บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    ช่องทางทำกิน
874
2 นาที
19 เมษายน 2566
10 ขั้นตอนซื้อแฟรนไชส์มาเปิด แบบชิลๆ 
 

ในช่วงไตรมาส 2 ใครที่กำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์มาเปิดเพื่อสร้างรายได้ แต่ไม่รู้วิธีและขั้นตอนในการเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีเคล็ดลับและขั้นตอนเลือกซื้อแฟรนไชส์มาแนะนำให้ทราบ
 
1. ประเมินศักยภาพตนเอง
 
 
 
ก่อนจะซื้อแฟรนไชส์ต้องถามตัวเองในเรื่องต่างๆ ก่อนว่า มีเวลาในการบริหารธุรกิจมากน้อยแค่ไหน บางธุรกิจต้องใช้เวลาทั้งวัน ทั้งคืน มีเงินลงทุนเพียงพอไหม พร้อมปฏิบัติตามระบบและเงื่อนไขของแฟรนไชส์นั้นหรือไม่ สามารถทำงานร่วมกับคนได้ไหม พร้อมรับความเสี่ยงได้ไหมหากขาดทุน เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ได้การันตีความสำเร็จ 100% 

2. หาความรู้เรื่องแฟรนไชส์
 

 
แม้การซื้อแฟรนไชส์จะเป็นทางลัดในการทำธุรกิจ และได้รับการถ่ายทอดและฝึกอบรมการปฏิบัติงานในธุรกิจแฟรนไชส์จากแฟรนไชส์ซอร์ แต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะมีความรู้ในเรื่องระบบแฟรนไชส์บ้างพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างทางการเงิน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในระบบแฟรนไชส์ สัญญาแฟรนไชส์ ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี
 
3. เลือกแฟรนไชส์ที่ชอบ 
 
 
 
ก่อนจะซื้อแฟรนไชส์ต้องถามตัวเองก่อนว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ถนัดเรื่องใด ให้เลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตรงกับความต้องการของตัวเองให้มากที่สุด หากชอบทานอาหารให้เลือกแฟรนไชส์อาหาร หากชอบสอนให้เลือกแฟรนไชส์การศึกษา หากไม่ชอบทำงานกับคนหมู่มากให้เลือกแฟรนไชส์สะดวกซัก คาร์แคร์ ตู้หยอดเหรียญ ธุรกิจที่ไม่ใช้คนจำนวนมาก เป็นต้น 
 
4. เปรียบเทียบแฟรนไชส์
 

เมื่อได้แฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบ ต่อไปให้นำธุรหิจแฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบอย่างน้อย 2-3 แบรนด์มาทำการเปรียบเทียบ ดูแต่ละแบรนด์ใช้งบลงทุนเท่าไหร่ แบรนด์มีชื่อเสียงหรือไม่ สินค้าและบริการเป็นที่ต้องการของตลาดไหม โครงสร้างค่าใช้จ่าย อัตราผลตอบแทน ระยะเวลาในการคืนทุน ตลอดจนระบบการสนับสนุนและดูแลแฟรนไชส์ซีของแต่ละแบรนด์แฟรนไชส์
 
5. พูดคุยกับแฟรนไชส์ซี
 

เมื่อได้แฟรนไชส์ที่ต้องการแล้ว ให้ลงพื้นที่สอบถามร้านสาขาแฟรนไชส์รายอื่นๆ เกี่ยวกับความยากง่ายของการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ ยอดขาย รายได้ มีคำบ่น หรือปัญหาเกี่ยวกับแฟรนไชส์ หรือการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาอย่างไร และได้แก้ปัญหาอย่างไร ควรมีโอกาสได้คุยกับแฟรนไชส์ซีปัจจุบัน
 
6. หาทำเลเปิดร้านแฟรนไชส์
 

ทำเลที่ดีควรอยู่ใกล้แหล่งชุมชน คนสัญจรผ่านไปมา ไม่ว่าจะเป็นปั้มน้ำมัน ตลาด หมู่บ้าน สำนักงานออฟฟิศ โรงพยาบาล โรงงาน ห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ ที่สำคัญต้องเลือกทำเลที่เหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ ด้วย 
 
7. พูดคุยกับแฟรนไชส์ซอร์ 
 

นัดเข้าไปพบและพูดคุยกับแฟรนไชส์ซอร์โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอัตราการเติบโตของธุรกิจ จำนวนสาขาตนเองและสาขาแฟรนไชส์มีเท่าไร สถานะทางการเงินมั่นคงหรือไม่ มีภาวะหนี้สิน หรือภาระผูกพันอะไรบ้าง ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถขอดูข้อมูลผลประกอบการจากแฟรนไชส์ซอร์ได้เลย ตลอดจนถามแผนธุรกิจในระยะยาว โอกาสในการเติบโตของธุรกิจ จะเติบโตอีกกี่สาขา มีการลงทุนในการพัฒนาธุรกิจในด้านใด เป็นต้น
 
8. เซ็นสัญญาแฟรนไชส์ 


ก่อนจะเซ็นสัญญาแฟรนไชส์อาจจะจ้างที่ปรึกษาแฟรนไชส์หรือทนายที่มีความเชี่ยวด้านกฎหมายช่วยเหลือ ศึกษาสัญญาแฟรนไชส์ และข้อตกลงระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี ว่ามีข้อผูกมัดเรื่องใด เช่น อายุสัญญา ขอบเขตในการดำเนินงาน มีค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง หน้าที่ความรับผิดชอบ
 
#รับคำปรึกษาแฟรนไชส์ https://www.thaifranchisecenter.com/consult/ 
 
9. ฝึกอบรมการปฏิบัติงาน
 

หลังจากเซ็นสัญญาแฟรนไชส์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปแฟรนไชส์จะได้รับการฝึกอบรมการบริหารงานต่างๆ จากแฟรนไชส์ซอร์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งหากเป็นแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ๆ จะฝึกอบรมที่บริษัทแฟรนไชส์และปฏิบัติงานหน้าร้านก่อนเปิดดำเนินกิจการจริง หรือบางแฟรนไชส์อาจฝึกอบรมพร้อมกับเปิดร้านขายไปด้วยก็มี
 
10. เปิดร้านดำเนินกิจการ
 

ขั้นตอนสุดท้ายอาจไม่ยุ่งยากมากนักเพราะหลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์จะให้ความช่วยเหลือผู้ซื้อแฟรนไชส์เตรียมความพร้อมก่อนเปิดร้านดำเนินกิจการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายหน้าร้าน ส่งทีมงานช่วยเหลือจัดเตรียมสถานที่เปิดร้าน ตกแต่งร้านเพิ่มเติม ช่วยเหลือมในด้านการขายและการตลาด เป็นต้น 
 
จะเห็นได้ว่า การเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่ดี ควรเลือกให้ตรงกับความต้องการตนเอง สัมพันธ์กับความต้องการของตลาด ที่มีโอกาสในการเติบโตต่อเนื่อง และเลือกแฟรนไชส์ซอร์มืออาชีพที่พร้อมจะช่วยให้แฟรนไชส์ซีทำธุรกิจได้อย่างราบรื่น และสร้างผลตอบแทนตามคาดหวัง ที่สำคัญผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องมีเวลา แรงงาน และเงินทุน ทำตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์ได้ 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
   

อ้างอิงข้อมูล
 
 
หลายคนอาจไม่รู้ว่าจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันมีจำนวนราวๆ 640 กิจการ ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม อยากรู้หรือไม่ว่าทำไมใครๆ ถึงขายแฟรนไชส์กันมากขึ้น ทำไมไม่ขยายกิจการด้วยตัวเอง..
15months ago   1,079  5 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,324
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,489
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,246
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,228
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด