บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    สุดยอดแฟรนไชส์
493
3 นาที
24 ธันวาคม 2567
สรุปภาพรวมแฟรนไชส์ไทย ไปต่อหรือพอแค่นี้ ปี 68
 

อีกไม่กี่วันก็จะผ่านพ้นปี 2567 เริ่มต้นปี 2568 นับเป็นปีที่น่าจับตามองอย่างมากสำหรับตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย หลังจากในปี 2566 ธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลกมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด สร้างรายได้มากกว่า 4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยเติบโตเนื่องมีมูลค่าการตลาดกว่า 3 แสนล้านบาท 
 
ปี 2568 มีแฟรนไชส์อะไรมีโอกาสเติบโต น่าสนใจบ้าง และมีแฟรนไชส์อะไรยังไปต่อได้เรื่อยๆ มีปิดกิจการ แต่ก็มีเปิดใหม่ และแฟรนไชส์อะไรน่าเป็นหวง มีโอกาสไปต่อได้ยากมาก มาดูกัน 
 
สถิติธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย ปี 2567 
  • จำนวนธุรกิจในไทยราวๆ 661 กิจการ 
  • จำนวนสาขา 166,381 แห่ง
แบ่งออกเป็น
  1. อาหาร และเบเกอรี่ 217 กิจการ สัดส่วน 32.83% 
  2. เครื่องดื่ม และไอศกรีม 168 กิจการ สัดส่วน 25.42%
  3. การศึกษา 105 กิจการ สัดส่วน 15.89%
  4. บริการ และงานพิมพ์ สัดส่วน 76 กิจการ สัดส่วน 11.5%
  5. อสังหาริมทรัพย์ และค้าปลีก 48 กิจการ สัดส่วน 7.26%
  6. ธุรกิจการแพทย์ 25 กิจการ สัดส่วน 3.78%
  7. โอกาสทางธุรกิจ 22 กิจการ สัดส่วน 3.33% 
    • ธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 18% ต่อปี 
    • สถิติจำนวนคนสนใจและขอข้อมูลแฟรนไชส์ในไทย 349,390 ราย

ประเทศที่ธุรกิจแฟรนไชส์มากที่สุดในโลก
  • เกาหลีใต้ 4,800 แบรนด์
  • อินเดีย 3,922 แบรนด์
  • สหรัฐอเมริกา 3,400 แบรนด์
  • ไต้หวัน 3,300 แบรนด์
  • บราซิล 3,000 แบรนด์
  • ฟิลิปปินส์ 2,000 แบรนด์
  • มาเลเซีย 900 แบรนด์
  • ไทย 655 แบรนด์ 
เทรนด์และแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย ปี 2568
 
จากพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย
 
มาวิเคราะห์ไปด้วยกันว่าแฟรนไชส์กลุ่มไหนมีโอกาสเติบโตและน่าสนใจ แฟรนไชส์กลุ่มไหนยังทรงๆ ตัว ยังไปต่อได้เรื่อยๆ และแฟรนไชส์กลุ่มไหนน่าเป็นห่วง มีโอกาสไปต่อไปม่ได้มากที่สุด ในปี 2568

1. แฟรนไชส์มีโอกาสเติบโต น่าสนใจ 
 

ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจด้านสุขภาพและการแพทย์ เพราะประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ มีประชากรผู้สูงอายุมากกว่า 20% ของประชากรรวม ทำให้ธุรกิจที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วย มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น 
 
ไม่ว่าจะเป็นสถานบริการที่ครบวงจรทั้งด้านการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย คลินิกรักษาอาการป่วย ตลอดจนศูนย์บริการด้านการดูแลผิวพรรณความงามเพื่อความอ่อนวัย ซึ่งในปี 2567 มีหลายๆ ธุรกิจได้เปิดให้ผู้สนใจลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์กันแล้ว ยกตัวอย่าง 

#แฟรนไชส์สถานดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วย มีหลายแบรนด์
 
  1. ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โฮมแคร์ภิบาล (Home Care Piban) แฟรนไชส์ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มุ่งเน้นใส่ใจผู้สูงวัย มีบริการที่ครบวงจรทั้งด้านการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพ ในบรรยากาศที่อบอุ่นและปลอดภัย โดยยึดมั่นในคุณภาพและมาตรฐานการดูแลระดับสูง 
  2. คลินิกกายภาพ เฌ้อสเชอรี่ โฮม (Chersery Home Rehabilitation Clinic) แฟรนไชส์คลินิกกายภาพบำบัด ให้บริการหลากหลาย เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บ ปัญหากล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น ทั้งผู้ป่วยจากการเล่นกีฬา ผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง การออกกำลังกายบำบัด มีการรักษาทั้งด้วยมือ รักษาด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย การฝึกการเดินและการทรงตัว สามารถรองรับผู้ป่วยได้หลายระดับ ยังมีบริการผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่บ้านอีกด้วย 
  3. แฮปปี้โฮม ซีเนียร์ เนิร์สซิ่ง โฮม (Happy Home Senior Nursing Home) แฟรนไชส์ดูแลผู้สูงอายุที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจ ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยทั่วประเทศให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีบริการที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกความต้องการ 
#แฟรนไชส์ศูนย์บริการความงาม สปา ก็มีเปิดให้ผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ไปแล้ว 


ภาพจาก เดอร์มิเนต 

1. ศูนย์รักษาสิว เดอร์มิเนต (DERMINET ACNE CENTER) แฟรนไชส์ความงามเกี่ยวกับการรักษาสิว เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2547 (มากกว่า 20 ปี) ให้บริการด้านดูแลผิวพรรณความงามให้ค่าปรึกษาสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิว "มีความเชี่ยวชาญในการรักษาปัญหาสิว" ขยายสาขาไปแล้วกว่า 20 สาขาทั้งในและต่างประเทศ 
 
อีกหนึ่งธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตและน่าสนใจ ก็คือ แฟรนไชส์บริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงของคนรุ่นใหม่ในช่วงปี 2567 ทำให้ตลาดเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเป็นอีกกลุ่มที่น่าสนใจไม่น้อย 
 
คาดว่าจะมีแนวโน้มเติบเพิ่มขึ้นในปี 2568 ไม่ว่าจะเป็นสินค้าสำหรับสัตว์ทุกชนิด ทั้งเสื้อผ้า อาหาร ของใช้ ของเล่น รวมไปถึงสถานบริการรับดูแลสัตว์เลี้ยง อาบน้ำ ตัดขน ฝากเลี้ยง ตลอดจนสถานฝึกพฤติกรรมและความสามารถของสัตว์ 
 
สุดท้ายแฟรนไชส์ที่มีโอกาสเติบโตและน่าสนใจ จากการวิเคราะห์และเห็นการเติบโตในช่วงปี 2567 ก็คือ อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ช่วงหลังมานี้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ทำให้แฟรนไชส์อาหารสุขภาพและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น ร้านสลัด ร้านน้ำผลไม้ปั่น ชาผลไม้ น้ำเต้าหู้ ร้านอาหารมังสวิรัติ และร้านอาหารที่เน้นวัตถุดิบออร์แกนิก โดยเฉพาะร้านในรูปแบบ Fast-Casual Dining ที่เน้นคุณภาพและความสะดวกรวดเร็ว 

2. แฟรนไชส์ที่ยังทรงๆ ตัว ไปต่อได้เรื่อยๆ
 

ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ยังอยู่ในความสนใจ คนต้องกินต้องใช้ มีขึ้นมีลง มีปิดกิจการไป แต่ก็มีเปิดใหม่ทดแทนเรื่อยๆ ธุรกิจพวกนี้ถ้าจะอยู่ต่อต้องมีการปรับรูปแบบธุรกิจให้คล่องตัว มีสินค้าบริการใหม่ๆ ตอบโจทย์ผู้บริโภค สามารถเปิดได้หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น
  • แฟรนไชส์อาหาร และ เบเกอรี่ ยังไปต่อได้เรื่อยๆ คนยังต้องกินต้องใช้ แต่อาจจะมีการปรับรูปแบบเพื่อให้อยู่รอด เช่น เพิ่มสินค้าและบริการใหม่ๆ ปรับขนาดร้านให้เล็กลง เปิดได้หลายพื้นที่ ใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก กินง่าย ขายง่าย ทำง่าย 
  • แฟรนไชส์เครื่องดื่มและไอศกรีม ยังไปต่อได้อีกในปี 2568 นับตั้งแต่แบรนด์จีนอย่าง MIXUE บุกตีตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 สร้างกระแสให้วงการได้อย่างมาก จากนั้นก็มีอีกหลายแบรนด์ทั้งจากจีน อินโด ดาหน้าบุกไทยไม่ยั้ง คาดว่ายังเหลืออีก 2-3 แบรนด์จากจีนเตรียมเข้ามาในไทย 

ส่วนพวกเครื่องดื่มชา กาแฟ ถ้าเป็นแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ๆ มีระบบที่แข็งแกร่งอย่าง คาเฟ่ อเมซอน กาแฟพันธุ์ไทย อินทนิล และอีกหลายแบรนด์ยังไปต่อได้ ยังไม่นับแบรนด์กาแฟในร้านสะดวกซื้อที่ยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง 
  • แฟรนไชส์ค้าปลีก จำพวกร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ยังไปต่อได้ ปัจจุบันมีถึง 15,053 สาขา ซีพีออลล์ยังตั้งเป้าเปิดสาขาใหม่เพิ่มอีกปีละ 700 สาขา นอกจากนี้ยังไม่มีพวกร้านขายยาต่างๆ เช่น เอ็กซ์ต้า พลัส ที่เปิดในเซเว่นอีเลฟเว่น และอีกหลายๆ แบรนด์ร้านยาชื่อดัง
  • แฟรนไชส์บริการ จำพวกร้านสะดวกซักยังขยายตัวได้อีก เป็นธุรกิจแบบเสือนอนกิน ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายในยุคนี้ เห็นว่าดูเงียบๆ แต่ไปได้เรื่อยๆ ตามทำเลที่พักอาศัย
อีกธุรกิจบริการที่ยังทรงๆ แต่ไปต่อได้ ก็คือ แฟรนไชส์คาร์แคร์ ศูนย์บริการล้างรถอัตโนมัติ ธุรกิจเหล่านี้มักจะเติบโตตามจำนวนรถยนต์และปริมาณการใช้รถของผู้บริโภค 

3. แฟรนไชส์น่าเป็นห่วง ความต้องการลดลง 
 

ธุรกิจกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เช่น ร้านหมูกระทะ หมาล่า ชาบู สาเหตุหนึ่งมาจากเป็นอาหารที่คนไทยไม่สามารถกินได้ทุกวัน นานๆ ทีจะกินครั้งหนึ่ง ที่สำคัญต้นทุนร้านอาหารเหล่านี้ค่อนข้างสูง ถ้าบริหารจัดการไม่ดีก็รอวันเจ๊งอย่างเดียว 
 
อีกหนึ่งธุรกิจที่น่าเป็นห่วง คือ แฟรนไชส์ขนส่งพัสดุ จำพวกจุดให้บริการ Drop off พัสดุและสินค้า ช่วงหลังๆ มานี้สังเกตหรือไม่ว่า จะเหลือไม่กี่ราย เพราะผู้ลงทุนแไม่สามารถแข่งขันได้ ไม่พอยังโดนทางแบรนด์เอาเปรียบสารพัด โดยเฉพาะการออกโปรโมชั่นแข่ง ทำให้ผู้ลงทุนแทบไม่มีรายได้เลย
 
สุดท้ายธุรกิจที่น่าเป็นห่วงในปี 2568 คือ แฟรนไชส์โชห่วย ยิ่งหลังจากเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกออนไลน์ กรณีผู้เสียหายนับ 100 ราย ร้องเรียนต่อดีเอสไอ อ้างถูก "ร้านโชห่วยชื่อดัง" หลอกลงทุนเปิดร้านโชห่วยสมัยใหม่ จนกระทั่ง บริษัท ทีดี ตะวันแดง เจ้าของแฟรนไชส์ "ร้านถูกดี มีมาตรฐาน" ออกแถลงโต้ จึงอาจทำให้ไม่มีใครกล้าลงทุนแฟรนไชส์อีกต่อไป 
 
ปัญหาและความท้าทายแฟรนไชส์ไทย
 
ในปี 2568 คาดว่าธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายสำคัญ เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ ต้นทุนวัตถุดิบสูง การแข่งขันในตลาดสูง ตลอดจนการขาดประสบการณ์ของแฟรนไชส์ซอร์ มาตรฐานของแบรนด์ 
 
ดังนั้น ผู้ที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งผู้ซื้อ-ผู้ขาย ควรที่จะศึกษาหาความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ และเพิ่มโอกาสในการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน 
 
แหล่งข้อมูล 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
5 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤศจิกายน 25..
2,197
ลงทุนไหนดี! 10 แฟรนไชส์กาแฟ ซื้อแล้วกำไร ลูกค้าไ..
894
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เฟรนช์ฟรายส์ราดซอสชีส+เครื่องดื..
848
มาจิเมะ “ตัวบอสแห่งวงการชานม” ลงทุนน้อย! ยอดขายด..
753
รวม 15 แฟรนไชส์ Gen ไหน เหมาะลงทุนแบรนด์ไหน
703
มัดรวม 17 แฟรนไชส์ซื้อโดยเสน่หา! ลงทุนหน้าบ้าน
670
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด