บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
4.0K
1 นาที
14 มิถุนายน 2555
ค่าธรรมเนียม:คิดอย่างไรให้ได้ประโยชน์



ค่าธรรมเนียม
คือสิ่งที่ทั้งผู้ลงทุน และคนที่สร้างระบบนั้นจะต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน เพราะการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนั้นต้องหาจุดสมดุลให้ได้ แพงไปก็ไม่มีคนซื้อ ถูกไปก็ไม่คุ้มการลงทุน รวมทั้งคุณภาพของแฟรนไชส์ซีที่จะมาลงทุนก็ต้องเหมาะสมตามราคาค่าธรรมเนียมด้วย


ถึงแม้ว่า แฟรนไชส์ซอร์ได้วางแนวคิดและคำนวณอย่างรอบคอบแล้ว แต่อย่างไรก็ยังต้องมองเปรียบเทียบกับ ราคาค่าธรรมเนียมในตลาดที่มีอยู่ด้วย เนื่องจากเพื่อการตรวจสอบด้วยว่าอัตราของเรานั้นเหมาะสมหรือไม่ มีอะไรที่แตกต่างไปกว่าที่ควรเป็นหรือไม่ ในแง่การตลาดก็เพื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนด้านต่างๆทั้งในธุรกิจที่ใกล้เคียงและธุรกิจที่แตกต่าง เพื่อประเมินการลงทุนว่าจูงใจต่อผู้ลงทุนหรือเปล่า การตรวจสอบอาจดูจาก  คู่แข่งในตลาดเขาเรียกเก็บอย่างไร อาจจะต้องมองด้วยว่าเป็นแฟรนไชส์ในหรือนอกประเทศ เพราะต้นทุนของระบบจะไม่เท่ากัน


นอกจากนั้นราคาที่แตกต่างจะต้องมองให้ละเอียดเพราะว่าวิธีการที่คำนวณการลงทุนและการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆอาจแตกต่างกัน ดังนั้นการหาราคาจากระบบที่มีในตลาดให้มองทั้งงบการลงทุนโดยรวมและการเก็บผลประโยชน์อื่นในระยะต่อมาด้วย พอมาถึงตรงนี้ผู้อ่านชักบอกว่า จะชักงงไปกันใหญ่เสียแล้ว ถ้าอย่างนั้นว่ากันง่ายๆก่อนแล้วกัน ดังนี้ครับ


เคยคิดไหมครับว่า อะไรหนอที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาแฟรนไชส์ไม่เท่ากัน แฟรนไชส์มีผลกำไรมากน้อยเท่าไร คือสิ่งที่บอกได้โดยพลันระบบนั้นๆ

ถ้าสามารถสร้างกำไรได้ดี มีความมั่นคงของตราสินค้าก็จะทำให้ราคาค่าธรรมเนียมสูงมากกว่า แต่ถ้าจะมองว่าราคาของค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เหมาะสมหรือไม่อย่า มองแต่มูลค่าเท่านั้น ต้องมองผลกำไร ระยะเวลาที่จะได้เงินคืนจากการลงทุนประกอบด้วย

การลงทุนทั้งหมดเพื่อเริ่มกิจการนั้น งบประมาณที่ต้องลงทุนโดยรวมแฟรนไชส์ซีเป็นเท่าไร  สัดส่วนของค่าแฟรนไชส์อาจจะประมาณ 20%-50%  ของงบการลงทุนทั้งหมดก็เป็นได้ ส่วนจะมากน้อยต่างกันขึ้นกับการให้ความสำเร็จของกิจการ การช่วยเหลือของบริษัทแม่ศักยภาพของตลาด เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยอดรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ การที่มีลูกค้าที่ต้องการสินค้าอยู่แล้ว หรือมี กลุ่มเป้าหมายที่จะสร้างให้เกิดยอดขายได้ทำให้อัตราแฟรนไชส์ราคาสูงมากกว่าแฟรนไชส์อื่นที่สินค้าที่ยังทดลองตลาดอยู่ จะว่าไปแล้ว ของดีราคาถูกไม่มีแน่สำหรับกรณีนี้


สุดท้ายของความเหมาะสมในเรื่องราคาการลงทุนนั้นต้องมาดูความพร้อมของเราเองแหละครับ จะเห็นได้ว่า เราเริ่มจาก ดูเรื่องไกลตัวที่สุดมาก่อนอย่างเช่น มองความคุ้มในการลงทุน การตอบแทนระยะเวลาการคืนทุน ซึ่งจริงๆแล้วจะเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมาภายหลัง เมื่อได้ข้อสรุปดังกล่าวแล้วก็กลับมามองเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น เช่นว่ากำลังกาย กำลังทรัพย์ของเราพอหรือเปล่า ลงทุนเม็ดเงินไม่หนักจนเกินไป  ผลตอบแทนรายเดือนจากการทำธุรกิจคุ้มพอค่าใช้จ่ายของเราหรือไม่ เป็นต้น

เมื่อมีโอกาส ก็สร้างโอกาสให้เป็นโอกาส อย่าเผลอไปเอาโอกาสมาเป็นภาระแล้วกัน เพราะการเลือกแฟรนไชส์ผิด ก็เหมือนผิดฝาผิดตัว เพราะเรื่องแบบนี้ ทางใครทางมันเหมือนกันครับผม

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,688
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,828
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด