บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    การเงิน บัญชี ภาษี
1.2K
1 นาที
22 กันยายน 2565
เทคนิคบริหารจัดการยอดขายและเงินสดย่อยในธุรกิจแฟรนไชส์
 

เจ้าของกิจการทั่วไปหรือเจ้าของแฟรนไชส์ มักจะประสบกับปัญหาค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ จึงจำเป็นต้องมีระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด เพราะจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการร้านมีประสิทธิภาพ ป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหลของเงินได้ ดังนั้น หลักการบริหารจัดการยอดขายและเงินสดย่อยภายในกิจการ จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการทำธุรกิจในปัจจุบัน 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการยอดขายและเงินสดย่อยภายในกิจการมานำเสนอให้ทราบ
 
 
เงินสดย่อย คือ เงินสดจำหนวนหนึ่งที่กิจการมอบให้พนักงานคนหนึ่งเป็นผู้ดูแล เรียกว่า ผู้รักษาเงินสดย่อยภายในกิจการ โดยบทบาทหน้าที่ของ “ผู้รักษาเงินสดย่อย” ส่วนใหญ่จะเป็นคนๆ เดียวกันกับเจ้าหน้าที่บัญชี หรืออาจเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินสำหรับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ วงเงินที่ผู้รักษาเงินสดย่อยจะถูกนำไปไว้ใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ของกิจการที่ต้องจ่ายเป็นเงินสด เช่น ค่าพาหนะ ค่าชา กาแฟ นิตยสาร หรือ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น 
 
ระบบเงินสดย่อย
  1. ระบบเงินสดย่อยที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้แน่นอน
  2. ระบบเงินสดย่อยที่กำหนดวงเงินไว้แน่นอน  
วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับเงินสดย่อย มีขั้นตอนดังนี้
 

1.การตั้งวงเงินสดย่อย ยกตัวอย่างเช่น กิจการ A ตั้งวงเงินสดย่อยไว้เดือนละ 2,000 บาท
  1. ค่าน้ำมันรถส่งของ 200 บาท
  2. ค่ากาแฟ 50 บาท
  3. ค่ากระดาษ 40  บาท
  4. ค่าเดินทางของพนักงาน 100 บาท
จะเห็นว่ามีการเบิกจ่ายเงินสดย่อยทั้งสิ้นรวม 390 ทำให้ผู้รักษาเงินสดย่อยมีเงินสดย่อยในมือเหลือเพียง 2000-390 = 1,610 บาท ดังนั้น ผู้รักษาเงินสดย่อยจะนำเอกสารการจ่ายเงินจำนวน 390 บาท ไปขอเบิกชดเชยจำนวน 390 บาท จากฝ่ายการเงินหรือเจ้าของกิจการ เพื่อนำกลับมาเติมวงเงินให้เท่าเดิม 2,000 บาทเหมือนเดิมในต้นเดือนถัดไป และหมุนเวียนแบบนี้ทุกๆ เดือน จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่ม หรือ ลดวงเงิน
 
การควบคุมเงินสดภายในกิจการ 

  1. ต้องมีผู้รับผิดชอบเงินสดย่อยในร้านอย่างชัดเจน
  2. เงินสดที่ได้รับแต่ละวันให้นำไปฝากธนาคารในวันนั้นทั้งจำนวน หรืออย่างช้าในตอนเช้าของวันถัดไป ห้ามนำมารวมกันกับเงินสดย่อย
  3. รายจ่ายทุกรายการให้ใช้จากเงินสดย่อย ห้ามใช้เงินจากการขายในแต่ละวัน
  4. เงินสดย่อยใช้เฉพาะฉุกเฉินและจำเป็นเท่านั้น
  5. การเบิกคืนให้อยู่ในระยะเวลาที่กำหนด
  6. เงินทอนจะรวมหรือไม่รวมก็ได้ แต่ห้ามใช้ร่วมกันกับรายจ่าย
  7. มีการตรวจสอบกระทบยอดขายทุกวัน
นั่นคือ เทคนิคบริหารจัดการยอดขายและเงินสดย่อยในธุรกิจแฟรนไชส์ หรือกิจการอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เงินรั่วไหลจนส่งผลให้ธุรกิจต้องขาดทุน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,092
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,403
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,893
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด