บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    โอกาสทางธุรกิจ    AEC
2.9K
2 นาที
9 ธันวาคม 2557
การเปิดเสรีธุรกิจแฟรนไชส์ในอาเซียน

การเปิดเสรีธุรกิจแฟนไชส์ (Franchising Services) เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดเสรีการค้าบริการ (Trade in Services Liberalization) ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

ได้ร่วมเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการดังกล่าวภายใต้ “แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ AEC Blueprint โดยประเทศสมาชิกอาเซียนได้เจรจาความตกลงการค้าบริการมาแล้วหลายครั้ง และล่าสุดสามารถตกลงข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการชุดที่ 8 ในปี พ.ศ. 2553 ในภาพรวม การเปิดเสรีการค้าบริการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่

1) การผูกพันการเปิดตลาด (Commitment to Market Access) เพื่อสร้างความแน่นอนชัดเจนในเชิงกฎหมายให้แก่ผู้ประกอบการต่างชาติ ทั้งนี้ ผู้อ่านควรเข้าใจถึงข้อแตกต่างระหว่างการผูกพันการเปิดตลาดและการเปิดให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาบริการ โดยประเทศอาจเปิดให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาบริการได้โดยไม่ผูกพันการเปิดตลาด แต่การที่ประเทศไม่ผูกพันการเปิดตลาดย่อมให้สิทธิ์ประเทศนั้นในการออกมาตรการในอนาคตเพื่อกีดกันมิให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาประกอบการในประเทศได้ ดังนั้นการผูกพันการเปิดตลาด จึงเป็นการสร้างความแน่นอนชัดเจนในเชิงกฎหมายให้แก่ผู้ประกอบการต่างชาติว่าประเทศที่ได้ผูกพันการเปิดตลาดนั้นจะยังคงต้อนรับผู้ประกอบการต่างชาติดังกล่าว

ทั้งนี้ ในการเปิดเสรีการค้าบริการ ประเทศคู่สัญญาสามารถกำหนดสาขาหรือสาขาย่อยที่ตนจะผูกพันการเปิดตลาดได้ ไม่จำเป็นต้องเปิดเสรีในทุกสาขา โดยให้ระบุสาขาที่ต้องการจะผูกพันในตารางข้อผูกพันเฉพาะ (Schedule of Specific Commitments) อีกทั้งยังสามารถกำหนดเงื่อนไขการผูกพันใน ตารางฯ ได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการชุดที่ 8 ในกรอบอาเซียน ประเทศลาวผูกพันการเปิดตลาดในธุรกิจแฟรนไชส์ เฉพาะสาขาสิ่งทอ เครื่องนุ่มห่ม และรองเท้าเท่านั้น และมีเงื่อนไขกำหนดให้สัดส่วนการถือหุ้นโดยต่างชาติไม่เกินร้อยละ 49 เป็นต้น

2) การผูกพันการไม่เลือกปฏิบัติ (Commitment to Non-discrimination) โดยแบ่งออกเป็น
  1. การให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation: MFN) อันได้แก่การให้สิทธิประโยชน์กับผู้ประกอบการของประเทศคู่สัญญาไม่ด้อยไปกว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้ให้กับผู้ประกอบการของประเทศนอกกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น หากประเทศไทยให้สิทธิประโยชน์ใดแก่ผู้ประกอบการ แฟรนไชส์สัญชาติญี่ปุ่นซึ่งมิใช่ประเทศสมาชิกอาเซียน ก็ย่อมต้องให้สิทธิประโยชน์นั้นแก่ผู้ประกอบแฟรนไชส์การสัญชาติอาเซียนด้วย
     
  2. การให้การประติบัติเยี่ยงชาติ (National Treatment) อันได้แก่การให้สิทธิประโยชน์กับผู้ประกอบการของประเทศคู่สัญญาไม่ด้อยไปกว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้ให้กับผู้ประกอบการภายในประเทศ ยกตัวอย่างเช่น หากประเทศไทยให้สิทธิประโยชน์ใดแก่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์สัญชาติไทย ก็ย่อมต้องให้สิทธิประโยชน์นั้นแก่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์สัญชาติอาเซียนด้วยฃ
ทั้งนี้ ในการเปิดเสรีการค้าบริการ ประเทศคู่สัญญาสามารถเลือกระดับการผูกพันการไม่เลือกปฏิบัติได้ โดยหากไม่ต้องการผูกพัน ให้ระบุในตารางฯ ว่า “Unbound” หากต้องการผูกพันโดยไม่มีเงื่อนไข ให้ระบุในตารางฯ ว่า “None” และหากต้องการผูกพันโดยมีเงื่อนไข ให้ระบุเงื่อนไขนั้นในตารางฯ ด้วย นอกจากนี้ การเปิดเสรีการค้าบริการในแต่ละสาขาต้องพิจารณาตามรูปแบบการให้บริการนั้นๆ ด้วย (Mode of Service) โดยรูปแบบการให้บริการแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่
  • รูปแบบที่ 1 การให้บริการข้ามพรมแดน (Cross-border Supply) ได้แก่ การที่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการอยู่กันคนละประเทศ ยกตัวอย่างเช่น การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ผ่านสื่อระหว่างประเทศ อาทิ เว็ปไซต์ โทรศัพท์ ระหว่างประเทศ โทรสารระหว่างประเทศ เป็นต้น
     
  • รูปแบบที่ 2 การเดินทางไปใช้บริการต่างประเทศ (Consumption Aboard) ได้แก่ การที่ผู้รับบริการเดินทางไปยังประเทศของผู้ให้บริการเพื่อรับบริการนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้สัญญาให้ใช้สิทธิ แฟรนไชส์ (Franchisor) จัดตั้งศูนย์บริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการให้บริการให้แก่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (Franchisee) ในประเทศของตน
     
  • รูปแบบที่ 3 การจัดตั้งธุรกิจ (Commercial Presences) ได้แก่ การที่ผู้ให้บริการมาจัดตั้งบริษัทในประเทศของผู้รับบริการเพื่อให้บริการนั้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้สัญญาให้ใช้สิทธิแฟรนไชส์มาจัดตั้งบริษัทในประเทศของผู้รับสิทธิแฟรนไชส์เพื่อให้บริการนั้น
     
  • รูปแบบที่ 4การเคลื่อนย้ายบุคลากรวิชาชีพ (Movement of Natural Person) ได้แก่ การที่ผู้ให้บริการได้ส่งบุคลากรของตนเข้ามาให้บริการในประเทศของผู้รับบริการนั้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้สัญญาให้ใช้สิทธิแฟรนไชส์ได้ส่งพนักงานที่ปรึกษาการจัดตั้งธุรกิจแฟรนไชส์มาให้บริการในประเทศของผู้รับสิทธิแฟรนไชส์
อ้างอิงจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,686
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,820
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,912
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,243
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด