บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    ข้อพิพาท และความลับทางการค้า
2.3K
1 นาที
9 กรกฎาคม 2558
อาวุธลับ (ตอนหนึ่ง) (บทความกฎหมายแฟรนไชส์)


ท่านทั้งหลายคงจะพอรู้จักเรื่องความลับทางการค้าพอสมควรแล้ว แต่เรายังไม่ได้พูดกันเลยว่า  ถ้าเกิดเรื่องขึ้นมา อย่างเช่นความลับถูกเปิดจนโป๊ล่อนจ้อนหมดแล้ว จะทำอย่างไร ?

หรือ เรื่องยังไม่ทันเกิด  แต่แฟรนไชซอร์คิดว่าเกิดชัวร์  อย่างไปแอบรู้มาว่าแฟรนไชซีกำลังจะเอาความลับไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  จะทำอย่างไร ?

ต้องไปขอแรงศาล…..

แฟรนไชซอร์ที่คิดว่าความลับ ของตัวเองกำลังจะถูกเปิดเผย  หรือถูกเปิดจนล่อนจ้อนหมดแล้ว   ขอเน้นว่าแม้ความลับยังไม่ทันถูกเปิดเผย แต่กำลังจะถูกเปิด  ก็ขอความคุ้มครองจากศาลได้ โดยดาบแรกก็ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีคำสั่งห้ามไม่ให้เปิดเผยความลับ หรือหยุดใช้ความลับนั้น

จากนั้นก็ฟันตามด้วยดาบสอง คือ ฟ้องเรียกค่าเสียหายตามไปด้วย

การ ใช้ดาบแรก คือขอคำสั่งศาลให้ห้ามที่ว่านี้ยังมีพิเศษอีก คือจะทำก่อนฟ้องคดีก็ได้ แต่เมื่อใช้ดาบแรกแล้ว ต้องฟันดาบสองภายในสามปี นับแต่รู้ว่ามีการละเมิดความลับ แต่ถ้าไม่รู้ก็ต้องฟันภายในสิบปีนับแต่วันที่เขาละเมิดความลับ
 


 

พ้นจากนี้ก็หมดสิทธิ………

แต่ดาบสองนี้จะทำหรือไม่ทำก็ได้ กฎหมายเขายืดหยุ่นให้ เพราะพอศาลห้ามแล้ว เขายอมหยุด แล้วเราไม่ได้เสียหายอะไร  หรือเสียหายอยู่เหมือนกัน แต่ใจกว้างเป็นปากแม่น้ำอเมซอน  ไม่ติดใจค่าเสียหายก็เก็บดาบสองไม่ต้องฟันก็ได้  อันนี้ไม่ว่ากัน

ถ้าติดใจจะเรียกค่าเสียหาย  เรื่องนี้กฎหมายเขาวางหลักใหม่ น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับแฟรนไชซอร์  แต่ออกจะหน้าเหี่ยวสำหรับแฟรนไชซี หรือคนที่ทำผิดกฎหมาย

เพราะศาลเขามีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่ เกิดความเสียหายขึ้นจริง ๆ ซึ่งอันนี้ต้องแล้วแต่ฝีมือแฟรนไชซอร์ว่าจะพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้มากน้อยแค่ ไหน อันนี้ยังไม่ค่อยพิเศษเท่าไร  เพราะเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว

แต่ศาลยังมีสิทธิสั่งให้คนที่เอาความลับไปใช้ทำธุรกิจ  คืนผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ความลับนั้นด้วย เท่ากับกำไรที่ทำได้มาต้องคืนให้เจ้าของความลับเขา อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าเจ๋ง……..
 


 

แต่ช้าก่อนโยม…….ไม้เด็ดยังไม่หมด

ถ้าแฟรนไชซอร์พิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่า ที่เปิดเผยความลับ หรือเอาความลับของเขาไป  เพราะตั้งใจแกล้งทำให้ความลับนั้นหมดสภาพเป็นความลับ อย่างรู้อยู่แล้วว่าเจ้าของเขาหวงความลับนี้จะตาย แต่อยากแกล้งเลยส่งไปลงไทยรัฐฉบับวันหวยออก ทีนี้เลยรู้กันทั้งประเทศ อย่างนี้ศาลเขามีสิทธิให้จ่ายค่าเสียหายเพิ่มฐานทะลึ่งไม่เข้าท่าอีกไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายทั้งสองก้อนที่ว่ามาแล้วได้

กฎหมาย ยังมีของแถมเป็นน้ำจิ้มให้กับแฟรนไชซอร์อีกอย่าง เป็นเรื่องวิธีการพิสูจน์ คือ ถ้าเป็นเรื่องความลับในกรรมวิธีในการผลิตสินค้า และแฟรนไชซอร์เขาแสดงได้ว่าสินค้ามันออกมาเหมือนกัน กฎหมายให้ติ๊งต่างไว้ก่อนเลยว่าแฟรนไชซีผิด เพราะเอาความลับของเขาไปใช้  คือแฟรนไชซอร์ไม่ต้องเสียเหงื่อในการพิสูจน์มาก


อ้างอิงจาก ผศ.ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,763
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,875
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,917
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,254
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด