บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    แผนธุรกิจแฟรนไชส์
4.6K
2 นาที
17 มกราคม 2563
คลอดแล้ว! กฎการค้าที่ไม่เป็นธรรมธุรกิจแฟรนไชส์ บังคับใช้ 4 ก.พ.63


สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จัดประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ ประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ พ.ศ.2562 โดยมีสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ สมาคมแฟรนไชส์ไทย และบริษัทไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ จำกัด เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ในวันที่ 17 ม.ค. 63

ปัจจุบันหลายๆ ประเทศทั่วโลกยังไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้ แต่สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนเริ่มมีกฎหมายแฟรนไชส์ (Franchise Law) บังคับใช้แล้ว โดยปัจจุบันมี 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่ยังไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์โดยเฉพาะมี 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ สปป.ลาว กัมพูชา และบรูไน


อย่างไรก็ตาม แม้ไทยจะยังไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้ แต่ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้คลอดกฎการค้าที่ไม่เป็นธรรมธุรกิจแฟรนไชส์ โดยได้กำหนดพฤติกรรมที่เป็นข้อห้ามทำไว้ 6 ข้อ เพื่อช่วยสร้างความเป็นธรรมในการทำธุรกิจ ระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งไกด์ไลน์แฟรนไชส์มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ.63 เป็นต้นไป
 
สำหรับกฎการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ หรือไกด์ไลน์แฟรนไชส์ดังกล่าวจะเป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลจะมานำเสนอให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบกันครับ  


 
นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เลขานุการคณะอนุกรรมการฯ กล่าวว่า ประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง “แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้า ที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ พ.ศ. 2562” ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2562 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 2563 เป็นต้นไป 
 
โดยประกาศกฎการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ดังกล่าว ได้มีการปรับแก้เล็กน้อยจากร่างเดิม หลังจากผ่านการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไปทางเว็บไซต์ www.otcc.or.th ไปเมื่อวันที่ 19 ส.ค. – 20 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา รวมทั้งจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง เมื่อวันที่ 23 ส.ค.2562


มีรายละเอียดเพิ่มเติมคือ เพื่อใหัการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์มีการแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม และโปร่งใส แฟรนไชส์ซอร์ต้องเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของตนใหัแก่แฟรนไชส์ซี ก่อนทำสัญญาแฟรนไชส์ เช่น 
  1. ข้อมูลเกี่ยวกับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำเนินธุรกิจ
  2. แผนการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ การช่วยเหลือการสนับสนุน คำแนะนำการดำเนินธุรกิจในอนาคต
  3. สาระเกี่ยวกับสิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ทีเกี่ยวข้องช่วงเวลาที่มีผลบังคับใช้
  4. การต่อสัญญาแฟรนไชส์ การแก้ไข การยกเลิก การเพิกถอนสัญญาแฟรนไชส์

นอกจากนี้ ในเรื่องการขยายสาขาโดยแฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้บริหารและดำเนินการด้วยตัวเอง จะต้องแจ้งให้แฟรนไชส์ซีที่มีสาขาอยู่ในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่สุดได้ทราบและให้สิทธิในการเปิดสาขาใหม่แก่แฟรนไชส์ซีรายนั้นก่อน
 
สำหรับประกาศกฎการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ มีเป้าหมายต้องการจัดระบบการค้าให้มีธรรมาภิบาล และมีหลักปฏิบัติที่ชัดเจนในการสร้างบรรทัดฐานการปฏิบัติทางการค้าให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยยกระดับธุรกิจแฟรนไชส์ให้เป็นระบบและมาตรฐานสากล อันจะเป็นการพัฒนาระบบการค้าในธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีความเข้มแข็ง 
 
และเกิดประสิทธิภาพต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่อไป ซึ่งไกด์ไลน์ในธุรกิจแฟรนไชส์ฉบับนี้ได้กำหนดพฤติกรรมที่เป็นข้อห้ามและอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ไว้ 6 ข้อ ประกอบด้วย 
 
6 ข้อห้ามในธุรกิจแฟรนไชส์ มีอะไรบ้าง
 
โดยไกด์ไลน์ในธุรกิจแฟรนไชส์ฉบับนี้ ได้กำหนดพฤติกรรมที่เป็นข้อห้ามและอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ไว้ดังนี้
  1. การกำหนดเงื่อนไขที่จํากัดสิทธิแฟรนไชส์ซี โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น ให้แฟรนไชส์ซีต้องซื้อสินค้าที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าแฟรนไชส์ หรือต้องซื้อวัตถุดิบในปริมาณที่สูงกว่าความต้องการใช้จริง
  2. การกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมหลังทำสัญญา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น ให้แฟรนไชส์ซีซื้อสินค้านอกเหนือจากที่กำหนดไว้
  3. การห้ามแฟรนไชส์ซีซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้ให้บริการรายอื่น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  4. การห้ามแฟรนไชส์ซีขายลดราคาสินค้าที่เน่าเสียง่าย โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  5. การกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันระหว่างแฟรนไชส์ซี โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และนำไปสู่การเลือกปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
  6. การกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ นอกเหนือจากการรักษาคุณภาพและมาตรฐานตามสัญญา

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม แฟรนไชส์ซอร์ต้องเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญให้แก่แฟรนไชส์ซีทราบก่อนตัดสินใจทำสัญญา เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ แผนการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า และการต่อ แก้ไข ยกเลิกสัญญา 
 
รวมทั้งในกรณีที่แฟรนไชส์ซอร์ จะเปิดสาขาใหม่เองนั้น จะต้องแจ้งแฟรนไชส์ชีที่มีสาขาอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงที่สุดทราบ และให้สิทธิในการเปิดสาขาใหม่แก่แฟรนไชส์ซีรายนั้นก่อน 


“การออกประกาศฉบับนี้ ถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และขอเน้นย้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 
 
ควรศึกษาแนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้า ที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ซึ่งมีกำหนดโทษปรับทางปกครองในอัตราไม่เกิน 10% ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด”


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,002
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,485
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,634
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,572
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด