บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    แฟรนไชส์ยอดนิยม
286
3 นาที
8 มกราคม 2568
Chester's ฟาสต์ฟู้ดไทย ทำไมอยู่มาได้ถึง 37 ปี ท่ามกลางฟาสต์ฟู้ดต่างชาติในไทย
 

ถ้าพูดถึงร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด หรือร้านอาหารบริการด่วน (Quick Service Restaurant : QSR) ในไทย เชื่อว่าหลายคนคงนึกไปถึงแต่แบรนด์ดังๆ จากต่างประเทศอย่าง เคเอฟซี แมคโดนัลด์ เบอร์เกอร์คิง ซับเวย์ พิซซ่าฮัท แต่รู้หรือไม่ว่าในไทยก็มีแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดไก่สัญชาติไทยแท้ๆ เหมือนกัน ซึ่งอาจเป็นแบรนด์ที่หลายคนคิดว่ามาจากต่างประเทศด้วยซ้ำไป 
 
แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดไทยที่พูดถึงก็คือ Chester's ร้านฟาสต์ฟู้ดไก่ย่างในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ที่ได้รับความนิยมมานานกว่า 37 ปี มีเมนูไก่ย่างเป็นตัวชูโรง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รสชาติอร่อย เนื้อไก่ที่นุ่มชุ่มฉ่ำจากการย่างที่พิถีพิถัน 
 
ปัจจุบันมีกว่า 200 สาขา เป็นร้านของบริษัทฯ 100 สาขา แฟรนไชส์ 100 สาขา เป็นอีกแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดไทยที่มาชิงส่วนแบ่งตลาดมูลค่ากว่า 45,000 ล้านบาท ทั้งไก่ทอด เบอร์เกอร์ พิซซ่า “ไก่” เซ็กเมนต์ใหญ่สุดมูลค่ากว่า 18,000 – 20,000 ล้านบาท
 
ตลาดฟาสต์ฟู้ดในไทยยังมีการแบ่ง Target Group เหมือนๆ กัน ทำให้แข่งขันกันดุเดือด คือ วัยรุ่น คนทำงาน กลุ่มครอบครัว ราคามีตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักร้อยบาท เมนหลักๆ ของแต่ละแบรนด์จะโฟกัสต่างกัน อย่างเคเอฟซี ชัดเจนเรื่องไก่ทอด แมคโดนัลด์กับเบอร์เกอร์คิงก็เป็นเบอร์เกอร์ ซับเวย์แซนด์วิช พิซซ่าฮัทก็เป็นพิซซ่า ส่วน Chester's มาทางด้านไก่ย่าง เมนูข้าว 
 
อยากรู้หรือไม่ว่า ทำไมแฟรนไชส์ไก่ย่าง Chester's อยู่มาได้นานกว่า 37 ปี ท่ามกลางสมรภูมิร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างชาติดาหน้าเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดในไทย มาวิเคราะห์พร้อมๆ กัน 

จุดเริ่มต้น Chester's 
 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2530 เริ่มจะมีแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดต่างชาติอย่าง เคเอฟซี และแมคโดนัลด์ เข้ามาเปิดตลาดในไทย “เจ้าสัวธนินทร์ เจียรวนนท์” มองว่าตลาดอาหารในไทยเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตได้ต่อเนื่อง เลยอยากสร้างแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดของคนไทยที่มีคุณภาพมาตรฐานเหมือนเมืองนอก ในสุดก็เปิดร้านชื่อ Chester’s Grill Chicken สาขาแรกที่ห้างมาบุญครองเมื่อปี 2531
 
ร้าน Chester’s Grill Chicken อยู่ในนามบริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารของไทยส่งออกไปทั่วโลก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อร้านเป็น Chester's Grill ในปี 2534 และเป็น Chester's ในปี 2556
 
ตอนแรกๆ ร้านฟาสต์ฟู้ดส่วนใหญ่จะขายไก่ทอดเป็นหลัก คุณธนินทร์ก็เลยทำร้าน Chester’s Grill ขายเมนูไก่ย่างให้แตกต่างจากร้านฟาสต์ฟู้ดอื่น ที่สำคัญก็คือ Chester’s Grill นำเมนูข้าวมาขายด้วย เมนูแรกๆ คือ ข้าวอบไก่ย่างและข้าวคาราเกะราดซอสหวาน และเปิดตัวเมนูข้าวต่างๆ อีกหลายเมนูจนถึงปัจจุบัน ขายทั้งในไทยและต่างประเทศ อย่างลาวและพม่าอีกด้วย 
 
จุดเด่นของเมนูข้าวในร้าน Chester’s นอกจากจะมีซอสหวานให้ราดข้าว ยังมีน้ำปลาพริกกระเทียมอีกด้วย จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของร้าน Chester’s จนถึงขั้นลูกค้าหลายๆ คนไป Chester’s เพื่อที่จะกินน้ำปลาพริกกระเทียมเท่านั้น บางคน complain อยากให้ทางร้านทำน้ำพริกกระเทียมขายด้วยซ้ำ 
 
กลุ่มลูกค้าหลักของ Chester’s ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนวันทำงาน 40% ครอบครัว 30% และอีก 30% ที่เหลือคือกลุ่มวัยรุ่น 
 
นับตั้งแต่เปิดสาขาแรก Chester’s ได้การตอบรับอย่างดีจากลูกค้า จนในปี 2537 ได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาลงทุนแฟรนไชส์ ทำให้ขยายสาขาได้เร็ว ทำเลอยู่ตามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ปั๊มน้ำมัน ปัจจุบันมีมากกว่า 200 สาขาทั่วประเทศ  

กลยุทธ์ Chester’s ทำให้อยู่มาได้นานกว่า 37 ปี 
 

1. ไม่ค่อยมีใครทำแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดไก่ย่างขึ้นห้าง ส่วนใหญ่ที่เห็นในปัจจุบันจะเป็นร้านฟาสต์ฟู้ดต่างชาติในกลุ่มของไก่ทอดและเบอร์เกอร์ อย่างเคเอฟซี แมคโดนัลด์ เบอร์เกอร์คิง แต่ละแบรนด์จะโฟกัสเมนูที่ต่างจาก Chester’s จับลูกค้าคนละกลุ่ม 

2. ทำเมนูหลากหลาย รสชาติอร่อยถูกปากคนไทย ในฐานะแบรนด์ไทยทำให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยได้ดี นำเสนอเมนูไก่ย่างเป็นหลัก ทำให้เชสเตอร์แตกต่างจากแบรนด์อื่นที่ขายไก่ทอด ต่อมาได้ขาย “เมนูข้าวอบไก่ย่าง” ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย และพบว่าคนไทยชอบรสเผ็ด จึงได้ออกเมนูข้าวไก่เผ็ดเชสเตอร์ ทำให้กลุ่มเมนูข้าวขายดีกว่าไก่ย่าง
 
ปัจจุบัน Chester’s มีเมนูรวมมากกว่า 30 - 40 เมนู ทั้งเมนูประจำ เมนูตามฤดูกาล ครอบคลุมตั้งแต่ไก่ย่าง, เมนูข้าว, เบอร์เกอร์ – ฮอทดอท, สปาเก็ตตี้, เมนูทานเล่น เช่น ปีกไก่นิวออร์ลีนส์, ชิกเก้นฟิงเกอร์, นักเก็ตไก่, ฟิชนักเก็ต, ยำไทยไก่ย่าง 
 

3. รักษาฐานลูกค้าเก่า สร้างฐสานลูกค้าใหม่ ฐานลูกค้าหลัก Chester’s เป็นกลุ่มวัยทำงานสัดส่วน 40% และกลุ่มครอบครัว 30% ทำให้ Chester’s ต้องสร้างฐานลูกค้าใหม่ คือ กลุ่มวัยรุ่นที่มีสัดส่วนถึง 30% โดยสร้างภาพลักษณ์ให้ร้าน Chester’s มีความทันสมัยขึ้น หรือ Modernization ทำการตลาดทุกแพลตฟอร์มให้เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่น 

4. Chester’s มีการตั้งศูนย์ Restaurant Support Center (RSC) เป็นศูนย์กลางแห่งคุณภาพและมาตรฐานของร้าน Chester’s ทั่วประเทศ ภายในจะมีศูนย์ R&D ระดับสากล เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ทันสมัยและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อตรวจสอบและยกระดับมาตรฐานคุณภาพ รวมถึงคิดค้นสูตรอาหารใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และมีศูนย์ฝึกอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติแก่พนักงานในร้าน ตั้งแต่การจัดเตรียมสินค้า การให้บริการ ตลอดจนการดูแลร้านในทุกๆ ด้าน 

5. Chester’s เป็นแฟรนไชส์ร้านอาหารในเครือซีพี ทำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่ “Feed – Farm – Food” ธุรกิจอาหารสัตว์, ธุรกิจเลี้ยงสัตว์ และ ธุรกิจอาหาร ถือเป็นธุรกิจปลายน้ำที่เข้าถึงผู้บริโภค
 
เท่ากับว่า Chester’s ได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยเฉพาะ “วัตถุดิบ” เป็นหัวใจร้านอาหารที่มีหลายสาขา มีความพร้อมเงินทุน เทคโนโลยี บุคลากร ความสามารถในการพัฒนาสินค้าและบริการ การขยายช่องทางขาย ทั้งหน้านร้าน และ Delivery

 

6. ทำโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดึงดูดและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในบางช่วงได้เป็นอย่างดี 

7. ขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ ช่วยให้ Chester’s ขยายสาขาได้เร็วและมีเครือข่ายแฟรนไชส์ที่แข็งแกร่ง มีรูปแบบการลงทุนดังนี้ 
  • รูปแบบร้าน Restaurant
  • ขนาดพื้นที่* 100 -120 ตารางเมตร 
  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า* (ก่อนVat) 700,000 บาท
  • Royalty Fee 4% ของยอดขาย 
  • Marketing Fee 3% ของยอดขาย 
  • งบลงทุน 6 ล้านบาท 
  • ระยะสัญญาแฟรนไชส์ 10 ปี 
 

#สนใจร่วมธุรกิจแฟรนไชส์ ร้านเชสเตอร์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่
  • คุณกัณฑพัชร์ เชิดเพ็ชรัตน์ (ผู้จัดการสำนักพัฒนาธุรกิจ)
    • โทร. 02-641-0377, Email : kantapat.che@gmail.com
  • คุณพิมพ์นารา บุญราช (ผู้จัดการฝ่ายแฟรนไชส์สัมพันธ์) 
    • โทร. 02-641-0461, 091-9544265, Email : pimnara.b@cpf.co.th 
ส่วนรายได้ของ Chester’s ภายใต้การบริหารของ บริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด
  • ปี 2564 รายได้ 1,246 ล้านบาท ขาดทุน 14 ล้านบาท 
  • ปี 2565 รายได้ 1,565 ล้านบาท กำไร 51.9 ล้านบาท
  • ปี 2566 รายได้ 1,604 ล้านบาท กำไร 51.4 ล้านบาท 
 

จะเห็นได้ว่ารายได้ของ Chester’s ในปี 2564 มีผลกำไรขาดทุนถึง 14 ล้านบาท แต่ยังรอดกลับมาได้ พอมาในปี 2565-2566 พลิกกลับมาทำกำไรได้ โดยในปี 2565 กำไร 51.9 ล้านบาท ปี 2566 กำไร 51.4 ล้านบาท 
 
ถ้าเปรียบเทียบแฟรนไชส์ไก่ย่าง Chester’s ของไทย ก็เหมือนกับแฟรนไชส์ไก่ทอด Jollibee ของประเทศฟิลิปปินส์ ที่อยู่รอดและแข่งขันกับแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดจากต่างประเทศได้ แต่ Chester’s ยังไม่สามารถขยายตลาดในต่างประเทศได้เหมือน Jollibee แต่ในฐานะแฟรนไชส์แบรนด์ท้องถิ่นเหมือนกัน ทำให้เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าคนไทยได้ดีกว่าฟาสต์ฟู้ดต่างชาติ 
 
แหล่งข้อมูล 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 เชสเตอร์
เชสเตอร์ เป็นที่รู้จักชื่นชอบด้วยเอกลักษณ์ของเมนูไก่ย่าง เลิศรส ความหลากหลายของรายการอาหารที่คัดสรรอย่างพิถีพิถัน รวมถึงความโดดเ...
ค่าแฟรนไชส์ 700,000 บาท
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
มัดรวม 70 แฟรนไชส์ โกยรายได้ก่อนใครต้อนรับปี 68
1,797
5 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนธันวาคม 2567
695
สรุปภาพรวมแฟรนไชส์ไทย ไปต่อหรือพอแค่นี้ ปี 68
625
8 ขั้นตอน สร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีระบบ
613
ทำไม ต้องเตรียมเงินถึง 15 ล้านบาท เพื่อเปิดแฟรนไ..
531
มัดรวม 5 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ บุกไทย ไปต่อ..
511
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด