บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.0K
3 นาที
18 ตุลาคม 2562
10 กฎหมายที่ควรรู้เมื่ออยากลงทุนแฟรนไชส์


สำหรับใครที่อยากจะลงทุนในระบบแฟรนไชส์ แน่นอนว่าต้องศึกษากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์นี้ให้ดีซะก่อน โดยคุณสามารถเข้าไปที่ www.ThaiFranchiseCenter.com เพื่อเรียนรู้เรื่องของแฟรนไชส์ต่างๆได้ อีกทั้งเรายังแนบลิงค์ไว้ให้ท้ายบทความ สำหรับท่านที่สนใจอยากจะศึกษาเรื่องกฎหมายแฟรนไชส์ ซึ่งเราก็ได้เลือก 10 ลำดับ ความสำคัญทางกฎหมายสูงสุดของแฟรนไชส์ให้แก่ทุกท่านได้ดังนี้

1. ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของคุณ (IP)

ในฐานะผู้ประกอบการแฟรนไชส์ IP ของคุณก็เป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของคุณ โดยคุณจะต้องทำตามหลักข้อกฎหมายเพื่อปกป้อง IP ของคุณดังนี้
  • จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของคุณกับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่านักออกแบบหรือบุคคลที่สามที่มาช่วยคุณสร้าง IP  ได้มอบหมายสิทธิตามกฎหมายทั้งหมดให้กับคุณอย่างแน่ชัดแล้ว
  • อนุญาตให้ใช้สิทธิ์ IP ที่จำเป็นทั้งหมดใน บริษัทแฟรนไชส์ของคุณโดยเป็นเจ้าของในนิติบุคคลแยกต่างหาก
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อตกลงแฟรนไชส์ของคุณ มีข้อมูลที่ถูกต้องและจำเป็นมากพอที่จะปกป้อง IP ของคุณได้
 
2. ข้อตกลงการรักษาความลับ หรือ ข้อตกลงไม่เปิดเผย (NDA)


“NDA” คือ สัญญาที่จะไม่เปิดเผยข้อมูล หมายถึงสัญญาทางกฎหมายที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยตกลงที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลที่สามอันเป็นข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองโดยเฉพาะตามสัญญานี้ มันก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่เป็นความลับและถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องข้อมูลอันเกี่ยวเนื่องกับกรรมสิทธิ์ที่อาจมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างสองฝ่าย
 
3. สัญญามัดจำ หรือ ข้อตกลงทางสัญญา

เมื่อผู้ได้รับแฟรนไชส์ที่คาดหวังจ่ายเงินมัดจำ ตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่าพวกเขาลงนามในสัญญามัดจำหรือข้อตกลง กำหนดเกณฑ์การชำระเงินมัดจำแล้วรึยัง รวมถึงการคืนเงินหากไม่ดำเนินการกิจการแฟรนไชส์ต่อ โดยหวังว่าจะหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหากพวกเขาไม่ได้ดำเนินการกับธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณอีกต่อไปแล้ว
 
4. Franchise Information Memorandum (FIM)


“Franchise Information Memorandum (FIM)” หรือการ บันทึกข้อมูลแฟรนไชส์ เป็นคำที่ใช้โดยบางคนที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์เพื่ออธิบายหนังสือชี้ชวนที่ให้บริการแก่คนที่ถามเกี่ยวกับการได้รับสิทธิพิเศษ ซึ่งหมายความว่า FIM จะมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของธุรกิจแฟรนไชส์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีอยู่ เช่น ข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับแฟรนไชส์ในอนาคตด้วย แต่ FIM จะร่างสัญญาขึ้นมาอย่างรอบคอบ โดยจะได้รับการตรวจสอบจากทนายผู้ที่มีประสบการณ์
 
5. ข้อตกลงแฟรนไชส์

กล่าวคือ ผู้ขายแฟรนไชส์ หรือในทางสัญญาเรียกว่า ผู้ให้แฟรนไซส์ อนุญาตให้บุคคลอีกคนหนึ่ง คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือในทางสัญญาเรียกว่า ผู้รับแฟรนไชส์ ได้ใช้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า ตลอดจนสูตรลับ กรรมวิธีต่างๆของผู้ขาย แฟรนไชส์ กับสินค้า หรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ขายแฟรนไชส์มีข้อตกลงจะให้ความช่วยเหลือกับ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านระบบบัญชี การเงิน การวางแผนการตลาด กิจกรรมส่งเสริมการตลาด การฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ขายแฟรนไชส์จะควบคุมคุณภาพของสินค้าหรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์และวิธีดำเนินกิจการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ในบางประการอีกด้วย
 
6. Side letter


Side letter คือ การเจรจาต่อรองข้อตกลงที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของต้นแบบหรือหลักข้อตกลงในการเจรจาต่อรอง ซึ่งในบางกรณีฝ่ายเจรจาอาจใช้ Side letter เพื่อปรับโฟกัสของสัญญาหากคู่กรณียังไม่พร้อมหรือเต็มใจที่จะปรับสัญญาอย่างเป็นทางการ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณตกลงที่จะให้เบี้ยเลี้ยงพิเศษใดๆสำหรับผู้ได้รับสิทธิแฟรนไชส์รายหนึ่ง คุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าถูกต้องตามข้อตกลงหรือไม่ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถมั่นใจได้ว่า เงื่อนไขและข้อตกลงของคุณกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ของคุณนั้น ได้รับการบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
 
7. การต่อสัญญาและการขายซ้ำ
 
ในการต่อสัญญาและการขายซ้ำนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดและซับซ้อนในทางกฎหมาย คุณควรที่จะตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่า นโยบายการต่อสัญญาและการขายซ้ำของคุณนั้น มีการกำหนดไว้ในข้อตกลงแฟรนไชส์ของคุณอย่างชัดเจนหรือไม่ นอกจากนี้ให้พิจารณารวมถึงข้อผูกพันในสัญญาแฟรนไชส์ของคุณ ในการชำระค่าใช้จ่ายทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อสัญญาหรือการขายซ้ำในแฟรนไชส์ของคุณ
 
8. การปรับปรุงคู่มือการใช้งาน


“คู่มือแฟรนไชส์” ถือเป็นโปรแกรมการปฏิบัติงานของระบบแฟรนไชส์ เป็นทรัพย์สินหรือลิขสิทธิ์ของแฟรนไชส์ รวมถึงเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ ประสบการณ์ของระบบแฟรนไชส์ ในการก้าวไปสู่ความสำเร็จ เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบแฟรนไชส์เลยก็ว่าได้ ซึ่งธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ต้องมีเก็บเอาไว้
 
โดยคู่มือแฟรนไชส์ถือว่าเป็นสินค้าอย่างหนึ่งในระบบแฟรนไชส์ เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ ประสบการณ์ วิธีการทำธุรกิจแฟรนไชส์ รวมไปถึงวิธีการถ่ายทอดความสำเร็จไปสู่แฟรนไชส์ของคุณ ดังนั้น คุณควรที่จะตรวจสอบให้แน่ใจทุกครั้งว่า คุณได้อัพเดตข้อมูลใดๆลงในคู่มือแฟรนไชส์ของคุณไว้หรือไม่ เพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงกับเหล่าบรรดาผู้ซื้อแฟรนไชส์ทั้งหลายของคุณที่อาจพูดในภายหลังว่าได้ พวกเขาไม่ได้รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงในระบบแฟรนไชส์ของคุณเลย
 
9. การทำผิดสัญญาของผู้ได้รับสิทธิ์ทางแฟรนไชส์

คุณควรจัดการอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับความมั่นคงและข้อตกลงในคู่มือแฟรนไชส์ของคุณเกี่ยวกับระบบทั่วไป มิฉะนั้นแล้ว ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ทางแฟรนไชส์หากคุณอาจจะคิดว่า พวกเขาสามารถทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ และหากคุณมีข้อสงสัย คุณก็สามารถรับคำแนะนำจากทนายความที่มีประสบการณ์ได้ด้วยการขอคำแนะนำทางกฎหมายตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้คุณสามารหลักเลี่ยงข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้
 
10. พันธสัญญา “ไม่แข่งขันกันเอง”


หลังจากการสิ้นสุดหรือหมดอายุสัญญาของทางข้อตกลงแฟรนไชส์แล้ว ผู้ที่รับสิทธิแฟรนไชส์จะต้องทำตามข้อตกลงรวมถึงการเป็นพันธสัญญาที่จะไม่แข่งขันกันเองระหว่างแฟรนไชส์ด้วยกัน และถ้าหากอีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามพันธสัญญาหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้ คุณสามารถดำเนินการทางกฎหมายที่เหมาะสม เพื่อปกป้องแบรนด์และรูปแบบแฟรนไชส์ของคุณได้เลย

กฎหมายที่เกี่ยวของกับธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกา


ภาพจาก bit.ly/33SWNYg
 
1.การควบคุมและการทำสัญญาสำเร็จรูปตามธุรกิจแฟรนไชส์
 
ในสหรัฐอเมริกามีกฎหมายในระดับรัฐบาลกลาง และระดับมลรัฐ กำกับดูแลธุรกิจแฟรนไชส์ ตลอดจนคำพิพากษาของศาลที่สร้างบรรทัดฐาน ในการการกำกับดูแลและควบคุมธุรกิจแฟรนไชส์ 
 
ซึ่งกฎหมายของรัฐบาลกลาง และกฎหมายของแต่ละมลรัฐในสหรัฐอเมริกา จึงบังคับให้แฟรนไชส์ซอร์ ต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับผลตอบแทน ให้กับผู้ที่สนใจทำสัญญาธุรกิจเเฟรนไชส์ด้วย  

2.กฎหมายต่อต้านการผูกขาดของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา
 
FTC's Franchise Rule โดยในปี ค.ศ. 1979 คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของสหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมาย The FTC's Franchise Rule ซึ่งกำหนดให้ผู้ให้อนุญาตต้องเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญและจำเป็น 
 
ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ งบดุล และสาระสำคัญของสัญญาเเฟรนไชส์ รวมทั้งข้อจำกัดเกี่ยวกับขอบเขตพื้นที่การยกเลิกสัญญา และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ที่สนใจเข้าทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ 
 
นอกจากนั้น ทาง FTC's Franchise Rule กำหนดให้แฟรนไชส์ซอร์เปิดเผยเกี่ยวกับจำนวน และเปอร์เซ็นต์ของแฟรนไชส์ซีที่ได้ได้รับกำไรจริง และจำนวนกำไรจากการเข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซีของระบบแฟรนไชส์ พร้อมคำเตือนขนาด 12-point เพื่อให้ผู้สนใจได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน 
 
หากเป็นการโฆษณาเกี่ยวกับตัวเลขที่สมมติขึ้น โดยแฟรนไชส์ซอร์ต้องอธิบายที่มาของตัวเลขที่สมมติขึ้น รวมทั้งต้องชี้แจงจำนวนของแฟรนไชส์ซีที่ได้กำไร หรือรายได้จากการประกอบธุรกิจด้วยคำเตือน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะเข้าทำสัญญาพิจารณาให้ดีก่อนเข้าทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ 

สำหรับประเทศไทยนั้น ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ ต้องรอพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ พ.ศ. …. ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ 
 
ดังนั้น กรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซี จึงต้องพิจารณาสิทธิและหน้าที่ในทางกฎหมายของคู่สัญญา  จากบทบัญญัติของกฎหมายที่มีอยู่ ควบคู่กันหลายฉบับอย่างรอบคอบ เนื่องจากแต่ละบทยังมีข้อจำกัดเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายปรากฏ และคอยติดตามความคืบหน้าของกฎหมายแฟรนไชส์ฉบับแรกของประเทศไทย  
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย https://bit.ly/35LVagK
ความรู้เรื่องกฎหมายแฟรนไชส์ https://bit.ly/2nU9VNy
รวมกฏหมายแฟรนไชส์ที่ผู้ประกอบการควรรู้ https://bit.ly/2BiDsnn
 
Franchise Tips
  1. ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของคุณ (IP)
  2. ข้อตกลงการรักษาความลับ หรือ ข้อตกลงไม่เปิดเผย (NDA)
  3. สัญญามัดจำ หรือ ข้อตกลงทางสัญญา
  4. Franchise Information Memorandum (FIM)
  5. ข้อตกลงแฟรนไชส์
  6. Side letter
  7. การต่อสัญญาและการขายซ้ำ
  8. การปรับปรุงคู่มือการใช้งาน
  9. การทำผิดสัญญาของผู้ได้รับสิทธิ์ทางแฟรนไชส์
  10. พันธสัญญา “ไม่แข่งขันกันเอง”
 
ที่มา :
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,679
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,803
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,357
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,242
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด