บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    คู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์
419
2 นาที
21 พฤษภาคม 2567
PL Law กฎหมายสำคัญ ผู้บริโภคต้องรู้! เจ้าของแฟรนไชส์ต้องทราบ


PL Law เป็นกฎหมายที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2552 แต่เชื่อเถอะว่าถึงตอนนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีกฏหมายแบบนี้อยู่ ต้องขออธิบายก่อนว่า PL Law (Product Liability Law) เป็นพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ที่มาที่ไปของกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นจากการที่ สคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับรถยนต์เป็นจำนวนมาก และมีปัญหาในทางปฏิบัติ เมื่อกฎหมายที่มีในตอนนั้น กำหนดให้การพิสูจน์ต่างๆ เป็นหน้าที่ของผู้ฟ้องร้องซึ่งก็คือผู้บริโภค

แน่นอนว่าผู้บริโภคจะเอาศักยภาพที่ไหนไปพิสูจน์เพราะสิ่งที่ควรรู้ หรือกระบวนการผลิตต่างๆ ถูกปิดกั้นจากผู้ผลิตทุกช่องทาง ทำให้เกิดความพยายามในการผลักดันให้เกิดกฎหมาย PL Law เพื่อความยุติธรรมมากขึ้น
 
 
และเมื่อกฎหมายนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา สินค้าที่ไม่ปลอดภัยก็ไม่ได้หมายถึงแค่รถยนต์เท่านั้น ซึ่งหากอ่านคำจำกัดความของคำว่า “สินค้าไม่ปลอดภัย” ในทางกฎหมายค่อนข้างจะวกวน สับสนและเข้าใจยาก เอาเป็นว่าเราสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “สินค้าไม่ปลอดภัย” ก็คือ สินค้าที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้าหรือผู้บริโภค

ซึ่งคำว่า “ความเสียหาย” ที่เกิดต่อผู้บริโภคนั้น ไม่ใช่จะเป็นความเสียหายในทุกๆ เรื่อง เนื่องจากกฎหมายได้กำหนด ต่อไปว่า ความเสียหายที่ผู้บริโภคจะฟ้องร้องผู้ผลิตสินค้าได้นั้น จะต้องเป็น “ความเสียหาย” ที่เกิดจากเหตุใดเหตุหนึ่ง ได้แก่ 
  1. เกิดจากความบกพร่องในการผลิตสินค้า 
  2. เกิดจากความบกพร่องในการออกแบบสินค้า 
  3. เกิดจากการที่ไม่ได้กำหนดไว้ในคู่มือการใช้งานสินค้า 
  4. เกิดจากการที่ไม่ได้แจ้งหรือกำหนดวิธีเก็บรักษาสินค้า 
  5. เกิดจากการที่ไม่ได้ให้คำเตือนเกี่ยวกับสินค้าหรือวิธีใช้ไว้ 
ถึงแม้ว่าจะกำหนดหรือแจ้งไว้หมดแต่ข้อความหรือข้อมูลที่กำหนดไว้ไม่ชัดเจนพอหรือไม่ชัดเจนตามสมควรเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ก็เป็นความผิดตามกฎหมายได้เช่นกัน
 
 
อธิบายมันเข้าใจยาก ลองดูตัวอย่างเช่น 
  • ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อนำมาใช้งานเกิดปัญหาเช่นสายไฟไหม้ ไฟรั่ว หม้อต้มน้ำมีแต่ควันพุ่งออกมา เป็นต้น
  • ซื้อเครื่องจักรมาจากตัวแทนนำเข้าเพื่อใช้งาน แต่พอใช้งานจริงเกิดใช้งานไม่ได้ ซึ่งมีระยะประกันชัดเจน
  • ซื้อสินค้าที่แพ็คหีบห่อมาอย่างดีตอนซื้อแกะดูไม่ได้แต่พอแกะออกมาปรากฏว่ามีการยัดไส้สินค้าด้านใน เป็นต้น
  • หรือแม้แต่ในเรื่องแฟรนไชส์ก็ต้องระวังเช่นกันเพราะกฎหมายนี้ควบคุมทุกธุรกิจ หากสินค้าหรือบริการจากแฟรนไชส์ใดก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้บริโภค ก็จะนำไปสู่การฟ้องร้องได้เช่นกัน
แต่ในทางกฎหมายเขาก็ให้ความยุติธรรมกับทางผู้ผลิตไว้เช่นกันไม่ใช้นึกจะฟ้องเอาค่าเสียหายแล้วจะดำเนินการได้ทันทีเพราะกว่าจะเข้าถึงส่วนของการฟ้องร้องดำเนินคดีจริง หลังจากผู้บริโภคเข้าไปร้องทุกข์ จะต้องผ่านอีกสองด่านคือ คณะกรรมการไกล่เกลี่ย ซึ่งถ้าไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ เรื่องก็จะส่งต่อไป หน่วยงานพิสูจน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่ตามพรบ.นี้ มีหน้าที่เป็นกลางในการพิสูจน์เพื่อยืนยันว่าสินค้านั้นมีความปลอดภัยหรือไม่
 
 
ทั้งนี้ PL Law เป็นกฏหมายที่ได้กำหนดอายุความฟ้องร้องไว้ไม่เกิน 3 ปีนับ ตั้งแต่เกิดความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด และไม่เกิน 10 ปีนับตั้งแต่มีการขายสินค้านั้น หมายถึงว่า หากเกิดความเสียหายขึ้นจะฟ้องได้ภายใน 3 ปีหลังเกิดความเสียหายและรู้ตัวผู้ผลิต ซึ่งหากไม่รู้ ก็มีเวลาหาตัวผู้รับผิดภายใน 10 ปีนับตั้งแต่ซื้อสินค้ามา
 
วิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ต้องมีปัญหาทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค คือการใส่ใจในสินค้าให้เกิดคุณภาพ เช่น ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสินค้าที่ซับซ้อนก็ควรมีคู่มือการใช้งานและข้อพึงระวังเขียนกำกับให้ชัดเจน และอย่าลืมว่าปัจจุบันโลกโซเชี่ยลมีอิทธิพลอย่างมาก สินค้าไหนดีไม่ดี สามารถแชร์และพูดถึงกันได้ในชั่วข้ามคืน คนทำธุรกิจยุคนี้จึงต้องมีความรู้รอบด้านเพื่อโอกาสในการทำธุรกิจที่เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
22,595
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
2,935
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,836
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,803
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,236
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,184
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด