บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
3.9K
2 นาที
18 มิถุนายน 2558
สภาวะตลาดภายในประเทศ และพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศมาเลเซีย

1) สภาพธุรกิจ

มาเลเซียถือเป็นประเทศหนึ่งใน ASEAN ที่มีการขยายตัวของธุรกิจแฟรนไชส์สูง อันเกิดจากปัจจัย 3 ด้าน คือ นโยบายส่งเสริมของภาครัฐ ความพร้อมของภาคเอกชน และอำนาจซื้อที่สูงของผู้บริโภค ทำให้ธุรกิจนี้มีการเติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 15% มาตลอดระยะเวลา 10 ปี และคาดการณ์ว่าในอนาคตธุรกิจยังคงมีการเติบโตสอยู่ในระดับเดียวกันนี้ ในปัจจุบันธุรกิจนี้มีขนาดคิดเป็น 3.5% ของ GDP

2) อุปสงค์ของตลาด

รัฐบาลมาเลเซียมีนโยบายให้ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นตัวผลักดันให้เกิดมีผู้ประกอบการใหม่ในตลาด โดยทางรัฐบาลมีโครงการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ โดยให้มีแฟรนไชส์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 9 (the 9th Malaysian Economic Plan) ในช่วง 2005-2010 ได้เกิดมีผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ถึง 1,000 ราย และมีผู้ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์อีกกว่า 50 ราย

นอกจากนั้น ทางรัฐบาลยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการชาวมาเลเซียได้เป็นเจ้าของแฟรนไชส์เอง โดยให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางของแฟรนไชส์สินค้า Halal ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

นอกจากนั้น รัฐบาลยังพิจารณาถึงกิจการสาขาอื่นๆด้วย เช่น การศึกษา บริการซ่อมรถยนต์ บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ โรงแรม บริการทำความสะอาด และกิจการการพิมพ์งานด่วน เพื่อการนี้ รัฐบาลได้สนับสนุนการเข้ามาของเจ้าของแฟรนไชส์ต่างประเทศ โดยหน่วยงานรับผิดชอบคือ Ministry of Domestic Trade, Co-operatives and Consumerism และยังมีองค์กรของรัฐชื่อ Perbadanan Nasional Berhad (PNS) ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและอื่นๆ แก่ผู้ประกอบการ ในแง่ของธุรกิจ ธุรกิจแฟรนไชส์หลักคือ อาหารและเครื่องดื่ม มีส่วนแบ่งตลาดถึง 31% ของธุรกิจ แฟรนไชส์รวม รองลงมาคือ ธุรกิจด้านเสื้อผ้าและเครื่องประดับ (15%) และธุรกิจร้านอาหาร

โดยที่กิจการอาหารและเครื่องดื่ม พบว่าธุรกิจ Donut เป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจ นอกจาก Dunkin Donuts เปิดกิจการในมาเลเซียมานานหลายสิบปีแล้วนั้น ก็ยังมีผู้ประกอบการหน้าใหม่เข้ามาในตลาด เช่น J.Co. (อินโดนีเซีย) Big Apple Donut (มาเลเซีย) และ Krispy Kreme (สหรัฐอเมริกา)

การที่ผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้น และประเทศเปิดสู่ตลาดโลกมากขึ้น พฤติกรรมของผู้บริโภคมีแนวโน้มยอมรับมาตรฐานการใช้ชีวิตแบบสากลมากขึ้น ทำให้สินค้า Brand Name ได้รับความนิยมสูงในตลาดอย่างรวดเร็ว เช่น McDonalds, KFC และ Domino Pizza อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการรายใหญ่ในธุรกิจนี้คือ ผู้ประกอบการชาวมาเลเซีย 56% ของเจ้าของแฟรนไชส์ในตลาด เป็นผู้ประกอบการชาวมาเลเซีย ในจำนวนนี้มี 27 รายที่มีกิจการในต่างประเทศ (48 ประเทศ) ทั้งกิจการด้านอาหาร เลี้ยงเด็กเล็ก เสื้อผ้าและเครื่องประดับ และบริการด้านความงาม ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 400 รายมีกิจการในมาเลเซีย ประกอบด้วยธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม 120 ราย ด้านบริการและบริการซ่อม 46 ราย

3) แนวโน้มของธุรกิจ

ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มยังคงเป็นธุรกิจหลักในตลาดมาเลเซีย โดยตลาดมีความต้องการสินค้าด้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนมากขึ้น การศึกษาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีความสำคัญมากขึ้น บริการการศึกษาในมาเลเซียหลักยังคงเป็นการศึกษาระบบอังกฤษ อย่างไรก็ตาม การศึกษาระบบสหรัฐอเมริกาก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการศึกษาระบบออสเตรเลียด้วย ผลก็คือ ในปัจจุบันนักเรียนมาเลเซียเข้าศึกษาในโรงเรียนนานาชาติเพิ่มมากขึ้น สำหรับบริการด้านสุขภาพ เสริมความงาน และค้าปลีกนับเป็นกิจการแฟรนไชส์ที่เติบโตเร็วเช่นกันในมาเลเซีย

4) ผู้ประกอบการในประเทศ

กิจการแฟรนไชส์ของมาเลเซียเองเป็นกิจการด้านอาหารและเครื่องดื่มเป็นหลัก มีหลายกิจการที่เริ่มออกไปต่างประเทศ เช่น Secret Recipe Cake and Cafe’, Marrybrown Fried Chicken, D’Tandoor และ Nelson โดยเข้าไปในตลาดเอเชียและตะวันออกกลาง กิจการดูแลเด็กเล็กของ Smart Reader นับได้ว่ามีการเติบโตเร็วจนมีกว่า 300 สาขาทั่วประเทศ Edaran Otomobil Nasional (EON) นับเป็น แฟรนไชส์ประเภทขายรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ปัจจุบันมาเลเซียมีแฟรนไชส์ของผู้ประกอบการชาวมาเลเซียประมาณ 400 ราย

สหรัฐอเมริกานับเป็นประเทศเจ้าของแฟรนไชส์ต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ในจำนวนนี้ประกอบด้วย KFC, McDonalds, Pizza Hut, Starbucks, Wendy’s, Tony Roma’s, Burger King, Carl’s Jr., Dominos, Krispy Kreme, Papa John’s, Popeye, Subway, Dunkin Donuts เป็นต้น ในกิจการที่ไม่ใช่อาหารยังมี Borders, Levis, Foot Solutions, 7-Eleven, Merry Maids, Mail Boxes เป็นต้น KFC นับเป็นแฟรนไชส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย โดยเป็นธุรกิจควบรวมทั้งระดับต้นน้ำและปลายน้ำ ประเทศเจ้าของแฟรนไชส์อื่นๆ ที่สำคัญ คือ ออสเตรเลีย อังกฤษ อิตาลี นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ คานาดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

5) อุปสงค์ต่อแฟรนไชส์

ผู้ที่ประสงค์ซื้อสิทธิจากเจ้าของแฟรนไชส์ในมาเลเซียมีจำนวนน้อย โดยมากคือบรรษัทขนาดใหญ่ในมาเลเซียที่ต้องการซื้อสิทธิจากแฟรนไชส์ชั้นนำของโลกมาสะสมไว้เพื่อสร้างรายได้ ผู้ซื้อเหล่านี้ได้แก่ Berjaya Group, QSR Brand, Bhd และ Naza Group เช่น Berjaya Group ได้รับสิทธิแฟรนไชส์จาก Starbucks, Borders, 7-Eleven, Kenny Roger Roaster, Papa John’s Pizza และ Krispy Kreme

ผู้ประกอบการรายย่อยในมาเลเซียที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์จะหันไปจับตลาด Niche โดยมองหาแฟรนไชส์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนในราคาไม่แพงในธุรกิจต่างๆ ทั้งอาหารและเครื่องดื่ม การศึกษา การดูแลสุขภาพและความงาม รวมถึง บริการค้าปลีก

6) การเข้าตลาด

นักลงทุนชาวมาเลเซียมีความเห็นว่าค่าแฟรนไชส์ (Franchise Fee) สูงเกินไป เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ของบริษัทในสหรัฐอเมริกา ผู้รับโอนสิทธิแฟรนไชส์ชาวมาเลเซียเมื่อได้รับโอนสิทธิจะต้องไปขึ้นทะเบียนกับนายทะเบียนแฟรนไชส์ (Registra of Franchise; ROF) ในมาเลเซียการทำแฟรนไชส์อยู่ภายใต้กฎหมายแฟรนไชส์ปี 1988 (Malaysia Franchise Act 1988) ในมาตรา 54 ของกฎหมายระบุว่าชาวต่างชาติที่ต้องการขายแฟรนไชส์ในมาเลเซียหรือให้แก่ชาวมาเลเซียจะต้องยื่นใบคำขออนุญาตจาก ROF ในด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มนั้น ต้องพิจารณาถึงข้อห้ามทางศาสนา เช่น ชาวฮินดู และผู้เลื่อมใสในเจ้าแม่กวนอิมจะไม่บริโภคเนื้อวัว ชาวมุสลิมจะไม่บริโภคเนื้อสุกร

ดังนั้น ปลาและไก่จึงเป็นอาหารที่สามารถขายได้อย่างแพร่หลาย ชาวมาเลเซียกว่าร้อยละ 60 เป็นชาวมุสลิมที่ต้องบริโภคอาหาร Halal ที่นิยามโดยกฎหมายอิสลาม (Islamic Sharich Law)

ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการผลิต หีบห่อ และจัดส่งสินค้าอาหาร Halal โดยมีองค์กร JAKIM เป็นผู้รับรองความเป็นสินค้า Halal ในมาเลเซีย ในสาขาการศึกษา กฎหมายมาเลเซียระบุให้สถานศึกษาเอกชนต้องขอใบรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการก่อนดำเนินงาน ทุกวิชาที่สอนในสถานศึกษาเอกชนจะต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับชาติที่ชื่อ Malaysian Qualification Agency (MQA) มิฉะนั้นโครงการนั้นจะไม่ได้รับการยอมรับ

อ้างอิงจาก  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,682
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,812
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,243
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด