บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    การขยายธุรกิจ และบริหารสาขาแฟรนไชส์
2.2K
3 นาที
24 กุมภาพันธ์ 2564
ขายแฟรนไชส์ดีไหม จากคนที่ยังไม่เคยขยายสาขา!
 

หาคุณทำอาหารอร่อย หรือมีกิจการที่ไปได้ดี แต่ไม่มีเงินทุน คุณคงไม่มีโอกาสขยายร้านได้เป็น 100 สาขาแน่ๆ แต่ถ้าขายแฟรนไชส์สามารถเป็นไปได้สูง เพราะแฟรนไชส์เป็นระบบขยายกิจการด้วยเงินลงทุนของผู้ซื้อแฟรนไชส์
 
ผู้ที่มาซื้อแฟรนไชส์เป็นคนออกเงินในการเปิดร้าน การตกแต่ง ผู้ขายแฟรนไชส์เป็นเพียงผู้ขายโนว์ฮาว หรือ ขายความรู้ในการดำเนินกิจการ พร้อมช่วยเหลือก่อนเปิดเปิดร้านและหลังเปิดร้าน เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เติบโตไปด้วยกัน โดยผู้ขายแฟรนไชส์จะได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และค่าสิทธิต่อเนื่องรายเดือน (Royalty Fee) 
 
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมต้องขายแฟรนไชส์ หากคุณไม่เคยขยายสาขามาก่อน เนื่องจากหาขยายสาขาเอง ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่หากจะขายแฟรนไชส์ก็ต้องทำตามขั้นตอนที่ www.ThaiFranchiseCenter.com แนะนำในวันนี้ครับ 
 
1. หาความรู้เรื่องแฟรนไชส์


 
การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก่อนอื่นคุณต้องมีความรู้และมีทีมงานที่มีความอดทน และมีความเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ในระดับดีพอสมควร เพราะการทำแฟรนไชส์เกี่ยวข้องกับการเงิน การตลาด ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิต่อเนื่อง การสนับสนุนแฟรนไชส์ สัญญาแฟรนไชส์ คู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์ ฯลฯ หากไม่รู้เรื่องเหล่านี้ก็ทำแฟรนไชส์ไม่ได้  
 
สำหรับใครที่อยากหาความรู้ในเรื่องแฟรนไชส์ สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์สตาร์ทอัพ https://bit.ly/3uoDpAC 
รวมคอร์สแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ https://bit.ly/3t24Z51


 
2. สร้างธุรกิจให้โดนใจลูกค้า

 
หากต้องการขายแฟรนไชส์จริงๆ ต้องประเมินตัวธุรกิจว่าตอบโจทย์ลูกค้ามากน้อยแค่ไหน เช่น ธุรกิจนั้นคนนิยมหรือไม่ คนใช้บริการบ่อยไหม ถ้าธุรกิจเรายังไม่ใช่สำหรับลูกค้า มันก็ยังคงไม่เพียงพอที่จะดึงลูกค้าเข้ามาในร้าน การที่จะขยายสาขาแฟรนไชส์ต่อไปได้นั้น เราต้องได้ใจของลูกค้าด้วย ดังนั้น การสร้างธุรกิจให้โดนใจลูกค้าจึงสำคัญ 
 
3. ผลิตสินค้าให้มีความโดดเด่น


 
หากคุณอยากขายแฟรนไชส์อาหาร เรื่องที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ก็คือ ต้องทำอาหารที่มีรสชาติอร่อย ทำให้คนมากินครั้งแรกต้องกลับมากินครั้งสอง ถ้ารสชาติไม่อร่อยคนก็ไม่ซื้อ ไม่เข้าร้าน เมื่อไม่มีลูกค้าใช้บริการ ก็ทำให้ไม่มีใครสนใจซื้อแฟรนไชส์ของคุณไปเปิด เพราะเขารู้ดีว่าซื้อไปแล้วขายไม่ได้แน่นอน ดังนั้น แฟรนไชส์อาหารถ้าอยากให้ขายดี มีคนอยากซื้อแฟรนไชส์ รสชาติต้องอร่อย โดดเด่น มีเอกลักษณ์กว่าร้านอื่นๆ มีกรรมวิธีการผลิตอย่างมีคุณภาพ
 
4. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
 
เมื่อสินค้าโดนใจลูกค้าในวงกว้างแล้ว หากคิดจะขายแฟรนไชส์แทนการขยายสาขาเอง ขั้นตอนต่อไปก็คือ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพราะเมื่อให้สิทธิแฟรนไชส์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์แล้ว สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า ก็จะถูกผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปใช้ดำเนินธุรกิจด้วย พร้อมกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี หรือมาตรฐานที่ดีของการให้บริการที่จะต้องควบคู่ไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจดังกล่าวนั้นด้วย
 
5. สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์


การสร้างร้านต้นแบบขึ้นมา ก็เพื่อนำมาศึกษาหาข้อดีข้อเสียของธุรกิจที่คุณกำลังทำ ว่ามีความสามารถเพียงใด ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเท่าใด ระบบการขายอย่างไร ระบบเก็บเงินอย่างไร หลายๆ อย่างจะได้จากร้านต้นแบบ แต่ถ้าคุณมีร้านอยู่แล้ว ก็ต้องสร้างระบบควบคุมให้รัดกุม และ เป็นระบบที่สามารถกระจายการทำได้อย่างมีหลักมีเกณฑ์
 
6. วิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน
 
ร้านต้นแบบจะเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี และคุ้มไหมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้  ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) ด้วย
 
7. สร้างระบบการปฏิบัติงาน


 
เจ้าของธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ จะต้องสร้างระบบการปฏิบัติงาน และการฝึกอบรม หรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดร้านจะต้องปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ทั้งการผลิต การขาย การจัดการ เป็น ดังนั้น การอบรม จึงเป็นวิธีการพื้นๆ แต่ได้ผลในการทำให้ระบบงานทั้งระบบเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
 
8. เขียนสัญญาแฟรนไชส์

เจ้าของธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ จะต้องมีการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อเป็นแนวทางให้แฟรนไชส์นำไปปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นกฎปฏิบัติของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และห้ามทำอะไรบ้าง ใครไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็สามารถฟ้องร้องกันได้ตามกฎหมาย เจ้าของธุรกิจอาจจะต้องจ้างทนายหรือผู้เชี่ยวชาญในการร่างสัญญาแฟรนไชส์ขึ้นมา 
 
9. สร้างแบรนด์ให้คนรู้จักมีชื่อเสียง


 
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คนรู้จักทั่วโลก หรือทั่วประเทศ ย่อมเป็นที่ต้องตาต้องใจของบรรดานักลงทุนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เพราะซื้อมาแล้วเปิดร้านขายได้ทันที มีลูกค้ารองรับอยู่แล้ว เหมือนกับกรณีของแฟรนไชส์ 7-Eleven ที่ปัจจุบันมีมากกว่าหมื่นสาขา มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดจำนวนมาก เพราะคนรู้จักทั่วโลก หรืออย่างแฟรนไชส์กาแฟอเมซอน ก็เป็นอีกแบรนด์ที่ขายดี มีคนสมัครซื้อแฟรนไชส์นับ 400 ใบสมัครต่อเดือน เพราะแบรนด์มีชื่อเสียง
 
10. ทำการตลาดเพื่อขายแฟรนไชส์


 
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนนิยมซื้อไปเปิดนั้น ต้องมีการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะจะทำให้คนทั่วไปรู้จักแบรนด์มากขึ้น คนซื้อไปแล้วไม่ต้องกลัวว่าซื้อไปแล้วจะขายไม่ได้ ซึ่งช่องทางการทำตลาดอาจจะสร้างเพจโปรโมทสินค้าหรือแบรนด์ หรือสร้างเว็บไซต์ ไลน์เพื่อสื่อสารกับลูกค้า รวมถึงการออกบูธแสดงสินค้า หรือลงโฆษณาบนสื่อต่างๆ สม่ำเสมอ เช่น เมื่อเปิดสาขาใหม่ก็โปรโมทบ้าง เพื่อกระตุ้นให้คนอยากซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น เพราะมองว่าเป็นแฟรนไชส์ยอดนิยม ขายดี   
 
โปรโมทแฟรนไชส์ขายดี www.thaifranchisecenter.com
 
ทั้งหมดเป็นขั้นตอนการทำธุรกิจ เพื่อขายแฟรนไชส์ แม้ว่าธุรกิจของคุณจะโดนใจลูกค้า และสินค้าหรือบริการตอบโจทย์ลูกค้า แต่ไม่ใช่ว่าคุณจะขายแฟรนไชส์ได้ในทันที ไม่เหมือนกับการขยายสาขาเอง ที่มีเงินทุน มีทีมงาน ก็สามารถทำได้เลย 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 

Franchise Tips
  1. หาความรู้เรื่องแฟรนไชส์
  2. สร้างธุรกิจให้โดนใจลูกค้า
  3. ผลิตสินค้าให้มีความโดดเด่น
  4. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  5. สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  6. สร้างระบบการปฏิบัติงาน
  7. เขียนสัญญาแฟรนไชส์
  8. สร้างแบรนด์ให้คนรู้จักมีชื่อเสียง
  9. ทำการตลาดเพื่อขายแฟรนไชส์
 
หลายคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองมีคำถามว่า จะซื้อแฟรนไชส์ดีหรือไม่ หรือ จะเปิดร้านเอง แบบไหนดีกว่ากัน เพราะหากเปิดร้านเองก็มีความเสี่ยงจะเจ๊ง แต่หากจะซื้อแฟรนไชส์ก็ไม่มีประสบการณ์ในการลงทุนมาก่อน วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะอธิบายให้เข้าใจถึงข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์ สำหรับคนที่ไม..
41months ago   2,327  4 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,084
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,380
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,224
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,893
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด