ซีในรูปแบบของการทำงานทั้งหมด เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
 
การจัดธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์จะต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ กับผู้ที่ต้องการมาลงทุน ซึ่งเป็นธรรมดาเมื่อเป็นธุรกิจก็ต้องมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินๆ ทองๆ มาเกี่ยวข้อง ในระบบแฟรนไชส์ก็จะมีชื่อเรียกเฉพาะเช่นคำว่า ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น Initial Franchise Fee บางที่เรียกว่า ค่าสิทธิ์แรกเข้า หรือ Entrance Fee เป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของระบบแฟรนไชส์ที่แฟรนไชส์ซี จะต้องจ่ายให้แก่ แฟรนไชส์ซอร์ 

 
ภาพจาก goo.gl/41QMdu
 
เป็นค่าสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้าหรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าหนึ่ง ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด โดยแฟรนไชส์ซอร์ ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้เป็น การอำนวยความสะดวกต่อการทำธุรกิจรวมถึงการอบรมบริการต่างๆ ที่ทางแฟรนไชส์ซอร์จัดให้แก่แฟรนไชส์ซี 
 
สิ่งที่เป็นค่าใช้จ่ายระบบแฟรนไชส์อีกอย่างก็คือ เงินรายงวด/ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือเรียกว่า ค่ารอยัลตี้(Royalty Fee) ซึ่งเป็นค่าสิทธิต่อเนื่องบนรายได้ที่แฟรนไชส์ซีได้ จากการดำเนินธุรกิจที่ได้รับสิทธิ เสมือนหนึ่งเป็นภาษีทางธุรกิจ หรือค่าสมาชิกสโมสรที่ทุกคนที่เป็นสมาชิกต้องช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนานั่นเอง เงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการ เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการนี้

โดยปกติแฟรนไชส์ซี จะจ่ายให้แก่ แฟรนไชส์ซอร์ เป็นรายเดือน โดยคิดคำนวณจากสัดส่วนของยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะถูกกำหนดให้คงที่หรือผันแปรก็ได้หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 แบบรวมกัน แฟรนไชส์ซอร์ อาจแลกเปลี่ยนด้วนการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณาและสนับสนุนการขาย ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
 
ทั้งค่า Royalty และค่าการตลาดในธุรกิจแต่ละประเภท มักจะมีความแตกต่างกันไป การตั้งระดับที่เหมาะสมของค่า Royalty นี้จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของการบริการและการสนับสนุน รวมถึงการพัฒนาต่างๆ ซึ่งค่า Royalty จะต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ และเพิ่มเติมด้วยผลกำไรของแฟรนไชส์ซอร์ ยิ่งการบริการต่างๆ มีมากอัตราค่า Royalty จะยิ่งสูงขึ้น 
 
ในธุรกิจอาหารและร้านค้าปลีกต่างๆ อัตราเปอร์เซ็นต์ของค่า Royalty บนยอดขายมักจะมีค่าประมาณ 4-6 % ขณะที่ธุรกิจประเภทการบริการมักอยู่ที่ 8-10 %
 
ค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นสิ่งที่แตกต่างกับการทำธุรกิจทั่วไป เป็นค่าใช้จ่ายที่จะช่วยลดความเสี่ยง ของการล้มเหลวในธุรกิจและช่วยให้เถ้าแก่ใหม่เรียนลัดได้เร็วขึ้นกว่าปกติ เหมือนกับการจ่ายค่าติวเข้มทางธุรกิจและจ้างพี่เลี้ยงช่วยเหลือ

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในระบบธุรกิจแฟรนไชส์อีก เช่น การลงทุนตกแต่งร้าน เพื่อให้มีรูปลักษณ์เหมือนกับของแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นในระยะแรกของการตกลงใจที่จะทำแฟรนไชส์ ดังนั้นแฟรนไชส์ซี จำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายล่วงหน้าส่วนนี้ พร้อมทั้งต้องแบ่งสรรเงินทุนส่วนหนึ่งให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตามปกติ เช่น ค่าใช้จ่ายทั่วไป เงินเดือนพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น 
 
ระบบแฟรนไชส์เริ่มที่เมืองไทยเมื่อใด
 

ถ้าจะมองธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่มีการริเริ่มมากกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ต้องยอมรับว่าระบบแฟรนไชส์ของคนไทยมีการเติบโตช้า ธุรกิจแรกๆ ที่พยายามผลักดันการขยายงานโดยใช้รูปแบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจด้านอาหารและร้านค้าแบบมินิมาร์ท แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องของทั้งแฟรนไชส์ซอร์ที่เป็น เจ้าของสิทธิและแฟรนไชส์ซีที่เข้ามาซื้อสิทธิ ที่มักจะพบว่าแฟรนไชส์ซีทำตัวเป็นผู้ลงทุน ที่เน้นทำธุรกิจแบบซื้อเพื่อการลงทุน ไม่มีการมองถึงการสร้างธุรกิจของตนเอง บางครั้งยังใช้การบริหารแบบเก่าที่เน้นความเป็นระบบครอบครัว ทำให้อัตราความล้มเหลวธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น 
 
บางครั้งการลงทุนของแฟรนไชส์ซีที่ประสบปัญหาเกิดจากการจัดการของตนเองบ้าง หรือก็เกิดจากระบบงานของบริษัทแม่ที่เน้นการขยายธุรกิจที่มุ่งผลทางการตลาด นอกจากนั้นบางที่แฟรนไชส์ซอร์หลายคนขายแฟรนไขส์โดยไม่ได้มองหาคนที่ทำจริงๆ เป็นการขายและเข้าใจผิดคิดว่าธุรกิจตรงนั้น สามารถวางรูปแบบของธุรกิจที่จัดจ้างหรือหาคนทำได้ หรือบางครั้งหาแฟรนไชส์ซีที่ทำเองได้ แต่กลับยังล้มเหลวได้ก็เพราะบางทีเจ้าของที่ซื้อระบบแฟรนไชส์ไปมาทำงานเอง ก็จริงแต่ตั้งเงินเดือนตัวเองสูงเกินกว่าที่ธุรกิจจะรับได้ ทำให้บริษัทมีภาระเกินความจำเป็น
 
แฟรนไชส์ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร?


ความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ที่ผิดอีกอย่างคือ การสร้างแฟรนไชส์ที่มองเพียงแค่เม็ดเงินที่เข้ามาหมุนเวียน ไม่ได้มองถึงฐานของระบบธุรกิจจริงๆ ขาดระบบการควบคุมการจัดการที่ดี ขาดแฟรนไชส์ซีที่มีความเข้าใจการดำเนินการในรูปแบบสาขา ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากการที่ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ในแนวที่ถูกต้อง ไม่ได้วิเคราะห์ความต้องการทางการตลาด ความเป็นไปได้ของการสรรหาทำเลของร้านสาขา หรือการศึกษาผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ แฟรนไชส์ซอร์เร่งกระจายขายแฟรนไชส์ โดยมองผลของการรับสิทธิค่าธรรมเนียม เป็นเหตุให้แฟรนไชส์ยากที่จะประสบผลสำเร็จและล้มเหลวต่อเนื่อง
 
สิ่งที่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอีกอย่างคือ การสร้างแฟรนไชส์ที่มุ่งเน้นการขายระบบงานแบบ ลดแลก แจกแถม บางครั้งเป็นระบบแบบ ไม่ต้องมีค่าแรกเข้า ไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ ซื้อแล้วได้เลย ผู้ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ คิดว่า จะคิดค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในค่าวัตถุดิบแล้ว ลักษณะอีกอย่าง คิดว่าระบบแฟรนไชส์เป็นการให้ใช้ ป้ายที่มีสัญลักษณ์ของตัวเองเท่านั้น ไม่คิดจะบริหารสาขา หรือ ทำในลักษณะเป็น ตัวแทนจำหน่ายเสียมากกว่า ต้องบอกกันไว้ก่อนว่า การทำในลักษณะนั้นก็เหมือนกับสร้างธุรกิจ มาในอีกแบบที่ไม่ใช่ระบบแฟรนไชส์ ไม่มีการวางแผนในการดูแลมาตรฐานอื่นๆ หรือ การบริหารแบบอิสระมากกว่าจะเป็น ระบบสาขาในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ 
 
การที่สร้างระบบงานแบบแฟรนไชส์นั้น สภาพการบริหารงานจะเป็นเสมือนหนึ่งเป็นการสร้างสาขาของบริษัทเอง ดังนั้นการบริหารจัดการจะต้องเหมือนเป็นร้านค้าของบริษัทด้วย เพียงแต่การลงทุนเป็นของแฟรนไชส์ซี เท่านั้น ดังนั้นการทำรูปแบบแฟรนไชส์ที่ต้องการดูแลที่ดีจึงต้องมีค่าใช้จ่าย และทีมงานที่เพียงพอรวมถึงผลกำไรของบริษัทแม่ในการดูแลธุรกิจทั้งหมด ถ้าจะต้องมีการทำงานดังกล่าว โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆก็มีความเป็นไปได้น้อยมาก
 
ดังนั้นธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการคือ
  • มีผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์ เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย ก็คือแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี ซึ่งมีการตกลงร่วมในการทำธุรกิจร่วมกันทั้งมีสัญญาและไม่มีสัญญา แต่ในอนาคตรูปแบบข้อตกลงจะปรับรูปสู่ระบบการสร้างสัญญาทั้งหมด เพื่อให้ทั้งระบบแฟรนไชส์ในตลาดจะต้องถูกระบบ เพราะไม่เช่นนั้นแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ดีจะทำลายระบบด้วย
  • เครื่องหมายการค้า หรือบริการ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบ ระบบธุรกิจ และใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน ระบบการจัดการธุรกิจอาจจะเป็นเครื่องมือ หรือสูตรที่คิดค้นขึ้นมาเอง ในการผลิตสินค้า หรือบริการ โดยมีมาตรฐานที่อยู่ในตราสินค้า Brand เดียวกัน
  •  มีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 อย่าง คือ ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า (Franchise Fee) และค่าตอบแทนผลดำเนินการ (Royalty Fee) 
การทำระบบธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์สามารถสร้างระบบการจัดจำหน่ายได้ยืนยาว ในรูปแบบธุรกิจจะสร้างองค์กรการบริหารงานซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจที่ดำเนินการเห็นชัดเจน 

 
ข้อเสียก็คือ การสร้างธุรกิจอย่างนี้ต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เพียงเห็นเป็นแฟชั่น หรือ อยากทำมั่ง เท่านั้น เนื่องจากเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายการเข้ามาในระบบแฟรนไชส์ถ้า ขาดความตั้งใจที่ดีแล้วจะมีโอกาสเจ็บตัวได้ง่าย และ เป็นบาดแผลร้าวลึก ยังไงก็ต้องขู่กันไว้ก่อนละครับ.

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
22,663
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
2,980
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,841
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,840
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,240
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,186
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด