บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    การจดทะเบียนแฟรนไชส์ เครื่องหมายการค้า
283
2 นาที
3 กันยายน 2567
เครื่องหมายการค้า “เหมือนแค่ไหน” ถึงเรียกว่า “ละเมิดสิทธิ์”
 

การเริ่มทำธุรกิจสิ่งสำคัญอันดับแรกคือ "เครื่องหมายการค้า" เพื่อใช้เป็นตราสินค้าและเพื่อให้เป็นที่จดจำของผู้ใช้สินค้า และต้องแน่ใจก่อนว่าเครื่องหมายการค้าที่จะใช้นั้นชื่อและรูปภาพจะไม่ไปเหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นที่ยื่นจดทะเบียนแล้ว 
 
แต่คำถามก็คือในยุคนี้ที่มีการแข่งขันกันสูงเหลือเกิน แถมมีธุรกิจเกิดขึ้นใหม่มากมายเราจะรู้ได้ยังไงว่าเครื่องหมายการค้าที่เราจดไปนั้นจะไปเหมือนหรือคล้ายคนอื่นไหม และ "เหมือนแค่ไหน" ถึงเรียกว่า "ละเมิดสิทธิ์"
 
ถ้าไปดูพรบ.เครื่องหมายการค้าปี 2565 นิยามคำว่า เหมือน หมายถึง เครื่องหมายที่มีลักษณะตรงกัน ส่วนคำว่า คล้าย หมายถึง เครื่องหมายมีความใกล้เคียงกันจนอาจทำให้สาธารณะชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า โดยจะพิจารณาจากภาพรวมของเครื่องหมาย สำเนียงเสียงเรียกขาน และรายการสินค้าทุกองค์ประกอบรวมกัน ว่ามีความคล้ายคลึงมากแค่ไหน 
 

ภาพจาก https://elements.envato.com
 
และตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109 บัญญัติว่า บุคคลใดเลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
ซึ่งในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าแบบไหนที่ "ละเมิดสิทธิ์" มีหลักเกณฑ์ 3 ข้อคือ
  1. เป็นคำที่พ้องเสียงกัน เช่น nike - nikee - nikea 
  2. เป็นคำที่พ้องรูปกัน เช่น Malee Meela ที่อาจเขียนอักษรคล้ายๆกัน
  3. เป็นธุรกิจในกลุ่มเดียวกันหรือคล้ายกัน
นอกจากนี้ยังมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโดยดูจากสาระสำคัญของเครื่องหมาย กลุ่มผู้ใช้สินค้า และรายการสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียน เพื่อนำมาประกอบในการพิจารณาว่าเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายที่ได้ยื่นจดทะเบียนในระบบแล้วหรือไม่
 
โดยปกติ พรบ.เครื่องหมายการค้าจะให้สิทธิผู้ที่ยื่นขอจดทะเบียนก่อน ตามหลัก First to file เมื่อเครื่องหมายนั้นรับจดทะเบียนแล้วจะได้รับการคุ้มครองตั้งแต่วันแรกที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียน เมื่อมีเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันมาขอยื่นจดทะเบียน นายทะเบียนจะสั่งปฏิเสธรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มาเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายที่ได้รับจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว

ภาพจาก https://bit.ly/3Mr5MbI
 
ทั้งนี้มีกรณีตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเป็นเคสของ Cafe’ Amazon แบรนด์ร้านกาแฟชื่อดังที่นอกจากมีสาขาในประเทศยังมีการขยายสาขาไปต่างประเทศด้วย ซึ่งมีรายงานข่าวว่ามีร้านหนึ่งในกัมพูชาตั้งชื่อร้านว่า Café Amazing และมีรูปแบบร้านที่เหมือนกับ Cafe’ Amazon อย่างมากต่างกันเพียงแค่ชื่อร้านเท่านั้น แน่นอนว่าเรื่องนี้ทาง Café Amazon ได้ให้ฝ่ายกฎหมายรวบรวมหลักฐาน เพื่อยื่นฟ้องร้องร้านกาแฟดังกล่าวด้วย  
 
ภาพจาก https://bit.ly/3XvdGXX
 
รวมถึงอีกเคสที่น่าสนใจเกิดเมื่อปี 2556 ระหว่าง“สตาร์บัง Vs สตาร์บัคส์” โดยเจ้าของร้านกาแฟระดับโลก “สตาร์บัคส์” ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ฟ้องกาแฟรถเข็น “สตาร์บัง” ในข้อหาเลียนแบบเครื่องหมายการค้า 
 
เคล็ดลับน่ารู้!
 
ชื่อแบรนด์สามารถใช้เหมือนกันได้ เนื่องจากชื่อแบรนด์ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ แต่ส่วนใหญ่ก็แก้ปัญหาด้วยการจดชื่อแบรนด์ร่วมกับเครื่องหมายการค้า ทำให้มีสิทธิ์ในชื่อและโลโก้อย่างสมบูรณ์แบบ และสามารถเอาผิดกับคนลอกเลียนแบบทั้งโลโก้ ตัวสะกดแม้แต่การออกเสียงชื่อแบรนด์คล้าย ๆ กันได้
 
อย่างไรก็ดีชื่อแบรนด์ที่เหมือนกันแม้จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ในกลุ่มสินค้าอื่นก็สามารถจดทะเบียนในชื่อเดียวกันได้ ถ้ากลุ่มสินค้านั้นยังไม่มีผู้ขอจดทะเบียนการค้ามาก่อน

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
รวม 15 แฟรนไชส์ชานมไข่มุก อร่อยจุก รวยกระจาย ส่ง..
7,150
ซื้อแฟรนไชส์ Mixue วันนี้ คืนทุนเมื่อไหร่?
2,418
รวม 7 โปรซื้อแฟรนไชส์ แบบได้เปรียบ!
1,708
5 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนสิงหาคม 2567
1,411
MINKKI แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาแบรนด์ไทย ขาย 15 บาท ..
1,214
ซื้อแฟรนไชส์ WEDRINK วันนี้ คืนทุนเมื่อไหร่?
1,188
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด