บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    แฟรนไชส์ต่างประเทศ
1.7K
2 นาที
24 มิถุนายน 2564
ซื้อแฟรนไชส์ในอเมริกา น่าสนใจหรือไม่?
 

การซื้อแฟรนไชส์เป็นทางลัดสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แต่ความจริงแล้วการซื้อแฟรนไชส์ มีข้อเสียอยู่มากมายเช่นกัน ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ หลายคนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมาก โดยเฉพาะแฟรนไชส์สหรัฐอเมริกา ในบทความนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะวิเคราะห์ว่าซื้อแฟรนไชส์ในอเมริกาดีหรือไม่ 
 
ค่าใช้จ่ายเริ่มแรกที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องจ่าย ก็คือ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) และค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty Fee) รวมถึงต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่อีกต่างหาก ตัวอย่าง ซื้อแฟรนไชส์ร้านแมคโดนัลด์ นอกจากแฟรนไชส์ซีจะจ่ายค่าเช่าพื้นที่แล้ว ยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 45,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสิทธิ์ดำเนินธุรกิจระยะเวลา 20 ปี

ภาพจาก bit.ly/3wTPLSc
 
หลังจาก 20 ปี หากแฟรนไชส์ซีตกลงจะต่ออายุสัญญา ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์อีก 45,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินลงทุนเปิดร้านแมคโดนัลด์ทั้งหมดราวๆ น้อยกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ มากกว่า 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ 
 
สำหรับค่าสิทธิ์ต่อเนื่อง หรือ Royalty Fee ทุกๆ ปี แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับแฟรนไชส์ซอร์ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย (เมืองไทยจ่ายเป็นรายเดือน) ดังนั้น ไม่ว่าแฟรนไชส์จะมีรายได้ขนาดไหน ก็ต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์

ภาพจาก bit.ly/3vXeKm5
 
Royalty Fee ของแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกาค่อนข้างจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น เบอร์เกอร์คิงเรียกเก็บค่า Royalty Fee 4.5% ของยอดขาย ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 50,000 เหรียญสหรัฐ และ Dunkin’ เก็บค่า Royalty Fee 5.9% ของยอดขาย ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า 40,000-90,000 เหรียญสหรัฐ ขึ้นอยู่กับทำเลพื้นที่ การตกแต่งร้าน และภาษี นั่นจึงเป็นสาเหตุทำให้แฟรนไชส์ซีในสหรัฐอเมริกาไม่ได้นำมาซึ่งความหรูหราเหมือนที่จินตนาการเอาไว้ 
 
ข้อเสียเปิดแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ 
1.ต้นทุนวัตถุดิบสูง
 
ภาพจาก bit.ly/3quIA0s

แฟรนไชส์ซอร์กำหนดให้แฟรนไชส์ซีซื้อวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์ หรือซัพพลายเออร์ที่รู้จัก ซึ่งเงินที่จ่ายไปกับค่าวัตถุดิบนั้นมักจะสูงกว่าราคาวัตถุดิบขายที่อื่น แฟรนไชส์ซีฟาสต์ฟู้ดบางรายจ่าย 5-10% สูงกว่าราคาผักกาด มะเขือเทศ และอื่นๆ ที่หาซื้อได้ง่ายในท้องตลาด จนทำให้แฟรนไชส์ซอร์บางแบรนด์ถูกฟ้องร้องข้อหาเก็บเงินค่าวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซีสูงเกินไป
  
2.ขาดเงินทุน
 
แฟรนไชส์ซอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้จัดหาเงินทุนให้กับแฟรนไชส์ซี หมายความว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจจะต้องใช้เงินออม หรือหาแหล่งเงินทุนอื่นๆ เช่น สินเชื่อจากธนาคาร โดยเงินทุนที่หามาได้จะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าวัตถุดิบ เป็นต้น
 
3.ขาดการควบคุมอาณาเขต
 
ภาพจาก bit.ly/3zNz6lb

ตามหลักแล้วแฟรนไชส์ซอร์จะจำกัดจำนวนร้านสาขาแฟรนไชส์ในแต่ละพื้นที่ ไม่ให้เปิดร้านมากจนเกินไป เพราะจะเกิดการแข่งขันของแบรนด์เดียวกัน ทำให้ขายไม่ได้ ในขณะที่แฟรนไชส์หลายแบรนด์พยามเปิดร้านในพื้นที่ที่กำหนดให้มากที่สุด ยกตัวอย่าง แมคโดนัลด์มีร้านถึง 5 สาขาภายในพื้นที่ 5 ไมล์ 
 
4.ขาดความคิดสร้างสรรค์
 
ทุกอย่างตั้งแต่การตกแต่งร้าน ป้าย ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ และเครื่องแบบที่พนักงานสวมใส่ ถูกกำหนดโดยแฟรนไชส์ซอร์ สำหรับคนที่ชอบความคิดสร้างสรรค์ ไม่ควรซื้อแฟรนไชส์ เพราะรูปแบบร้านจะถูกกำหนดโดยแฟรนไชส์ซอร์ สาขาแฟรนไชส์จะมีข้อกำหนดที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น ถ้าคุณชอบที่จะเป็นเจ้านายตัวเองเอง การซื้อแฟรนไชส์อาจไม่เหมาะกับคุณ
 
แฟรนไชส์ซีในอเมริกา มีรายได้เท่าไหร่ 
 
ภาพจาก bit.ly/2UyDdRX

จากการสำรวจโดย Franchise Business Review พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อปีของสาขาแฟรนไชส์ซีในสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 80,000 ดอลลาร์ โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อรายได้สาขาแฟรนไชส์ซี เช่น จำนวนประชากรในพื้นที่และใกล้เคียง และการจราจร จากการศึกษาข้อมูลเดียวกันเดียวกันพบว่า สาขาแฟรนไชส์ซีส่วนใหญ่มีรายได้น้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในขณะที่ 7% มีรายได้มากกว่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี 
 
แฟรนไชส์ยอดนิยมในอเมริกา
 
ภาพจาก bit.ly/35LAN4z

สำหรับแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2564 คือ McDonald’s รองลงมาคือ KFC และ Burger King ตามรายงานข้อมูลของ Franchise Direct นอกเหนือจากแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดแล้ว ยังมีแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ 7-Eleven, Ace Hardware และ Century 21
 
มาถึงตรงนี้รู้หรือยังว่า ในช่วง 2-3 ปีมานี้ เรามักจะได้เห็นข่าวบรรดาแฟรนไชส์ซีในสหรัฐอเมริกา ต่างทยอยยื่นล้มละลายกันอย่างต่อเนื่อง หลายๆ รายจำใจต้องขายกิจการ หรือหานักลงทุนเข้ามาร่วมลงทุน
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 
 
อ้างอิงข้อมูล
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,432
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,564
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,268
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,230
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด