บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
3.7K
2 นาที
19 พฤษภาคม 2558
สภาวะตลาดภายในประเทศ และพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศกัมพูชา

1) สภาพธุรกิจ

กัมพูชาเป็นประเทศยากจน ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม กัมพูชานับเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี 2552 ซึ่งทำให้อัตราการเติบโตเหลือเพียงร้อยละ 2.5 แต่ก็สามารถฟื้นตัวโดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างร้อยละ 6-7 ในช่วงปี 2553-2555 โดยอุตสาหกรรมสำคัญต่อเศรษฐกิจของกัมพูชาได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ การท่องเที่ยว และการก่อสร้าง

เนื่องจากความแตกต่างด้านรายได้ระหว่างเมืองและชนบทของกัมพูชามีอยู่มาก ประชากรส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ในชนบทมีรายได้ต่ำ ทำให้ระดับราคาสินค้าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการตัดสินใจบริโภคเป็นอย่างมาก

สินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นแฟรนไชส์จากต่างประเทศถูกมองว่ามีราคาสูงและเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ในขณะที่ชาวกัมพูชาในเมืองหลวงและเมืองท่องเที่ยวสำคัญมีโอกาสในการหารายได้มากกว่า มีความต้องการบริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้นมาก ทำให้โอกาสในการเข้าดำเนินธุรกิจและการเติบโตของแฟรนไชส์ด้านอาหารและเครื่องดื่มจะเกิดขึ้นได้เฉพาะในเมืองใหญ่หรือเมืองท่องเที่ยวเท่านั้น เช่น พนมเปญ เสียมราฐ และสีหนุวิลล์ เป็นต้น กิจการแฟรนไชส์ด้านอาหารและเครื่องดื่มในกัมพูชาเพิ่งจะเริ่มดำเนินการไม่นานนัก แต่มีอัตราการเติบโตรวดเร็วอย่างน่าสนใจ ส่วนใหญ่เปิดดำเนินการในเมืองหลวงของประเทศคือกรุงพนมเปญ และมีสาขาที่เสียมราฐและสีหนุวิลล์ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวอยู่บ้าง

โดยตัวอย่างกิจการแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพในกัมพูชา ได้แก่ The Pizza Company แฟรนไชส์ด้านอาหารและเครื่องดื่มจากประเทศไทยเริ่มเปิดกิจการในปี 2548 ปัจจุบันมีจำนวนสาขามากกว่า 10 แห่ง KFC แฟรนไชส์ด้านอาหารและเครื่องดื่มจากสหรัฐอเมริกา เปิดดำเนินกิจการในกัมพูชาในปี 2551 ปัจจุบันมีจำนวน 10 สาขา และ SWENSEN’S แฟรนไชส์ร้านไอศกรีมจากสหรัฐอเมริกาก็เพิ่งเปิดกิจการในกัมพูชาเมื่อปี 2553 เป็นต้น

2) การประกอบกิจการแฟรนไชส์ในกัมพูชา

การประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ในกัมพูชามีทั้งแฟรนไชส์ที่เป็นธุรกิจภายในภูมิภาคอาเซียน ทั้งจากมาเลเซีย (Secret Recipe) ไทย (BlackCanyon Coffee และ The Pizza Compant) และเวียดนาม (Pho24) และแฟรนไชส์ขนาดใหญ่จากสหรัฐอเมริกา เช่น KFC, DairyQueen, Tutti Frutti, SWENSEN’S, Spinelli Coff และจากประเทศอื่นๆ เช่น เกาหลีใต้ (BBQ Chicken) อังกฤษ (Costa Coffee) หรือจากแคนาดา (Sarpino’s Pizzeria) เป็นต้น

ลักษณะการลงทุนในการประกอบกิจการแฟรนด์ไชด์ในกัมพูชามีทั้งที่เป็นการซื้อสิทธิแฟรนไชส์จากเจ้าของสิทธิแฟรนไชส์ (Franchisor) ซื้อสิทธิผ่านแฟรนไชส์ตัวแทน (Master Franchise) ภายในภูมิภาค รวมทั้งการร่วมทุนระหว่างบริษัทแฟรนไชส์ตัวแทน (Master Franchise) กับบริษัทภายในกัมพูชา

โดยมีผู้ประกอบการแฟรนไชส์รายใหญ่ในกัมพูชา อาทิ Express Food Group (EFG) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ RMA (Cambodia) ดำเนินกิจการแฟรนไชส์ The Pizza Company, SWENSEN’S, BBQ Chicken, DailyQueen และ Costa Coffee กลุ่ม Kampuchea Food Corporation ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนระหว่าง The Royal Group of Companies Ltd (กัมพูชา) QSR (มาเลเซีย) และ Rightlink (ฮ่องกง) ดำเนินกิจการแฟรนไชส์ KFC

นอกจากนี้ กัมพูชายังมีบริษัทภายในประเทศที่ดำเนินกิจการด้านอาหารและเครื่องดื่มประเภทอาหารด่วน ร้านกาแฟ และร้านไอศกรีมเองด้วย ได้แก่ Lucky Market Group ซึ่งดำเนินกิจการภายใต้ Brand ของตัวเอง ได้แก่ Lucky Burger, Lucky Bakery, Lucky café’ และ Lucky Gelato

3) โอกาสของแฟรนไชส์ในกัมพูชา


เศรษฐกิจของกัมพูชาในเมืองหลวงและเมืองท่องเที่ยวสำคัญมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดมีผู้บริโภคซึ่งเป็นชนชั้นกลาง โดยเฉพาะกลุ่มหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากคนรุ่นก่อน มีกำลังซื้อที่สูงขึ้น และมีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวหรือศึกษายังต่างประเทศ ประกอบกับการขยายตัวของการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต ทำให้ชาวกัมพูชามีโอกาสพบเห็นสินค้า รวมทั้งรูปแบบการบริโภคสินค้าในประเทศอื่นๆ ส่งผลให้เกิดความต้องการบริโภคสินค้าและวิถีชิวิตที่มีความเป็นสากลมากขึ้น อีกทั้งปัจจุบันยังมีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ในกัมพูชาไม่มากนัก

กัมพูชาจึงเป็นประเทศที่มีความเหมาะสมสำหรับการดำเนินกิจการในธุรกิจแฟรนไชส์ด้านอาหารและเครื่องดื่มเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ศักยภาพด้านโลจิสติกส์จากการมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับไทย ลาว และเวียดนามได้ มีแผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างประเทศ ขณะที่มีทางออกทะเลที่สามารถพัฒนาเป็นท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ได้ด้วย ประกอบกับกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุนของชาวต่างประเทศ

ล้วนแต่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่จะทำให้กัมพูชามีโอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งย่อมเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดความต้องการบริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีและมีความแตกต่างได้อีกมากในอนาคต

อ้างอิงจาก  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,686
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,820
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด