บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    แฟรนไชส์ต่างประเทศ
9.3K
2 นาที
17 มิถุนายน 2551
แฟรนไชส์:ทางเลือกที่น่าสนใจในการทำธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ
 
 
 
ปัจจุบันมีผู้สนใจประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากอาหารไทยได้รับความนิยมค่อนข้างสูงในกลุ่มผู้บริโภคชาวต่างชาติ ประกอบกับร้านอาหารไทยเป็นธุรกิจที่ใช้เวลาไม่นานในการคืนทุน รวมทั้งภาครัฐได้ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เพราะเป็นธุรกิจที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และนำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันยังก่อให้เกิดรายได้ที่มาจากธุรกิจเกี่ยวเนื่อง อาทิ เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่ง เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหาร 
 
นอกเหนือจากการเข้าไปลงทุนประกอบธุรกิจด้วยตนเองแล้ว การซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจทั้ง สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่และ ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจร้านอาหารไทยอยู่ก่อน แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร 
 
เนื่องจากประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการซื้อแฟรนไชส์มีดังนี้
มีแผนธุรกิจของเจ้าของแฟรนไชส์ที่ประสบ ความสำเร็จเป็นแม่แบบในการทำธุรกิจ ลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ที่ขาด ประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจในด้านต่างๆ อาทิ ข้อมูลการตลาดและกฎระเบียบในการ จัดตั้งร้านอาหารของประเทศที่สนใจเข้าไปลงทุน
 
เนื่องจากบริษัทที่ขาย แฟรนไชส์จะมีการทำวิจัยตลาดเพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆ รวมทั้งมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบ ในการจัดตั้งร้านอาหารมีที่ปรึกษาทางธุรกิจ เพื่อช่วยตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อาทิ ทำเลที่ตั้งร้านอาหารและการทำสัญญาเช่าร้าน รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น อาทิ 
 
การถูกฟ้องร้องจากลูกค้าในเรื่องของคุณภาพอาหารและการให้บริการ มีการวางระบบต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน อาทิ ระบบบัญชี ระบบการจัดซื้อและการจัดเก็บวัตถุดิบ ระบบความปลอดภัยและมาตรฐานสุขอนามัย และระบบการรับคำสั่งอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลาในช่วงแรกของการ จัดตั้งร้านอาหารจากการไม่ต้องจัดทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง อาทิ การคิดรายการอาหาร รูปแบบการให้บริการ และการบริหารจัดการ
การโฆษณาและประชาสัมพันธ์มีประสิทธิภาพและประหยัดงบประมาณ 
 
เนื่องจากมีการทำโฆษณา และประชาสัมพันธ์ร่วมไปกับเจ้าของแฟรนไชส์หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์รายอื่น และมีการทำตลาดอย่างมืออาชีพสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่เด่นชัดของร้าน ทำให้จดจำได้ง่ายเนื่องจากมีการใช้ชื่อร้าน เมนูอาหาร สูตรอาหาร รูปแบบร้านอาหาร และรูปแบบการให้บริการร่วมกับผู้ขายแฟรนไชส์ เพิ่มอำนาจต่อรองในการสั่งซื้อวัตถุดิบ เนื่องจากมีหน่วยงานกลางในการสั่งซื้อวัตถุดิบ เพื่อกระจายให้ร้านอาหารที่ซื้อแฟรนไชส์ ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ เนื่องจากบุคลากรภายในร้านอาหารจะได้รับการ ฝึกอบรมจากผู้ที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์
 
ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการที่ซื้อแฟรนไชส์ควรเตรียมให้พร้อม คือ เงินลงทุนซึ่งต้องมีเพียงพอสำหรับการลงทุน 
 
ในช่วงแรกตามที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนดเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ อาทิ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า ค่าตกแต่งร้าน และค่าฝึกอบรม รวมถึงค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Royalty Fee) ที่ต้องชำระเป็นรายเดือน 
 
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรปฏิบัติตามที่เจ้าของ แฟรนไชส์กำหนดอย่างเคร่งครัด อาทิ การไม่ดัดแปลงรายการอาหาร การตกแต่งร้าน และการให้บริการตามรูปแบบที่กำหนด ปัจจุบันแฟรนไชส์ร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่มีชื่อเสียง อาทิ Blue Elephant ซึ่งมีอยู่ในกว่า 10 ประเทศทั่วโลก และ Thai Go ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
 
ที่มา: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
6,860
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
3,662
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,592
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,294
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
813
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
794
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด