บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    ข้อพิพาท และความลับทางการค้า
5.8K
2 นาที
15 มีนาคม 2558
ปัญหาภาษีกับ LSM ในธุรกิจแฟรนไชส์ (ตอนหนึ่ง) (บทความกฎหมายแฟรนไชส์)
 

แฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่นิยมมากในปัจจุบัน สมาคมแฟรนไชส์ของสหรัฐอเมริกา (International Franchise Association) รายงานว่า มีธุรกิจในสหรัฐอเมริกาที่ขยายด้วยระบบแฟรนไชส์กว่า 900,000 กิจการ สร้างงานกว่า 11 ล้านตำแหน่งคิดเป็นร้อยละ 8.1 ของตำแหน่งงานในภาคธุรกิจเอกชน และค่าแรงพนักงานในระบบแฟรนไชส์สูงถึง 278.6 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ผลิตสินค้าและบริการรวมกันเป็นมูลค่าสูงถึง 880.9 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี[1]

ในประเทศไทยระบบแฟรนไชส์เพิ่งได้รับความนิยมไม่นาน ในปี 2549 มีธุรกิจในระบบแฟรนไชส์เพียง 456 ราย แต่ก็มีร้านสาขากว่า 24,000 สาขา และมีมูลค่าทางธุรกิจไม่น้อยกว่า 83,000 ล้านบาท[2] กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เล็งเห็นความสำคัญแฟรนไชส์จึงสนับสนุนธุรกิจไทยให้พัฒนาไปสู่ ระบบแฟรนไชส์เพื่อเป็นฐานขยายธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ[3]

การโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นกลยุทธ์สำคัญอย่างหนึ่งในระบบแฟรนไชส์ แต่คำพิพากษาฎีกาที่ 4440/2552 ที่วินิจฉัยประเด็นภาระภาษีเงินค่าการตลาดในเขตพื้นที่ (Local-store-marketing หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า LSM) อาจกระทบต่อธุรกิจแฟรนไชส์ บทความนี้จะเน้นวิเคราะห์คำพิพากษาฉบับนี้ในบริบทของระบบแฟรนไชส์ และเสนอความเห็นต่อผลกระทบที่อาจเกิดกับระบบแฟรนไชส์ในประเทศไทย

 

1. สรุปข้อเท็จจริง


โจทก์ เป็นแฟรนไชซีของบริษัท พิซซ่า ฮัท อิงค์ (บริษัทในสหรัฐอเมริกา-แฟรนไชซอร์) ในสัญญาแฟรนไชส์กำหนดให้โจทก์ต้องโฆษณาและส่งเสริมการขายในแต่ละปีไม่น้อย กว่าร้อยละ 3.5 ของยอดขายรวมเพื่อการโฆษณาร้านอาหารของโจทก์และเพื่อส่งเสริมการขาย โดยโจทก์มีสิทธิเด็ดขาดในการติดต่อคัดเลือกตัวแทนโฆษณา สื่อโฆษณาต่างๆ โดยแฟรนไชซอร์ไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด แต่มีสิทธิตรวจสอบและคัดค้านหากการโฆษณามีเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดความเสีย หายแก่เครื่องหมายและชื่อทางการค้าของแฟรนไชซอร์เท่านั้น

เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า ค่าโฆษณาหรือส่งเสริมการขายที่โจทก์จ่ายให้บรรดาบริษัทสื่อโฆษณาในประเทศไทย เป็นเงินได้ประเภท “ค่าแห่งลิขสิทธิ์” ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากผลประโยชน์จากการโฆษณาตกแก่ทั้งโจทก์และแฟรนไชซอร์ จึงเท่ากับแฟรนไชซอร์ผลักภาระให้โจทก์เป็นผู้จ่ายค่าโฆษณาส่งเสริมการขายแทน แฟรนไชซอร์ 

ข้อตกลงที่ให้โจทก์โฆษณาและส่งเสริมการขายไม่น้อยกว่า 3.5% ของยอดขายรวมของปี 2540 คิดเป็น 55,866.622.32 บาท เป็นค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่แฟรนไชซอร์ได้รับ กล่าวคือ เป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และ 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร อันเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ต้องหักภาษี ณ  ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร จึงประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มเติม โจทก์จึงฟ้องคดีเพื่อขอเพิกถอนการประเมิน

ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาว่า การที่โจทก์จ่ายเงินค่าโฆษณาและส่งเสริมการขายให้บริษัทผู้รับทำโฆษณาและ สื่อต่างๆ ในประเทศไทย ไม่อาจรับฟังได้ว่าแฟรนไชซอร์ได้รับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายจากหรือใน ประเทศไทย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าโฆษณาและส่งเสริมการขายจึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากจำนวนร้อยละ 3.5 ของยอดขายและนำส่งจำเลย การประเมินตามหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายตามฟ้องจึงไม่ชอบ และให้เพิกถอนการประเมิน


 
โจทก์และจำเลย อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา โดยโจทก์อุทธรณ์ในเรื่องดอกเบี้ยและการกำหนดความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ส่วนกรมสรรพากรจำเลยอุทธรณ์ในเนื้อหาของคดี

ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงาน

[1] โปรดดู Economic Impact of Franchise Businesses Direct Contribution to the U.S. Economy in http://www.buildingopportunity.com/download/National%20Views.pdf (Visited November 2010).

[2] พีระพงษ์ กิตติเวชโภคาวัฒน์, ผลการวิจัยสภาวะธุรกิจแฟรนไชส์ พ.ศ.2549-2550 (ตอนที่ 1) ใน http://www.franchise-vision.com/franchise/article.php?sid=220 (Visited November 2010).

[3] UNIDROIT, International Institute for the Unification of Private Law ระบุว่า ระบบแฟรนไชส์จะมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในด้านต่างๆ คือ การจ้างแรงงานจะเพิ่มขึ้น อัตราความล้มเหลวของธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จะต่ำกว่าธุรกิจอื่นทั่วไป ระบบแฟรนไชส์ยังเหมาะกับประเทศกำลังพัฒนาที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของ เศรษฐกิจ โปรดดู UNIDROIT, Guide to International Master Franchise Arrangements, (International Institute for the Unification of Private Law (UNIDROIT): Rome, Italy, 1998), pp. 256-258.

 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,099
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,412
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,893
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด