บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    แฟรนไชส์ต่างประเทศ
3.0K
2 นาที
11 ตุลาคม 2562
วิกฤตแฟรนไชส์อเมริกา “แบกหนี้ท่วม” ไม่ขายกิจการ ก็ต้องปิดสาขา


ไม่เฉพาะธุรกิจห้างปลีกในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ด้วยการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่อาหารก็ยังต้องสั่งซื้อจากร้านที่เดลิเวอรี่ถึงบ้าน นั่นจึงเป็นปัญหาใหญ่ที่ธุรกิจแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดหลายๆ แบรนด์ในอเมริกากำลังเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายแบรนด์ต้องฟ้องล้มละลาย ขายกิจการ ปิดสาขา

วิกฤตหนี้ในธุรกิจแฟรนไชส์อเมริกาเป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบกันครับ
 
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าไม่เฉพาะห้างค้าปลีกอเมริกาเท่านั้น ที่ลูกค้าลดลง ทยอยปิดสาขาจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีธุรกิจแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดหลายๆ แบรนด์ ที่ได้ประสบปัญหาลูกค้าลดลง ยอดขายและรายได้ก็ลดลง มีการยืมหนี้ยืมสินมาช่วยประคับประคองกิจการ แต่ในที่สุดก็ต้องแบกหนี้ก้อนโต ไปต่อไม่ไหว ก็ต้องขายกิจการ หรือปิดสาขาไปเลย


ภาพจาก bit.ly/317hKNv
 
อย่างกรณีกลุ่มบริษัท NPC International ผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์รายใหญ่ที่สุดของ Wendy's และ Pizza Hut ได้เผชิญกับความท้าทายทางการเงิน พบว่าในปี 2562 หนี้สินของบริษัทอยู่ในระดับน่าเป็นห่วง และต้องพึ่งพาเงินทุนจากหุ้นส่วนภาคเอกชน


ภาพจาก bit.ly/314eLoY
 
กลุ่ม Diversified Restaurant Holdings ผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์รายใหญ่ของ Buffalo Wild Wings ได้เขย่าวงการฟาสต์ฟู้ดอเมริกา ด้วยบริการจัดการร้านแบบลดต้นทุน เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดข้อกำหนดทางการเงินบางอย่าง ในข้อตกลงการให้กู้ยืม


ภาพจาก bit.ly/325XjBH
 
ผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์รายใหญ่ของ Perkins ก็ได้ยื่นฟ้องล้มละลายในฤดูร้อนนี้ หลังจากใช้เวลานานกว่าหนึ่งปี ในการพยายามปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการเงินของตนเอง
 
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์เบอร์เกอร์คิง 24 แห่ง ได้ยื่นฟ้องเพื่อป้องกันหนี้ โดยหวังว่าจะปิดร้านอาหารบางแห่งที่ยอดขายต่ำ และเมื่อปีที่แล้ว RMH แฟรนไชส์ซีของ Applebee ได้ขอความช่วยเหลือจากศาลในการลดภาระหนี้ ซึ่งหนี้เป็นสิ่งชั่วร้ายที่เกิดขึ้นในธุรกิจร้านอาหาร เพราะใช้เงินเป็นจำนวนมากในการสร้างร้านอาหารใหม่ และต้องใช้เงินทุนที่มั่นคงด้วย


ภาพจาก bit.ly/2p6nXfj
 
เช่นเดียวกับระบบแฟรนไชส์ของ McDonald's, Wendy's, Burger King, Jack in the Box และอื่น ๆ อีกมากมายได้ขายร้านสาขาจำนวนมากให้กับแฟรนไชส์ซีรายใหญ่ที่มีฐานนะทาเงินมั่นคง เพื่อนำเงินเข้ากองทุน remodels และสร้างสาขาแห่งใหม่


ภาพจาก bit.ly/2B3T9hU
 
แม้แต่ Arby's เป็นแฟรนไชส์ร้านอาหารแซนด์วิชที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนสาขามากกว่า 3,400 แห่งใน 8 ประเทศ ก็ยังต้องขายร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดจำนวน 27 แห่งใน 5 รัฐ ให้กับกลุ่มบริษัท Quality Restaurant Group ผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) ร้านพิซซ่าฮัทกว่า 200 แห่งใน 6 เมืองของสหรัฐอเมริกา 


ภาพจาก bit.ly/2M78cxI
 
จะเห็นได้ว่า ปัญหาด้านหนี้สินในธุรกิจแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดของสหรัฐอเมริกา กำลังเป็นปัญหาใหญ่ ไม่แพ้วงการธุรกิจค้าปลีก โดยมีสาเหตุมาจากยอดขายแต่ละสาขาแฟรนไชส์ลดลง ลูกค้าเข้าใช้บริหารในร้านน้อย อีกทั้งต้องแบกในเรื่องต้นทุนแรงงานสูง เมื่อยอดขายลดลง ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ก็ต้องแบกรับกับหนี้ที่บริการจัดการไม่ได้ จึงทำให้หลายๆ แบรนด์ลดความเสี่ยง ด้วยการขายกิจการร้านสาขาหลายๆ แห่ง ให้กับกลุ่มบริษัทที่มีเงินทุนหนา หรือไม่ก็ปิดสาขาที่ยอดขายต่ำไปเลย    


ภาพจาก bit.ly/2ODHWws
 
แล้วผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทย พร้อมหรือยัง!! ที่จะรับมือกับปัญหาหนี้สินในธุรกิจ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อันเนื่องมาจากลูกค้าลดลง ยอดขายตก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะบริหารจัดอย่างไร สำคัญมากครับ 
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
อ้างอิงข้อมูล
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,763
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,875
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,917
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,254
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด