บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    เทรนด์ฮิตแฟรนไชส์
3.5K
2 นาที
11 ตุลาคม 2555
จับเทรนด์ 'แฟรนไชส์ไทย' เสริมรายได้อย่างเข้าใจ (1)

แฟรนไชส์ เป็นอีกตัวเลือกของการดำเนินธุรกิจ ที่ผ่านมามีสินค้าหลายรูปแบบผ่านระบบดังกล่าว ขณะเดียวกันหลายธุรกิจจำต้องล้มเลิกไปในเวลาอันรวดเร็ว แม้บางสินค้าจะกลับมาบูมใหม่อีกครั้ง แต่ สำหรับผู้สนใจในธุรกิจแฟรนไชส์ การจับเทรนด์ความต้องการของลูกค้า รวมถึงการประเมินปัจจัยผลกระทบต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญก่อนที่จะเลือกลงทุน!    
 
 
ผศ.ดร.สุนันทา ไชยสระแก้ว หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มองว่า ภาพรวมแฟรนไชส์ในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการเติบโตขึ้นจากปีที่แล้ว 6-7% ด้วยมูลค่าตลาดรวมที่มากกว่า 1.6 แสนล้านบาท โดยประเภทธุรกิจที่ได้รับความนิยมคือ ร้านสะดวกซื้อ ฟาสต์ฟู้ด โดนัท ส่วนที่ยังเด่นตลอดกาลคือ กลุ่มอาหารเครื่องดื่มและเบเกอรี่
 
การสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ไม่ใช่การสร้างสินค้าให้สุดยอด หรือโฆษณากันจนชาวบ้านงง ว่าจะทำอะไรกันแน่ ขายก๋วยเตี๋ยว สองสามสาขากลับมาโฆษณาออกโทรทัศน์ แล้วจะทำกำไรหรือพิสูจน์ความสำเร็จทางธุรกิจได้อย่างไร ระบบแฟรนไชส์นั้นขายระบบงาน การสร้างระบบธุรกิจ ที่ทั้งง่าย สะดวก สำเร็จ คือคาถาที่ต้องท่อง แฟรนไชส์เกิดจากระบบการตลาด แต่ขยายงานด้วยระบบงานที่พร้อม และยืนยงด้วยการประสานสัมพันธ์ และประโยชน์ของมวลหมู่สมาชิกในระบบแฟรนไชส์
 
สำหรับผู้สนใจในธุรกิจนี้ ต้องมั่นใจก่อนว่าธุรกิจที่ต้องการลงทุนตอนนั้น เรารักชอบที่จะอยู่กับบรรยากาศการทำงานดังกล่าวไปอีกยาวนาน มีความพอใจในตัวองค์กรที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์พอที่จะทำงานด้วยกันในฐานะผู้ร่วมลงทุนในด้านความคิด และเขาจะสนับสนุนเราตลอดรอดฝั่งได้จริง  

ลองสังเกตการณ์ว่าร้านสาขาของที่เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ดำเนินการแล้วดี ร่ำรวยเป็นอย่างไร แล้วแวะคุยกับร้านที่จะปิดมิปิดแหล่ดูด้วยว่าเขากำลังแก้ไขกันอย่างไร เพื่อจะได้เห็นรอบด้าน
 
ทุกอย่างมีทั้งด้านดีและด้านลบ แต่มองและประเมินตัวเองเป็นหลักว่าเราน่าจะเป็นแบบตัวอย่างไหน ศึกษาตัวเลขกำไรขาดทุนที่มีการวางแผนกันว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน พิจารณาจากข้อมูลที่มี แต่อย่ามีมากจนเกินเหตุจนไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไร มีเยอะในที่สุดคิดมาก ตัดสินใจไม่ได้ สุดท้ายนอนอยู่บ้านเหมือนเดิม บางทีถ้าจนหนทางจริง ๆ หาผู้รู้นั่งปรึกษา หรือเข้าอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจก็ยังดี คุยกับครอบครัวดูก่อนตัดสินใจ ไม่แนะนำเรื่องดูหมอ เพราะธุรกิจไม่ได้ขึ้นกับหมอดู
 
ตามหลักของการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้นอาจจะเริ่มตั้งแต่การมีทุน มีสินค้า มีทีมงานสนับสนุน เพราะเรื่องเหล่านี้เป็นเงื่อนไขขั้นต้นที่เหมือนกับกติกาก่อนลงเล่นในสนามของนักกีฬา แต่เหนือกว่านั้นเป็นคำถามคาใจว่ามีอะไรมากกว่านั้นหรือไม่ที่ทำให้เขาเหล่านั้นที่มีเพียงองค์ประกอบพื้น ๆ เท่านั้นแต่กลับสามารถออกมาสร้างสีสันให้วงการได้น่าสนใจ จึงต้องเป็นที่มาของการหาข้อเสมือนของเหล่านักธุรกิจที่มีความสำเร็จมาแล้วมา
 
สรุปรวมเป็นข้อ ๆ อาจทำให้เห็นเรื่องราวบางอย่างที่ช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสร้างประวัติศาสตร์ต่อเนื่องกับเขาบ้างลองมองกลับมาที่ตัวตนของเราว่ามีอะไรใกล้เคียงกับที่เขาเป็นกันบ้างหรือไม่ ผ่านการสำรวจดังนี้ 
 
