บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    สัญญาแฟรนไชส์
4.9K
2 นาที
8 ตุลาคม 2557
สัญญา...ตัวป่วน (ตอนหนึ่ง) (บทความกฎหมายแฟรนไชส์)

คุณนึกถึงวินาทีที่แฟนคุณบอกว่ากำลังตั้งท้องได้ไหม…. บางคนดีใจแบบอึ้งกิมกี่เลย คือพูดอะไรไม่ออก  สมองคิดแต่ว่าเอ๊ะ……ข้าก็มีฝีมือเหมือนกันนี่บางคนกระโดดโลดเต้น จนข้างบ้านต้องทุ่มครกเตือนให้หรี่เสียงหน่อย

ต่อจากนั้นคืออะไร…คิดถึงเรื่องจะไปฝากท้องที่ไหนดี  จะออกมาเป็นไอ้หนู หรืออีหนู  จะตั้งชื่อยังไง ฯลฯ โอ้ย..จิปาถะใช่ไหม ทั้งหมดนี่คือกระบวนการเตรียมคลอดให้สมาชิกคนใหม่ที่จะเกิดมาร่วมผจญภัยในโลกเบี้ยว ๆ ใบนี้

ในธุรกิจแฟรนไชส์ สัญญาแฟรนไชส์เป็นส่วนสำคัญที่ต้องมีแฟรนไชซอร์ต้องเตรียมสัญญาไว้ให้พร้อม และก่อนทำคลอดสัญญาแฟรนไชส์  ก็ต้องมีการเตรียมคลอดเหมือนกัน

แต่คุณไม่ต้องตกใจว่าจะให้คุณไปร่างสัญญาเอง อันนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักกฎหมายเขาเหมือนที่คุณต้องปล่อยให้หมอสูติฯ เป็นคนทำคลอดแฟนคุณ ไม่ได้ให้คุณต้องไปถือมีดผ่าตัดเองซักหน่อย ทำเป็นตกใจไปได้

แต่แฟรนไชซอร์มีหน้าที่มากกว่าสามีที่แค่นั่งลุ้นอยู่หน้าห้องผ่าตัด (เดี๋ยวนี้หมอยอมให้สามีเข้าไปอยู่ในห้องผ่าตัดได้ด้วย…ถ้าไม่กลัวเลือดเป็นลมไปเสียก่อน)

แฟรนไชซอร์ต้องแนะนำและตัดสินใจในเรื่องสำคัญหลายเรื่องก่อนที่นักกฎหมายเขาจะเอาคำแนะนำนั้นไปประกอบการร่างสัญญาออกมาให้คุณได้ใช้ ก็คุณนะเป็นคนทำ(ธุรกิจ)มากับมือ  แล้วใครเขาจะมารู้ดีเท่าคุณ

ในตอนนี้ผมจะเล่าให้ฟังว่า แฟรนไชซอร์ทั้งหลายต้องคิด และตัดสินใจในเรื่องสำคัญอะไรบ้าง เพื่อคนร่างเขาจะได้ร่างสัญญาตรงตามที่คุณต้องการ สิ่งที่ต้องคิดส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเนื้อหาของการทำธุรกิจ ไม่ใช่เนื้อหาทั้งหมดในสัญญา เนื้อหาส่วนที่เป็นเรื่องกฎหมายล้วน ๆ  คนร่างเขาคงทำเองได้

สัญญาแฟรนไชส์บางฉบับ ถ้ามีกลิ่นเนยมาก ๆ จะมีอะไรแปลก ๆ ที่ไม่ค่อยได้เห็นกันเท่าใดนัก  อย่างเช่น อารัมภบท (Recital) และสัญญาจะค่อนข้างยาวเขียนรายละเอียดไว้ค่อนข้างเยอะ ว่าไปแล้วก็ไม่จำเป็นสำหรับเมืองไทยนัก  เพราะถ้าอะไรที่มีกฎหมายเขียนไว้แล้ว  และเราก็ไม่ได้ตกลงอะไรที่ต่างไปจากนั้น  ไม่ต้องเขียนในสัญญาอีกก็ได้

ต่างจากในอเมริกาต้นกำเนิดแฟรนไชส์ที่ไม่มีหลักกฎหมายทั่วไป อย่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยจึงต้องพยายามเขียนไว้ทุกเรื่อง เรื่องแรกที่ต้องพูดให้เข้าใจกันก่อน คือ การเตรียมสัญญาแฟรนไชส์นั้น  ขอท่านได้โปรดเรียกใช้บริการของนักกฎหมาย

ที่บอกอย่างนี้ไม่ใช่ว่าผมจะได้ค่าคอมมิชชั่นจากใครเขา  คิดอย่างนี้…..โกรธกันตายเลย การร่างสัญญาแฟรนไชส์นั้น ผมว่าใช้นักกฎหมายที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะดีกว่า เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน  และคงต้องพิถีพิถันเลือกนักกฎหมายดีดีหน่อย

ไม่ใช่คนเรียนกฎหมายทุกคนจะร่างสัญญาแฟรนไชน์ได้  และแม้คนที่เคยร่างสัญญาแฟรนไชส์มาแล้ว ถ้าจะร่างสัญญาใช้กับธุรกิจใหม่ก็ยังต้องศึกษาทำความเข้าใจสภาพและลักษณะของธุรกิจนั้น ๆ ก่อนลงมือร่าง แต่ละธุรกิจจะมีรายละเอียดปลีกย่อย หรือปมปัญหาให้คิดต่างกัน

ส่วนท่านแฟรนไชซอร์ก็ต้องเป็นคนตัดสินใจว่า ในเรื่องนั้นเรื่องนี้จะเอาอย่างไร คนร่างเขาจะได้ให้คำแนะนำทางกฎหมาย และร่างสัญญาได้ตรงตามที่หัวใจของท่านปรารถนา….

เราลองมาดูปัญหา หรือหัวข้อสำคัญ ๆ ที่แฟรนไชซอร์จะต้องคิดร่วมกับนักกฎหมายก่อนการร่างสัญญา โดยจะยกมาให้ดูทั้งที่ใช้กับแฟรนไชส์ในประเทศ หรือที่มาจากต่างประเทศ  หรือแฟรนไชส์พันธุ์ไทยที่จะออกไปเมืองนอก  ลองหยิบไปใช้กันดูครับ

อ้างอิงจาก ผศ.ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,451
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,569
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,270
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,900
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,235
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด