บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    แฟรนไชส์ต่างประเทศ
990
2 นาที
2 สิงหาคม 2567
กาแฟจีน Cotti Coffee โตเร็วจัด! 2 ปี 7,000 สาขา
 

อีกหนึ่งแฟรนไชส์จากจีน Cotti Coffee แบรนด์ร้านกาแฟที่กำลังมาแรงทั่วโลก และกำลังบุกตลาดไทยอยู่ในตอนนี้ ขยายร้านไปแล้ว 8 แห่ง ถือเป็นแบรนด์กาแฟอันดับ 4 โลก มีสาขากว่า 7,000 แห่ง ใน 300 เมือง 28 ประเทศ เป็นรองเพียง Starbucks, Luckin Coffee และ Dunkin' ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของ Luckin Coffee แบรนด์กาแฟสัญชาติเดียวกัน
 
Cootti Coffee เปิดสาขาแรกในจีนเมื่อเดือน ต.ค.2022 ที่ฝูโจว โดยคุณ Lu Zhengyao และคุณ Qian Zhiya อดีตผู้บริหาร Luckin Coffee ซึ่งทั้ง 2 แบรนด์สัญชาติจีนมีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่คล้ายๆ กัน แต่ที่น่าสนใจ คือ Cootti Coffee เปิดมาได้แค่ 2 ปี มีสาขากว่า 7,000 สาขาทั่วโลก ส่วน Luckin Coffee มีสาขา 18,591 สาขา

ภาพจาก https://bit.ly/3WNPm2Y
 
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ Cotti Coffe ใช้เวลาเพียง 8 เดือน เปิดร้านได้ถึง 4,000 สาขา ส่วน Luckin Coffee ใช้เวลากว่า 2 ปี ถึงจะได้ 4,000 สาขา Cootti Coffee เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 เมืองกาตาร์ ในฐานะผู้สนับสนุนระดับโลกของฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ถือเป็นแบรนด์กาแฟน้องใหม่จากจีนที่เปิดตัวได้อย่างร้อนแรง 
 
Cotti Coffee ใช้กลยุทธ์อะไร ทำไมถึงเติบโตเร็ว เปิดตัวเพียง 2 ปี มีถึง 7,000 สาขาทั่วโลก มาดูกัน
 
1. ขายราคาถูก Cotti Coffee จัดโปรโมชั่นส่วนลด ขายกาแฟราคาถูกเพียง 8.8 หยวนต่อแก้ว จากปกติราคาอยู่ที่ 18-32 หยวน ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้มาก ทางด้าน Luckin Coffee เจ้าตลาดในจีน ก็ไม่ยอมเสียหน้า ออกคูปองส่วนลด 9.9 หยวน ดึงดูดลูกค้าไม่ให้เปลี่ยนใจไปซื้อกาแฟแบรนด์น้องใหม่อย่าง Cotti Coffee
 

ภาพจาก www.cotti.com
 
2. Cotti Coffee เลือกทำเลเปิดร้านใกล้กับ Luckin Coffee เพื่อลูกค้าจะได้มีทางเลือก เหมือนเป็นการท้าชน Luckin Coffee ให้ลูกค้าเลือกเลยว่าจะเข้าร้านไหน ใครราคาถูกกว่ากัน รสชาติของ Cotti Coffee ยังเหมือนกับ Luckin Coffee 
 
คู่มือการลงทุนของ Cotti Coffee ระบุมูลค่าราคาของรายได้ต่อแก้วตั้งไว้ที่ 16 หยวน และยอดขาย 400 ถ้วยต่อวันคือเส้นกำไร มาตรงนี้ราคาที่ขายต่อแก้วในปัจจุบัน 9.9 หยวนคือการฆ่าคู่แข่งและทำร้ายตัวเอง ไม่ต้องพูดถึงสตาร์บัคส์ที่ตั้งราคาไว้ราคาประมาณ 30 หยวนต่อแก้ว ถือว่าเป็นกลยุทธ์นี่เรียกว่าตัดราคากันชัดๆ


ภาพจาก www.cotti.com
 
3. Cotti Coffee จัดโปรโมชั่นให้ลูกค้าสั่งซื้อล่วงหน้าผ่านมือถือ ช่วยให้การจัดการเวลาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลูกค้ายังสามารถเลือกขนาดแก้วและปรับแต่งรสชาติเครื่องดื่มของตนเองได้ตามชอบ  
 
4. Cotti Coffee จัดทำ Economies of scale ประหยัดต่อขนาด ขยายร้านให้ได้มากๆ โดยใช้โมเดลแฟรนไชส์ ทำให้แบรนด์สามารถสั่งซื้อวัตถุดิบได้ทีละมากๆ และทำให้ต้นทุนต่อหน่วยราคาถูก คือ มีอำนาจต่อรองซัพพลายเออร์ได้ 
 

ภาพจาก www.cotti.com
 
การขายแฟรนไชส์ของ Cotti Coffee ในจีนค่อนข้างต่ำ ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 240,000 หยวน หรือ 1.2 ล้านบาท ที่สำคัญสาขาส่วนใหญ่ประมาณ 70% มีขนาดเล็กประมาณ 40 ตารางเมตร ไม่มีที่นั่งและให้บริการซื้อไปทานข้างนอก หรือสั่งออนไลน์แล้วแวะมารับ ที่เหลือเป็นร้านขนาด 80-200 ตารางเมตร มีที่นั่ง ให้บริการเครื่องดื่มพร้อมอาหารคาวหวาน
 
การเติบโตที่รวดเร็วของ Cotti Coffee อีกอย่างคือการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ โดยเริ่มขยายสาขาในต่างประเทศในปี 2023 ครอบคลุมตลาดในอาเซียน เอเชียตะวันออก อเมริกาเหนือ ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย กว่า 28 ประเทศ 
 

ภาพจาก www.cotti.com
 
สำหรับในประเทศไทย Cotti Coffee เปิดสาขาแล้วทั้งหมด 8 สาขา คือ สามย่านมิตรทาวน์ , สีลมคอมเพล็กซ์, เซ็นทรัลเวิลด์, เทอร์มินอล 21 พระราม 3, ทรูดิจิทัล พาร์ค, เดอะมอลล์บางกะปิ (อยู่ระหว่างปรับปรุง), เดอะมอลล์บางแค (อยู่ระหว่างปรับปรุง), แฟชั่นไอส์แลนด์ ราคาจำหน่ายกาแฟเริ่มต้น 55 บาท 
 
จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์การทำธุรกิจต่างๆ ของแบรนด์จีน คือ ราคาถูกและขายแฟรนไชส์ เพื่อให้มีสาขาจำนวนมาก ธุรกิจจะได้เติบโตอย่างรวดเร็ว และเมื่อมีสาขาจำนวนมากจะได้ซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ราคาถูก ทำให้แบรนด์จีนหลายๆ แบรนด์ขายสินค้าได้ถูกกว่าคู่แข่ง เหมือนกรณีแฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากจีนที่กำลังห้ำหั่นกันในไทยตอนนี้  
 
อ้างอิง 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise