บทความทั้งหมด    บทความค้าขาย    ขายตรง เครือข่าย    การขาย และการหาลูกค้าในธุรกิจขายตรง
7.2K
2 นาที
13 มกราคม 2557
ธุรกิจขายตรงกับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า

ผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีรูปแบบของการใช้ชีวิตแตกต่างอย่างมากกับผู้บริโภคยุคก่อน เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทกับกลุ่มผู้บริโภคส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อ


การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น มีพฤติกรรมของการหาข้อมูล ก่อนการเลือกซื้อ การสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพ ประสิทธิภาพของสินค้ากับผู้ที่เคยใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

เน้นความสะดวก รวดเร็ว และที่สำคัญ สินค้านั้นจะต้องมีราคาเหมาะสมกับคุณภาพ ราคาจะสูงก็ได้แต่นั่นหมายความว่าคุณภาพของสินค้าจะสูงตามไป ด้วยเช่นกัน และแน่นอนสินค้าของระบบธุรกิจขายตรงเองก็มีความพยายามอย่างยิ่งสำหรับการให้ผู้บริโภคยอมรับสินค้าของธุรกิจขายตรง โดยเน้นพัฒนา คุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว

โดยเฉพาะ สินค้าประเภทเครื่องสำอางที่ผู้บริโภค ให้การยอมรับมากขึ้นในระดับตลาดกลางและตลาดบน บริษัท นาโน เซิร์ช จำกัด ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลกับผู้บริโภคจำนวน 200 ตัวอย่างเฉพาะในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับแนวคิดของผู้บริโภค ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างการเลือกซื้อสินค้าในระบบธุรกิจขายตรงและระบบการจำหน่าย สินค้าทั่วไป โดยกลุ่มผู้บริโภคที่ทำการสำรวจเป็นกลุ่มผู้บริโภคเพศชาย คิดเป็น 39.6% และ เพศหญิง คิดเป็น 60.2%

โดยอายุเฉลี่ยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ อายุไม่เกิน 25 ปี คิดเป็น 28.7% อายุระหว่าง 26-30 ปี คิดเป็น 31.0% และ อายุ 30 ปีขึ้นไป คิดเป็น 40.4% รายได้ ของผู้บริโภคที่ทำการสำรวจอยู่ในช่วงรายได้ประมาณ 20,000 บาท คิดเป็น 7.0% และรายได้อยู่ในช่วง 8,000 บาท, 10,000 บาท และ 40,000 บาท คิดเป็น 6.4% ในสัดส่วนที่เท่ากัน ซึ่งผู้บริโภคมีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีประกอบอาชีพพนักงานบริษัท เอกชน และมีสถานภาพโสดมากกว่ากลุ่มอื่นๆ
 
พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า ของผู้บริโภคปัจจุบันพบว่า พฤติกรรมการเลือกซื้อนั้น มีลักษณะของการเลือกซื้อ โดยพิจารณาซื้อจากในขนาดที่เหมาะสม ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไปนัก คิดเป็น 50.9% และมักนิยมเลือกซื้อในลักษณะของแบบชิ้นใหญ่ ซื้อครั้งเดียวแล้วใช้ได้นาน คิดเป็น 25.1% และ ซื้อชิ้นเล็กๆ เฉพาะใช้ในขณะนั้น คิดเป็น 24.0% ตามลำดับ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว นี้ จึงทำให้ผู้ผลิตสินค้าจะต้องผลิตสินค้าออกมาหลากหลายขนาดให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อให้เหมาะสมกับความต้องการ
 
ดังนั้น เมื่อทำการสอบถามผู้บริโภคเกี่ยวกับความคุ้มค่าในการเลือกซื้อสินค้าในระบบธุรกิจขายตรงว่ามีความคุ้มค่ากว่าการเลือกซื้อกับสินค้าในระบบจำหน่ายทั่วไปนั้น ผู้บริโภคแสดงความคิดเห็นว่า การเลือกซื้อในระบบธุรกิจขายตรงเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการจำหน่ายทั่วไปไม่ได้คุ้มค่ากว่า คิดเป็น 64.0% และ มีผู้บริโภคเพียง 36.0% เท่านั้นที่คิดว่าการเลือกซื้อสินค้าในระบบธุรกิจการขายตรงจะมีความคุ้มค่ากว่าการเลือกซื้อในระบบสินค้าที่จำหน่ายอยู่ทั่วไป
 
จึงไม่น่าแปลกใจว่าระบบการจำหน่ายสินค้าในระบบธุรกิจขายตรงก็สามารถดำเนินธุรกิจไปได้ เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภครับรู้หรือยอมรับได้ว่าการเลือกซื้อสินค้าผ่านระบบธุรกิจขายตรงมีความคุ้มค่าสำหรับความคุ้มค่าในความเห็นของผู้บริโภคนั้น มีทั้งมองว่าจะเกิดความคุ้มค่าในด้านของการหาซื้อได้ง่าย รองลงมาคือ ประสิทธิภาพในการใช้ที่ดีกว่า และปริมาณของสินค้าที่ได้รับมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าทั่วไป
 
แต่สำหรับผู้บริโภคซึ่งไม่เห็นว่า การเลือกซื้อสินค้าจากระบบธุรกิจขายตรงจะมีความคุ้มค่าไปกว่าการเลือกซื้อ สินค้าโดยทั่วไปให้เหตุผลประกอบว่า ราคาของสินค้าในระบบธุรกิจขายตรงมีราคาแพง คิดเป็น 43.9% ลำดับรองลงมาคือ สินค้ามีปริมาณน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบด้านราคา และ ไม่มีคุณภาพ ตามลำดับ
 
ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่สะท้อน ได้ดีว่าผู้บริโภคมีความต้องการอะไร และความต้องการนั้นได้รับการตอบสนอง จากเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือไม่

อ้างอิงจาก mlmtalkcenter.blogspot.com
 
บทความค้าขายยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ทีมไหน! หา"ทำเล"ก่อนทำธุรกิจ vs เลือก "ธุรกิจ" ก..
409
บทความค้าขายมาใหม่
บทความอื่นในหมวด