1. ลักษณะธุรกิจขนาดเล็กที่มีสองประสาน แบบเฮียลุยซ้อสั่ง หรือเฮียสั่งซ้อลุย สองคนผัวเมียต่างสนับสนุนในงานแต่ละด้านอย่างเหมาะสม ลักษณะของการทำงานเข้าขากันไม่เกี่ยงงอนว่าใครทำหนักกว่าใคร ทำตามความถนัดที่แต่ละคนมี แต่พอดีกลายเป็นสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างลงตัว เจอแบบนี้ทักได้เลยว่าโอกาสรวยมีแน่ไม่ต้องมาถ่างตาดูโหงวเฮ้งกันให้เสียเวลา ครอบครัวเถ้าแก่ใหม่ถ้ามีเรื่องไม่ลงตัวสามีภรรยาด่ากันขรมส่วนใหญ่ถ้าไปรอดได้ก็จะเติบโตยากกว่า
 
2. เรื่องบริหารจัดการการเงินอย่างเป็นระบบ เรื่องนี้สำคัญกับธุรกิจขนาดเล็ก ถ้าแยกระบบการเงินทำบัญชีกันบ้างจะทำให้เห็นภาพการใช้จ่ายทั้งส่วนตัวและธุรกิจได้มากขึ้น ไม่เอาเงินที่ต้องใช้หมุนเวียนในองค์กรมาใช้ส่วนตัวในเรื่องไม่สำคัญ บางคนธุรกิจเพิ่งเริ่มดีกลับรีบไปก่อหนี้ที่ไม่ควร เช่น ซื้อรถ ซื้อบ้านแพง ๆ สร้างภาระขึ้นมาพอมีเรื่องติดขัดก็พาลหมุนไม่คล่องอาจสะดุดทั้งงานและบ้าน หมดกำลังใจเอาง่าย ๆ การเริ่มธุรกิจในระยะแรก ๆ ควรสร้างภาวะที่ทำให้ตัวสบาย ๆ อย่าให้มีเรื่องถ่วงให้หนักเกินไป การบริหารการเงินที่มีเหตุมีผลไม่ต้องถึงกับเก่งมากมายก็มีโอกาสสร้างฐานให้มั่นคงในการขยายธุรกิจให้เติบโตได้
 
3. เป็นองค์กรขนาดเล็กที่เจ้าของธุรกิจมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงาน การทำงานด้วยกันไม่ถือแบบลูกจ้าง นายจ้าง ข้อนี้เห็นมาเยอะ การเป็นเถ้าแก่ไม่ใช่เป็นนายงาน สั่งได้สั่งเอา เจอลูกน้องดีก็จะอยู่ไม่ทน ที่อยู่ทนก็เพราะไม่มีที่จะไป การผูกพันให้ทีมงานดี ๆ อยู่ได้ไม่ใช่เพียงแค่ตัวเงินแต่ความเข้าอกเข้าใจอย่างลูกพี่ลูกน้องนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เคล็ดลับการจัดการเรื่องคนนั้นเป็นเรื่องของประสบการณ์ว่ากันด้วยตำราไม่ได้ ต้องเจอของจริงจึงจะเข้าใจ เถ้าแก่ที่เข้าถึงได้ลูกน้องคนเก่งจะอยู่นานกลายเป็นจุดสำคัญที่ทำให้งานที่ตั้งเป้าหมายไว้สำเร็จ
 
4. อดทนตั้งใจทำงานหนัก ความสำเร็จไม่ได้ด้วยความโชคดีล้วน ถ้าจะเรียกว่าเฮงก็ต้องมีขยันห้อยท้ายมาด้วยเพราะความสำเร็จนั้นต่างต้องมีปัญหาอุปสรรค และเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เองจึงหลอมรวมให้ธุรกิจค่อย ๆ ปรับตัวและเข้าสู่สภาวะที่พร้อมต่อการเติบโต กลายเป็นเรือลำใหญ่ที่ออกทะเลได้ การตั้งใจทำงานหนักคือ สิ่งที่พบได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในอันดับต้น ๆ ของธุรกิจขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จ
 
5. ความสัมพันธ์เป็นเลิศ มีคนรักมากกว่าคนชัง ประเภทรักเท่าผืนหนังชังเท่าผืนเสื่องานนี้ถ้าจะยาก คนทำธุรกิจถ้าเข้าได้กับทุกคน พูดน้อยทำมาก ใครเห็นก็นึกชมเชย อดทนถ่อมตัวใคร ๆ ก็อยากช่วย โอกาสดี ๆ ก็เข้ามาไม่รู้ตัว การสร้างสังคมที่ดีเป็นอีกข้อที่ช่วยทำให้เอสเอ็มอีหลายรายได้ดิบได้ดี เหมือนโชคช่วยผู้ใหญ่อุปถัมภ์ นักธุรกิจหลายรายที่รู้จักใช้สิทธิของตนในการเข้าหน่วยงานราชการ หน่วยงานการเงินธนาคาร มีการสร้างความรู้จักในเชิงบวกมักจะมีโอกาสที่ดี และเรื่องของโอกาสนั้นเวลาที่ต่างกันแค่ห้านาทีก็ต่างกันคนละเรื่องแล้ว ดังนั้นเป็นเอสเอ็มอี การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีรอบข้างนั้นเป็นทรัพยากรส่วนตัวที่สร้างได้

อ้างอิงจาก เดลินิวส์
 
นอกจากนี้รูปแบบแฟรนไชส์ เช่น ซื้อมาเพื่อบริหารจัดการร้านได้เอง หรือได้สิทธิให้สามารถขยายสาขาได้ ศึกษาข้อมูลแฟรนไชส์และสัญญาให้ดีเพราะถ้าเป็นแฟรนไชส์ที่มาจากประเทศที่มีกฎหมายแฟรนไชส์รองรับ..
143months ago   3,268  5 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,693
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,830
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด