บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    แฟรนไชส์ต่างประเทศ
5.9K
3 นาที
10 พฤษภาคม 2556
ตะลุยงาน Franchise China Conference & Exhibition 2003 (ตอนที่ 1)
 
1.    การประชุมหารือคณะผู้จัดงาน Franchise China Conference & Exhibition 2003
 
Mr. Bill Janeri – Vice President Global Source Exhibitions ผู้จัดงาน Franchise China Conference & Exhibition 2003 ได้กล่าวถึงความเป็นมาและหลักการจัดงาน ดังนี้

งาน Franchise China Conference & Exhibition 2003 ได้เรี่มจัดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 ซึ่งเป็นงาน Show ขนาดใหญ่ที่เป็นสากล ครั้งแรกในประเทศจีน และได้ถูกวางตำแหน่งให้เป็นงานโชว์ระดังพรีเมี่ยม โดยเน้นความมีคุณภาพทางด้านการเก็บฐานข้อมูลของผู้เข้าชมงานและตัวผู้เข้าชมงานเองก็ถือได้ว่าเป็น right investors ที่สนใจจะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ทางผู้จัดงานได้คัดเลือกให้แล้วแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ
 
กลุ่มที่ 1 Beginner เป็นกลุ่มนักลงทุนหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยเข้าร่วมงานมาก่อน ยังไม่รู้จักหรือรู้จักธุรกิจระบบแฟรนไชส์ไม่ดีนัก มาชมงานเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ กลุ่มนี้มีประมาณ 20% ของผู้เข้าชมงานทั้งหมด
 
กลุ่มที่ 2 Intermediate เป็นกลุ่มที่เคยเข้าชมงานในปีที่ผ่านมา ได้ศึกษาเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์มาอย่างดี มีความพร้อมและตัดสินใจที่จะลงทุนซื้อแฟรนไชส์ มาชมงานเพื่อหาซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ กลุ่มนี้มีประมาณ 60% ของผู้เข้าชมงานทั้งหมด
 
กลุ่มที่ 3 Advance เป็นกลุ่มที่เคยเข้าชมงานในปีที่ผ่านมาเช่นในกลุ่มที่ 2 แต่ได้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์หรือเป็นแฟรนไชส์แล้ว ต้องการที่จะขยายการลงทุนในประเภทธุรกิจอื่น มาชมงานเพื่อมองหาธุรกิจประเภทแฟรนไชส์ใหม่ๆ กลุ่มนี้มี่ประมาณ 20%ของผู้เข้าชมงานทั้งหมด
 
โดยทั้งนี้ แฟรนไชส์ซอที่ออกบูธหรือ Exhibitor จะต้องแยกผู้ที่เข้าชมงานที่มาเยี่ยมบูธของตนเองให้ออกว่าเป็นกลุ่มไหน และให้ข้อมูลหรือนำเสนอธุรกิจของตนเองให้ตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละกลุ่ม และภายในงานยังมีการจัดประชุมและสัมมนาด้านแฟรนไชส์ที่สอดคล้องกับกลุ่มผู้ที่เข้าชมงานเช่น สำหรับกลุ่ม beginner จะเป็นเรื่องของความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแฟรนไชส์ สำหรับกลุ่ม intermediate และ advance จะเป็นเรื่องกฎหมายแฟรนไชส์ ความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอและแฟรนไชส์ซีในระบบแฟรนไชส์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสัมมนาย่อย franchise showcase ที่ให้แฟรนไชส์ซอได้มีโอกาสนำเสนอธุรกิจของตนเอง เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับฟัง และสอบถามข้อมูลต่าง    
 
สำหรับธุรกิจไทยที่น่าจะมีโอกาสสูงในการทำธุรกิจในประเทศจีนได้แก่ ธุรกิจประเภทอาหาร แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยต้องเร็ว เพราะในเมืองจีนเริ่มมีร้านอาหารไทยหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่มาจากฮ่องกง
 
คณะผู้แทนไทยไทย ได้เสนอว่า เป็นไปได้ไหมที่การจัดงานในปีต่อๆไป ทางผู้จัดจะจัดข้อเสนอพิเศษที่เป็น package ในราคาหนึ่ง เช่น จัดพื้นที่ออกบูธ Thailand Paviilion จำนวนหนึ่ง พร้อมบัตรเข้าประชุมทางวิชาการและให้เวลา showcase ในการนำเสนอธุรกิจ เพื่อที่กลุ่มธุรกิจไทยจะได้รวมกลุ่มเข้าร่วมงาน โดยจัดสรรพื้นที่และเวลาในการนำเสนอธุรกิจกันเอง ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุน ทั้งนี้ ผู้จัดงานเห็นว่าเป็นความคิดที่ดีมากและยินดีที่จะสนับสนุน และควรจะได้หารือในรายละเอียด โดยอาจประสานผ่านทาง Global Sources Exhibitions ในประเทศไทย
 
2.    การศึกษาดูงาน Franchise China Conference & Exhibition 2003
 
งาน Franchise China Conference & Exhibition 2003 จัดที่ Shanghai International Convention Center มีจำนวน Exhibitor รวม 70 ราย ประกอบด้วย exhibitor ที่เป็นธุรกิจแฟรนไชส์นิตยสารทางธุรกิจ บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ และสมาคมด้านแฟรนไชส์ ในส่วนของ exhibitor ทีเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ มีทั้งธุรกิจที่เป็นของประเทศจีน เช่น Fornet (Laundry), Baby Baby (Photography Chain Store), DIO coffee, Suntama (Dessert), Lames (Furnitire) และจากต่างประเทศเช่น Subway (Sandwish), Papa John’s Pizza, Swensen’s, Hawaii Mahalo Ice Cream, 5aSec (Dry Clean), Blenz Coffee, CHARMY (Snow Ice), Sirspeedy (Printing & Copying), Century21 (Real Estate)
 
ในจำนวนนี้ประมาณ 60% เป็นธุรกิจประเภทอาหารและเครื่องดื่ม นอกนั้นเป็นธุรกิจประเภทอื่นๆ เช่น การศึกษา การบริการเกี่ยวกับรถยนต์ ความงานและสุขภาพ ซักอบรีด อสังหารัมทรัพย์ การตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
 
ทั้งนี้ มีธุรกิจไทยเข้าร่วมออกบูธ 1 กิจการคือ “Taste Tai” ชื่อไทย “ครัวไท” ขายแฟรนไชส์ร้านอาหารไทยสมัยใหม่ นอกจากนี้ ยังมีแฟรนไชส์ร้านอาหารไทยเข้าร่วมออกบูธอีก 1กิจการได้แก่ Siam Kitchen จากการสอบถามพนักงานประจำบูธทราบว่าเป็นกิจการที่ Joint venture ระหว่าง S&P ไทยและกลุ่มทุนสิงคโปร์ มีสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์
 
3.    การเข้าหารือผู้แทน “คณะกรรมการทางเศรษฐกิจนครเซี่ยงไฮ้” เพื่อศีกษางานด้านการค้าปลีก

Mr, Hu Wen Jun ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร คณะกรรมการทางเศษฐกิจนครเซี่ยงไฮ้ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้แทนไทย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าปลีก แนวทางการส่งเสริมและหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้
 
3.1    บทบาทของหน่วยงานหรือองค์กรของรัฐในการส่งเสริมธุรกิจค้าปลีก
 
องค์กรของรัฐในการส่งเสริมธุรกิจค้าปลีกของนครเซี่ยงไฮ้ คือ คณะกรรมการพาณิชย์ ณ นครเซี่ยงไฮ้  ซึ่งคณะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงองค์กรบริหารเป็น “คณะกรรมการาทางเศรษฐกิจ ณ นครเซี่ยงไฮ้”  ดังนั้น คณะกรรมการทางเศรษฐกิจ ฯ นครเซี่ยงไฮ้ จึงยังไม่มีบทบาทในการส่งเสริมธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน สำหรับบทบาทของคณะกรรมการพาณิชย์ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ในการส่งเสริมธุรกิจค้าปลีกที่ผ่านมามี 2 ประการหลักคือ
  1. ให้คำแนะนำทางด้านการบริหารในมุมกว้าง ได้แก่ การวางแผนโครงการ การวางแผนการจัดทำเลตามความต้องการของตลาด ฯลฯ ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาการค้าและค้าปลีก ฉบับที่ 10 (ระยะเวลาของแผน 5 ปี)
  2. ควบคุมมาตรฐานและการบริหารให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งข้อกำหนดด้านมาตรฐานและการบริหารจะแตกต่างกันในแต่ละมณฑล อนึ่ง คณะกรรมการทางเศรษฐกิจ ฯ นครเซี่ยงไฮ้ เป็นองค์กรของรัฐบาลตำแหน่งหน้าที่กำหนดโดยสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีผู้แทนของเอกชน แต่ทำหน้าที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนไปพร้อมกัน
3.2    แนวนโยบายในการส่งเสริมธุรกิจค้าปลีก
 
นโยบายของจีนยังไม่ให้โอกาสแก่ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในจีนอย่างเสรีเต็มที่ โดยจะมีเงื่อนไขทางด้านการจดทะเบียน และต้องขออนุญาตในการเข้ามาลงทุน อย่างไรก็ตาม จีนก็มีการเปิดตลาดมากขึ้นเพื่อให้ก้าวสู่สากล โดยรัฐบาลกำหนดหรือวางนโยบายไว้ ดังนี้
  1. มีนโยบายผ่านคลายด้านการควบคุมราคา ด้านสินค้าหมุนเวียน ด้านทรัพย์สินเงินทุน
  2. กำหนดให้วงการค้าปลีกมีการแข่งขัน
  3. มีนโยบายส่งเสริมรูปแบบการขายปลีกที่ทันสมัยและมีการพัฒนา ตัวอย่างเข่น ในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลเห็นว่าร้านค้าปลีกแบบ chain store มีโอกาส ก็จะให้การสนับสนุนทางด้านภาษีและการเลือกทำเลที่ตั้ง เป็นต้น
3.3    สถานการณ์/ผลกระทบจากธุรกิจค้าปลีก่ขนาดใหญ่จากต่างประเทศและแนวทางแก้ไข
 
สถานการณ์ของจีนในธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในจีน ไม่แตกต่างจากประเทศไทย การดำเนินการใดๆ จะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อนตัดสินใจ โดยจีนเองได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสมาคมขึ้น ทั้งสมาคมผู้ประกอบการที่เป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็กและขนาดกลางและให้สมาคมเหล่านี้เข้ามามีบทบาทมากๆ  โดยขณะนี้จะมีการเรียกประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นด้านต่างๆในการแก้ไขปัญหา

นอกจากนี้นโยบายทางเศรษฐกิจของจีน จะให้การสนับสนุนธุรกิจค้าปลีกของจีน ทั้งที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ และธุรกิจ SMEs พร้อมทั้งมีการจัดตั้งศูนย์บริการ SMEs นครเซี่ยงไฮ้ เพื่อให้เงินกู้และเงินชดเชยดอกเบี้ย

อ้างอิงจาก อ.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,084
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,380
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,224
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,893
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด