บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
6.0K
2 นาที
29 สิงหาคม 2558
รู้ยัง?...จะขายแฟรนไชส์ ต้องทำอะไรบ้าง!

สมาคมแฟรนไชส์ไทย เล็งเห็นปัญหาผู้ประกอบการโดยเฉพาะการขยายสาขาเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางธุรกิจมีศักยภาพพร้อมลุย! แต่ขาดองค์ความรู้และประสบการณ์ตรง
ดังนั้นสมาคมแฟรนไชส์ไทย จึงรวบรวมข้อมูลและขั้นตอนการขายแฟรนไชส์มาให้ศึกษากัน เพื่อทำให้แฟรนไชส์ไทยเติบโตอย่างยั่งยืน
      
1.หาความรู้อย่างรู้ลึก รู้จริง

แน่นอนว่า ถ้าคุณทำแฟรนไชส์โดยไม่มีความรู้จริง ก็ย่อมไม่สำเร็จ ดังนั้นหากคุณต้องขยายธุรกิจด้วยแฟรนไชส์ ขั้นตอนแรกต้องมีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์เสียก่อน ซึ่งทางสมาคมแฟรนไชส์ไทย มีเปิดอบรมเรื่องการสร้างระบบแฟรนไชส์ 30 ชั่วโมง ทุกปี จัดเป็นประจำ ปีละ 1-2 ครั้ง ที่สามารถหาความรู้ได้จากการเข้าอบรมในโปรแกรมนี้

นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือ คู่มือการสร้างระบบแฟรนไชส์ ของสมาคมแฟรนไชส์ไทย สามารถหาซื้อมาอ่านได้ จากเวป www.franchisefocus.co.th , หรืออาจจะหาผู้รู้ ที่มีประสบการณ์มาก่อนให้คำแนะนำ หรือ เข้าหาความรู้จากหน่วยงานของสมาคม และหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
      
2.ประเมินความเป็นไปได้

ไม่ใช่ว่าทุกกิจการคิดจะขายแฟรนไชส์ก็ขายได้ทันที กิจการที่จะขายแฟรนไชส์ได้นั้น ต้องมีความพร้อมในระดับหนึ่ง คือต้องเป็นกิจการที่มีกำไรมาแล้ว มีร้านสาขาอยู่บ้าง และมีอายุธุรกิจนานพอที่จะเอาประสบการณ์มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ ดังนั้น ก่อนที่กิจการใดก็ตามที่คิดจะขายแฟรนไชส์ต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปในธุรกิจของตัวเองว่า พร้อมหรือยังและอยู่ในระดับใด ซึ่งการขายแฟรนไชส์โดยที่ยังไม่พร้อม จะไม่สำเร็จ และจะเกิดปัญหามากมายตามมา จนต้องกลับไปสู่จุดเริ่มต้นใหม่ หรือเลิกไปเลย อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับหลายกิจการมาแล้ว
 
3.จัดระเบียบธุรกิจใหม่ หรือ ทำร้านต้นแบบ

ทุกกิจการย่อมต้องพัฒนาตลอดเวลา ดังนั้นก่อนการขายแฟรนไชส์ จะต้องมีการจัดระเบียบการดำเนินงานร้านเสียก่อน ส่วนที่ดีอยู่แล้ว ก็กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานการทำงาน สิ่งที่ยังไม่ดีก็จัดระเบียบใหม่ เพื่อสร้างความเป็นมาตรฐาน เพื่อให้ร้านต่อไปได้ปฏิบัติตาม อย่างเป็นรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้ได้คุณภาพสินค้า การบริการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เหมือนกันทุกร้าน

ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า ทำเป็นร้านต้นแบบ หรือสร้างเป็นร้านตัวอย่างในแบบที่ต้องการขายแฟรนไชส์ เพื่อศึกษารายละเอียดและผลตอบรับในทุกแง่มุม ถ้าจะให้ดีให้ร้านต้นแบบนั้นอาจบริหารจัดการโดยผู้อื่น ที่ไม่ใช่คุณเป็นเจ้าของร้าน เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าถ้ามีการขายแฟรนไชส์ และดำเนินกิจการตามรูปแบบที่วางไว้ จะมีโอกาสสร้างกำไรให้กับกิจการได้อย่างต่อเนื่องในร้านต่อๆไป
      
4.ประมาณการ โครงสร้างทางการเงิน

ที่สำคัญยิ่ง ร้านต้นแบบนี้ จะนำมาใช้วางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี และคุ้มไหม ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้

ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้ จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และ ค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) ด้วย
 
5.สร้างแบรนด์ สร้างชื่อให้เป็นที่รู้จัก

หน้าที่สำคัญของผู้ขายแฟรนไชส์ ก็คือการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งก็เท่ากับเป็นการสร้างรายได้เข้าให้กับบริษัทแม่เอง หลายคนเดินผิดทาง มีจุดหมายขายแฟรนไชส์ เพื่อหวังค่าธรรมเนียมแรกเข้าอย่างเป็นกอบเป็นกำ โดยไม่ได้เอาใจใส่ในการทุ่มทุน ทุมแรงในการสร้างแบรนด์ และทำการตลาดให้สินค้า-บริการ ของตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในวงกว้าง

ซึ่งจะนำมาสู่ยอดขายที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ให้กับร้านแฟรนไชซี่ และเป็น Key Success ที่จะย้อนกลับมาที่บริษัทแม่อย่างมั่นคงกว่า ในรูปของค่าธรรมเนียมรายเดือน ซึ่งรายได้ที่แท้จริงจากการทำระบบแฟรนไชส์ บริษัทผู้ขาย แฟรนไชส์ส่วนมาก ที่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะขาดทักษะในการสร้างแบรนด์ หรือการทำการตลาดเพื่อสร้างเม็ดเงินเข้าร้านอย่างต่อเนื่อง

6.วางโรดเมฟ ในการขยายธุรกิจ

ผู้ที่ขายแฟรนไชส์ จะต้องมีแผนการอยู่ในใจว่าต้องการขยายธุรกิจอย่างไร เช่น เปิดเพิ่มในปีหน้า 100 สาขา หรือ ออกตัวแบบนิ่มๆไปก่อน 2 สาขา จะเห็นว่า การตั้งเป้าหมายทั้ง 2 แบบนี้ต่างกันสุดขั้ว การวางเป้าหมายมีความสำคัญ สำหรับกำหนดทิศทาง ว่ากิจการจะเดินไปอย่างไร จะทำอะไรบ้าง แค่ไหน อย่างไร เช่น การใช้งบการตลาด การเตรียมสรรหาพื้นที่ การจัดเตรียมบุคลากร การหาเงินทุน การทำการตลาดเพื่อขายแฟรนไชส์ เป็นต้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
      
7.การจัดทำคู่มือ การอบรม และระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจ
      
คู่มือการดำเนินธุรกิจ คือ หัวใจของแฟรนไชส์ และเป็นกระบวนการที่ต้องมี ในการทำระบบแฟรนไชส์ คุณจะถ่ายทอดประสบการณ์ทางธุรกิจที่มีมานานนับสิบปีให้แก่ผู้อื่นได้อย่างไร และจะควบคุมการทำงานให้ราบรื่น มีมาตรฐานเดียวกันทุกแห่งได้อย่างไร จัดทำคู่มือดำเนินงาน งานอบรม การสร้างระบบการอบรม ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ตามคู่มือที่กำหนดไว้ รวมไปถึงการสร้างระบบตรวจสอบคือคำตอบ
      
นอกจากการจัดเตรียม ความพร้อมแล้ว ก่อนการขายแฟรนไชส์ ที่กล่าวมาแล้ว สิ่งที่ต้องทำอีกเมื่อจะขายแฟรนไชส์ ก็คือ การทำสัญญาแฟรนไชส์ การทำเอกสารและสื่อเพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์ การทำการตลาดสรรหาแฟรนไชซี่ การคัดเลือกแฟรนไชส์ การสรรหาทำเลเปิดร้าน การสร้างร้าน และการอบรม
      
และเมื่อมีการขายแฟรนไชส์ไปแล้ว สิ่งที่ต้องทำก็คือ การเปิดร้าน การ เป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงานช่วงเริ่มต้น และสร้างระบบการสนับสนุนที่ต่อเนื่องรวมไปถึงพัฒนาสิ่งใหม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า อย่างไม่หยุดยั้ง
      
อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการแฟรนไชส์สนใจเรื่องการสร้างระบบแฟรนไชส์ สมาคมแฟรนไชส์ไทย กำลังจะจัดอบรม การสร้างระบบแฟรนไชส์ 30 ชั่วโมง จำนวน 5 วัน ในวันเสาร์ที่ 28 กุมภา, เสาร์ที่ 7 มีนาคม, ศุกร์ 13 มีนาคม (เยี่ยมชมกิจการแฟรนไชส์), เสาร์ 21 มีนาคม, เสาร์ที่ 28 มีนาคม 2558

ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.franchisefocus.co.th, หรือ สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-2321 7701-2, คุณเมย์ 08-6341-2973

อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์, สมาคมแฟรนไชส์ไทย
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
7,561
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
4,288
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,598
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,353
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
815
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
807
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด