บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    การเงิน บัญชี ภาษี
3.1K
2 นาที
13 มิถุนายน 2555
เงิน..เงิน..เงิน



มีเงินเขานับเป็นน้อง มีทองเขานับเป็นพี่ ......


ก็เป็นเรื่องจริงที่เราเห็นกันอยู่ ยิ่งเรื่องของการค้าการขายก็ต้องพึ่งเรื่องของเงินเป็นเรื่องหลัก ถ้าบริษัทไม่ได้ชื่อเท่าทุนจำกัดแล้ว ก็ต่างต้องหมุนหาทางทำให้เกิดกำไรเงินทองเข้ามาให้ได้ดีที่สุดอย่างแน่นอน ในระบบแฟรนไชส์นั้นเป็นเรื่องของการลงทุนที่ผู้ลงทุนก็มักจะไม่ค่อยมีทุน ฟังดูแล้วก็แปลก แต่เดี๋ยวก่อนครับ เพราะว่าคำว่าไม่มีทุนนี้นั้นไม่ได้หมายถึงว่า ไม่มีอะไรเลยอย่างน้อยก็ยังไม่ถึงกับสิ้นไร้ไม้ตอกนะครับ เรียกว่ามีทุนไม่มากแต่ต้องมีของดีอย่างเช่น  เครดิตดีใช้ได้ รวมถึงการที่เจ้าตัวมีความสามารถ และความตั้งใจจริงด้วย
 
หลายครั้งที่นักลงทุนต้องหาทางขยับสร้างทุนให้มากพอที่จะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตนเองชอบและมีโอกาสสำเร็จสูงแน่นอนถ้าของดีราคาก็จะสูงตามไปด้วย ทีนี้จะทำอย่างไรดีล่ะ ส่วนของแฟรนไชส์ซอร์ก็เช่นเดียวกัน การลงทุนเปิดร้านปรับปรุงกระบวนการผลิต หรือการจัดรูปแบบการทำงานของร้าน เปิดสาขาใหม่ต่างก็ต้องใช้เงินลงทุนไม่น้อย การหาสถาบันทางการเงินเข้ามาช่วยนั้นจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ปัญหาก็คือ ระบบธนาคารพาณิชย์บ้านเรายังไม่ค่อยคุ้นกับการให้สินเชื่อในรูปแบบของการกู้เพื่อลงทุนอย่างที่ว่าไปอีก

ส่วนจะหาบริษัทด้านการเงินที่รองรับการกู้ดังกล่าวก็ไม่ค่อยเห็นมีแต่จะเป็นกู้เพื่อซื้อสินค้า ซื้อรถล่ะมีอยู่มาก แปลกแต่จริงยิ่งเห็นพวกปล่อยเงินกู้ส่วนบุคคลแล้วยิ่งสงสัยว่า บริษัทเหล่าตั้งใจให้พวกขอกู้ไม่มีปัญญาใช้หนี้แล้วจะได้เก็บดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมต่างๆมหาโหดกัน หรือตั้งใจให้ผู้กู้ใช้หนี้ได้ก็ไม่ทราบ  จริงๆแล้วถ้าหันไปมองธุรกิจร้านค้าโดยเฉพาะระบบแฟรนไชส์ที่เป็นร้านค้าร้านขายเหล่านี้ล้วนมีรายได้ต่อเนื่อง และอยู่เป็นหลักแหล่งยิ่งเป็นร้านค้าแบบแฟรนไชส์ก็มักจะมีเครือข่ายที่สร้างรูปแบบธุรกิจชัดเจน ร้านเหล่านี้สามารถที่จะใช้หนี้คืนได้อย่างต่อเนื่องยิ่งเป็นธุรกิจที่ซื้อขายเงินสดแล้วละก็การบริหารจัดการเงินน่าจะทำได้ดีกว่า แต่แปลกหาคนให้กู้ได้ไม่ค่อยมี
 
ในแนวคิดการให้กู้ยืมเพื่อธุรกิจนั้นในประเทศที่เจริญแล้วเป็นเรื่องธรรมดาที่จะหาแหล่งช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อการลงทุนในธุรกิจไม่ยากนัก ไม่ว่าจะเปิดร้านค้าใหม่ขยายสาขาเพิ่ม รวมไปถึงการปรับปรุงร้านที่ต้องใช้เครื่องมือใหม่สำหรับใช้ให้บริการลูกค้าเพิ่มขึ้นซึ่งก็เท่ากับเพิ่มยอดขายไปด้วย หรือไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเครื่องมือต่างๆใหม่ก็ของเก่าใช้ไม่ได้หรือไม่คุ้มใช้ บริษัททางการเงินเหล่านี้ก็จะมีวิธีการให้บริการไม่ยากเกินไป

ที่สำคัญมีความเข้าใจในวิธีการลงทุนดังกล่าวดี บริษัทอย่างที่ว่าจะว่าเป็นบริษัทลิสซิ่ง หรือบริษัทเงินกู้ก็ไม่เชิง แต่จะเน้นการให้สินเชื่อกับธุรกิจร้านค้าเข้าใจวิธีการจนกล้าที่จะให้เงินกู้ธุรกิจวงเงิน 100% เต็มเท่าที่ต้องลงทุนด้วย ระยะการให้กู้ยืมก็ยืดหยุ่นได้สูงสุด 7 ปี วงเงินกู้สูงได้ถึงวงเงินเป็นล้าน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจ การเช่าซื้อ หรือการกู้เงินค่าธรรมเนียมเพื่อลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ ก็ทำได้ง่ายมากกว่าการรับบริการจากหน่วยงานการเงินทั่วไป และไม่ต้องหาสินทรัพย์ค้ำประกันเพราะใช้เครื่องมือหรือสิ่งของที่ต้องการกู้มาลงทุนนั่นแหละค้ำประกันไปด้วย นี่ล่ะครับคือ ความฝันของธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการเงินลงทุน
 
จริงๆแล้วบ้านเรามีหน่วยงานด้านการเงินไม่น้อย แต่ไม่แน่ใจว่าทำไมไม่มีแนวทางการให้กู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนอย่างนี้บ้าง ถ้าจะมีที่ได้ยินก็ส่วนใหญ่ต้องใช้สินทรัพย์ค้ำประกันเป็นหลักก็เข้ารูปแบบของการให้สินเชื่อทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ ว่าไปแล้วกระบวนการให้สินเชื่อต่อธุรกิจในเชิงนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากของนักธุรกิจที่เป็น SMEs ถ้าสร้างขึ้นมาได้จะทำให้การปรับเรื่องการสร้างผู้ประกอบการง่ายขึ้นอย่างมาก ภาครัฐก็ลงแรงกระตุ้นมาเป็นระยะ ทั้งปรับความคิด ให้ความรู้ พอมาถึงเรื่องเงินก็ปัดกันวุ่นไม่จบซักที  คิดง่ายๆถ้าใครซักคนมีความสามรถเต็มเปี่ยม อบรมมาก็เยอะ เรียกว่า อบกันจนเกรียม ใจก็มี แรงก็มี แต่ไม่มีเงินเรื่องก็เลย เอวัง. อย่างนี้แล้วจะสร้างผู้ประกอบการรายย่อยได้อย่างไร

ดูเหมือนวันนี้จะเป็นการพูดคนเดียว บ่นคนเดียว เนื่องจากไม่ใช่นักการเงินการธนาคารจึงอาจจะขาดข้อมูลเหตุผลสนับสนุน เอาแต่เป็นว่า เกิดความรู้สึกเป็นห่วงวงจรระบบธุรกิจขนาดเล็กที่พร้อมจะโตของบ้านเราที่ขาดเงินทุนเท่านั้น และเรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาบ้านเมืองสารขันอื่นเขามีกันมากกมาย พอเห็นที่อื่นเขามีเราก็เลยอยากมีบ้าง อย่าว่ากันเลยนะจ๊ะ.......

อ้างอิงจาก อ.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,669
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,777
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,355
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,911
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด