บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
7.4K
2 นาที
28 ตุลาคม 2549
"ซื้อแฟรนไชส์เจ้าไหนดี?"

อันดับแรก คงต้องถามตัวคุณเองก่อนครับว่า คุณชอบหรือมีความถนัดทางด้านใด? และต้องการที่จะลงทุน ทำธุรกิจประเภทไหน?สิ่งเหล่านี้ คุณควรจะตอบตัวเองก่อนซึ่งจะเป็นหนทางที่จะทำให้คุณ วางแผนในการดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น กระผมคงต้องเรียนให้คุณทราบถึงความเข้าใจในธุรกิจแฟรนไชส์ก่อนนะครับว่า "ธุรกิจแฟรนไชส์" ไม่ใช่กระแส จงอย่าทำเพราะคิดว่าเป็นกระแส หรือทำตามๆกัน โดยที่ไม่ทราบถึงความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง 
 
ธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
  1. แฟรนไชส์ผลิตภัณฑ์ (Product franchising) หมายถึง ระบบแฟรนไชส์ที่แฟรนไชส์ซอร์ อนุญาติให้แฟรนไชสซี่ใช้ชื่อทางการค้าของตนในการผลิต ผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ตามลักษณะภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ธุรกิจน้ำอัดลม ผู้ผลิตรถยนตร์ เป็นต้น
     
  2. แฟรนไชส์ในรูปแบบของธุรกิจ (Business-format franchising) หมายถึง ระบบแฟรนไชส์ที่แฟรนไชสซี่ดำเนินการโดยใชิวิธีปฎิบัติในด้านต่างๆ เช่น กระบวนการด้านการผลิต การใช้อุปกรณ์เครื่องมือ การตกแต่งสถานที่ และรูปแบบการบริการทางธุรกิจตามข้อกำหนดของแฟรนไชสซอร์ 
 
โดยแฟรนไชส์ประเภทที่ 2 นี่แหละ ที่กำลังเป็นที่นิยมในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เนื่องจากนักธุรกิจไทย มีความสามารถพัฒนาธุรกิจของตนเองขึ้นมาจนมีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับจากลูกค้า และเริ่มขยายตลาดออกไป โดยใช้แนวทางการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
 
ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจทำธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ ท่านควรจะทราบถึงข้อดี และข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เสียก่อน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของท่านได้ดีขึ้น 
 
ข้อดีและข้อเสีย ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์
 
ข้อดี
 
  1. การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ จะได้รับสิทธิเกี่ยวกับการถ่ายทอดระบบงาน กรรมวิธีการผลิตต่างๆ วนการบริหารจัดการ ดังนี้
    • การได้รับระบบการจัดการ การบัญชี การขาย และขั้นตอนการบริการ การควบคุมคลังสินค้า ในรูปของคู่มือการปฎิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
    • การได้รับสิทธิ และความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น การพิจารณาเลือกพื้นที่ประกอบการ การจัดเตรียมแผนผัง และรายละเอียด (Lay out) ของสถานที่ การฝึกอบรมให้ความรู้ การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ การจัดการคลังสินค้าและวัตถุดิบ การตลาดและการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ จนกระทั่งการเปิดดำเนินธุรกิจ
    • ได้รับประโยชน์ จากการจดทะเบียนการค้า เครื่องหมายการค้า ความลับเกี่ยวกับกรรมวิธี และสูตรการผลิตต่างๆ 
       
  2. แฟรนไชส์ซี่ จะได้รับการบริการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยก่อนที่จะเปิดกิจการ แฟรนไชส์ซอร์จะดำเนินการช่วยเหลือ เตรียมการด้านต่างๆ ให้สามารถดำเนินการได้ทันที หรือเปิดดำเนินการแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการติดตามให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี่เป็นระยะๆ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ในกรณีที่เกิดมีปัญหาขึ้นระหว่างการดำเนินธุรกิจ
     
  3. เนื่องจากแฟรนไชส์ซอร์ส่วนใหญ่มีชื่อเสียง และภาพลักษณ์ที่ดี เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว ทำให้การเปิดร้านแฟรนไชส์ขึ้นมาใหม่ สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้า หรือใช้บริการได้ทันที ไม่จำเป็นต้องสร้างภาพลักษณ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งหลายท่านให้ความสนใจในประเด็นนี้มากทีเดียว
     
  4. สะดวกในการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องจักร และวัสดุสิ้นเปลืองได้ง่าย รวมทั้งได้สิทธิซื้อในราคาที่ต่ำกว่า
     
  5. ได้รับผลทางด้านกิจกรรมทางการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ทางแฟรนไชส์ซอร์จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลทางด้านการวิจัย และพัฒนาเพื่อปรับปรุงสินค้า และบริการให้ทันสมัยอยู่เสมอ ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหลัก
     
  6. การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้ 
    • จำนวนเงินลงทุน น้อยกว่าการลงทุนในการเริ่มประกอบธุรกิจใหม่ของตนเอง 
    • ไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาหลักๆในช่วงเริ่มประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์ ได้ผ่านการทดสอบตลาด และประสบผลสำเรฺจเรียบร้อยแล้ว
    • เป็นการประกอบธุรกิจที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก และยอมรับของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายดีอยู่แล้ว 
ข้อเสีย
 
  1.  ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องเสียค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ และค่าจัดการในรูปแบบของ Franchise Fee ก่อนเริ่มกิจการ โดยที่ยังไม่ทราบว่า กิจการจะมีกำไรหรือไม่
     
  2.  ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องเสียส่วนแบ่งรายได้ในรูปของ Royalty Fee และ Advertising Fee ตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ (แต่บางแฟรนไชส์ซอร์จะไม่มีการเก็บ Royalty Fee หรือ Advertising Fee ซึ่งตรงนี้ จะอยู่ในเงื่อนไขของสัญญา ต้องพิจารณาให้ละเอียด)
     
  3.  ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ จะขาดอิสระในการดำเนินงาน เพราะจะต้องบริหารจัดการ และปฎิบัติตามมาตรฐานของแฟรนไชส์ซอร์ที่กำหนดไว้ เพื่อความเป็นเอกภาพของแฟรนไชส์ซี่ 
     
  4.  ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ จะถูกจำกัดด้านความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะจะต้องปฎิบัติตามสัญญาที่ระบุไว้ เท่านั้น
     
  5. ภาพลักษณ์องค์กรของแฟรนไชส์ซอร์ อาจจะตกต่ำลง หรือความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อการดำเนินธุรกิจของแฟรนไชส์ซี่
     
  6. อาจจะประสบปัญหา จากการที่แฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถปฎิบัติตามสัญญา ในเรื่องเกี่ยวกับการให้การสนับสนุน และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้
     
  7. ข้อกำหนด หรือสัญญาบางอย่าง อาจจะทำให้แฟรนไชส์ซี่ รู้สึกไม่เป็นธรรมได้ในภายหลัง เช่น ราคาค่าวัตถุดิบ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนการเปิดสาขาใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เป็นต้น
เมื่อท่านได้ทราบถึง ข้อดี และข้อเสียในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์แล้ว การจะเลือกธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์ใดนั้น ท่านควรจะทราบถึงความต้องการของตนเอง พอสมควรว่า ท่านมีความต้องการทำธุรกิจประเภทใด หรือมีความชอบหรือถนัดงานในด้านใด เช่น นายเอกภพ ชอบทำธุรกิจเกี่ยวกับเด็ก รวมทั้งยังประกอบอาชีพเป็นอาจารย์อยู่ในปัจจุบัน ก็อาจจะมองหาธุรกิจแฟรนไชส์ที่เกี่ยวกับทางด้านการศึกษา ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้เลือกหลายแบรนด์ด้วยกัน เป็นต้น
 
นอกจากนี้ แล้วท่านจะต้องศึกษา แฟรนไชส์ซอร์ที่ท่านต้องการลงทุนด้วย ว่าเป็นบริษัทฯที่มีชื่อเสียง หรือมีความมั่นคงเพียงไร เนื่องจากการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เสมือนเป็นการลงเรือลำเดียวกันของแฟรนไชส์ซี่ และแฟรนไชส์ซอร์ ดังนั้น ถ้าธุรกิจของท่าน (แฟรนไชส์ซี่) เจริญรุ่งเรือง ทางแฟรนไชส์ซอร์ก็ได้รับอานิสงส์จากท่านด้วยเช่นกัน
 
อ้างอิงจาก: การพิจารณาโอกาสทางธุรกิจ และการศึกษาความเป็นไปได้ ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ : นายไพศาล เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
22,665
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
2,980
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,841
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,840
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,240
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,186
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด