บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    การจดทะเบียนแฟรนไชส์ เครื่องหมายการค้า
1.9K
2 นาที
19 สิงหาคม 2564
5 แนวทาง “เจ้าของแฟรนไชส์” เรียกคืน “โลโก้” โดยไม่ต้องฟ้องร้อง!!   


ผู้เชี่ยวชาญแฟรนไชส์หลายๆ คนบอกว่า ระบบแฟรนไชส์เปรียบเสมือน “สามี-ภรรยา” กัน ช่วงสมัยเป็นโสดต่างมีวิธีคัดเลือกคู่ของตัวเองด้วยสารพัดวิธี แต่พออยู่กันไปนานๆ เกิดระหองระแหง ไม่ไว้ใจกัน เลิกรากัน อาจเป็นเพราะคนหนึ่งไปมีคนอื่น หรืออีกคนหนึ่งไม่ปฏิบัติตามกฎของครอบครัว 
 
หากมองย้อนกลับมาที่ธุรกิจแฟรนไชส์กันบ้าง ก็มีส่วนคล้ายคลึงกัน หากแฟรนไชส์ซอร์คัดเลือกคู่ (แฟรนไชส์ซี) มาดีแล้ว ส่งเสริมธุรกิจกันไปเรื่อยๆ แต่วันหนึ่งแฟรนไชส์เกิดทำผิดสัญญา หรือนอกใจแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์สามารถยกเลิกสัญญา และเรียกคือเครื่องหมายการค้า รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจได้
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอแนวทางที่แฟรนไชส์ซอร์สามารถเรียกคืน “เครื่องหมายการค้า หรือ โลโก้” จากแฟรนไชส์ซี หากคู่กรณีทำผิดเงื่อนไขและข้อปฏิบัติที่ระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ โดยอาจไม่ต้องฟ้องร้อง!! 
 
1.ไม่ปฏิบัติตามกฎการดำเนินธุรกิจ
 

ภาพจาก https://pixabay.com/
 
เช่น ห้ามซื้อวัตถุดิบเอง, ห้ามเพิ่มเมนู ห้ามเปลี่ยนแปลงราคา, ห้ามวางสินค้าอื่นที่ไม่ใช่ตราสินค้า, ห้ามปรับเปลี่ยนและเผยแพร่สูตร, ห้ามตกแต่งเพิ่มเติม, ห้ามโยกสาขา หรือเปิดสาขาเพิ่ม และอื่นๆ ที่ได้ระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์
 
2.สถานะของแฟรนไชส์ซีเปลี่ยนไป 
 

ภาพจาก https://pixabay.com/
 
เช่น ล้มละลาย เสียชีวิต หรือไม่สามารถประกอบธุรกิจเองได้ ซึ่งในสัญญาเจ้าของแฟรนไชส์ควรจะระบุในสัญญาเอาไว้ด้วยว่า มีกรณีใดบ้างที่บอกเลิกสัญญาต่อกันได้ เช่น เสียชีวิต มีคดีผิดกฎหมาย หรือ กรณีผิดสัญญาร้ายแรง 
 
3.ผลการดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปตามเป้า
 

ภาพจาก https://pixabay.com/
 
หากระบุเงื่อนไขไว้ในสัญญาแฟนไชส์ โดยที่เจ้าของแฟรนไชส์ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในทุกๆ เรื่อง แต่ยอดขายไม่กระเตื้อง และไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ขาดทุน ขณะที่สาขาแฟรนไชส์อื่นๆ แล้วกลับมียอดขายเพิ่ม และมีกำไรเพิ่มขึ้น แสดงแฟรนไชส์รายนี้ไม่ตั้งใจ หากปล่อยให้ดำเนินธุรกิจต่อไปอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในอนาคตได้ 

4.ไม่จ่ายค่าสิทธิ และ ไม่ส่งรายงานธุรกิจ
 

ภาพจาก bit.ly/3CRYwPY 

หากมีการระบุในสัญญาแฟรนไชส์ เรื่องการจ่ายค่าสิทธิรายเดือน (Royalty fee) รวมถึงการรายงานผลการดำเนินงานในแต่ละเดือนให้แฟรนไชส์ซอร์ แต่หากแฟรนไชส์ซีไม่ปฏิบัติตาม หรือปกปิดข้อเท็จจริง อันนำไปสู่ผลกระทบต่อยอดขาย ภาพลักษณ์ของแบรนด์ เมื่อแฟรนไชส์ซอร์ตักเตือนเป็นวาจาหรือหนังสือแล้ว ไม่ปฏิบัติตามหรือละเลย ก็ยกเลิกสัญญาได้

5.ไม่ปฏิบัติมาตรฐานความปลอดภัย
 

ภาพจาก https://pixabay.com/

แม้แฟรนไชส์ซอร์จะไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ แต่ถ้าหากแฟรนไชส์ซีมีการบริหารจัดการร้าน ที่ไม่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยในช่วงการระบาดวิด-19 และอื่นๆ หากแฟรนไชส์ซอร์ส่งหนังสือเตือนให้แฟรนไชส์ซีปฏิบัติตาม หรือพูคุยตกลงกันทางโทรศัพท์หลายๆ ครั้ง แต่ถ้าแฟรนไชส์ซีไม่ปฏิบัติตาม แฟรนไชส์ซอร์สามารถยกเลิกสัญญาได้
 
นั่นคือ 5 แนวทางที่เจ้าของแฟรนไชส์สามารถยกเลิกสัญญากับผู้ซื้อแฟรนไชส์ รวมถึงให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่งคืนอุปกรณ์และเครื่องหมายการค้า (โลโก้) กลับคืนให้เจ้าของแฟรนไชส์ได้ โดยไม่ต้องฟ้องร้อง แต่ทั้งนี้ทั้ง 2 ฝ่ายต้องตกลงกันก่อน ก็เหมือนกับสามี-ภรรยา ว่าจะจากกันด้วยดี แบ่งมรดกกันดีๆ โดยไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลครับ
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 
 

Franchise Tips
  1. ไม่ปฏิบัติตามกฎการดำเนินธุรกิจ
  2. สถานะของแฟรนไชส์ซีเปลี่ยนไป
  3. ผลการดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปตามเป้า
  4. ไม่จ่ายค่าสิทธิ และ ไม่ส่งรายงานธุรกิจ
  5. ไม่ปฏิบัติมาตรฐานความปลอดภัย
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,435
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,566
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,268
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,230
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด