บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
4.3K
2 นาที
3 กรกฎาคม 2552

กฎกติกาของเถ้าแก่


เรื่องของเรื่องคือไปร่วมเสาวนากับเถ้าแก่ใหญ่มา ทำให้เกิดความอยาก ที่จะมาแบ่งความคิดความรู้สึกของการเป็นเถ้าแก่ทั้งเล็กใหญ่ สู่กันบ้างตามภาษาคนกันเอง คนแต่ละคนเมื่อลงมือทำธุรกิจอาจจะมีต่างความคิด ต่างทฤษฎี แต่สิ่งที่เถ้าแก่เหล่านี้เหมือนกันก็คือไม่ได้เริ่มจากการคิดที่จะมุ่งสร้างรายได้ แต่เกิดจากความอยากที่จะทำตามความคิดของตัวมากกว่า ไอ้เรื่องเงินทองก็ต้องมีแหละครับ แต่ที่มันทุ่มเทไม่ใช้สตางค์อย่างเดียว แต่เป็นสิ่งที่อยากพิสูจน์ความคิด ของตัวเองที่จะสร้างและลงมือทำให้เกิดให้ได้ นี่คือสิ่งที่เป็นความมันในอารมณ์ของเถ้าแก่ที่ผมเจอ

อย่างที่สองก็คือ กล้า แต่ไม่บ้าบิ่น ระห่ำ แต่กล้าจนน่าเกรงใจ เพราะเรื่องบางเรื่องไกลเกินฝัน ไม่กล้าคิดไม่กล้าทำกันหรอกครับ ความคิดไม่ได้นอกกรอบอย่างเดียวแต่บางทีหลุดโลกไปเลย นอกจากนั้นการที่มีความสามารถสร้างทีมงานให้เข้าใจในหน้าที่บทบาทคือ สิ่งที่เป็นกฎกติกามารยาทของเถ้าแก่ตัวจริงที่ต้องมี
         
ถ้าพูดถึงการสร้างสำนึกของทีมงานนั้น เคยได้ฟังความคิดของธุรกิจค้าปลีกที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดของอเมริกา ห้างๆนี้ชื่อว่า นอร์ดสตอม Nordstrom เขาพูดถึงการสร้างสำนึกในการรับผิดชอบหน้าที่ของทีมงานเอาไว้ว่า “จงตั้งจุดหมายของคุณทั้งเรื่องส่วนตัว เละเรื่องงานไว้ให้สูง เรามั่นใจอย่างยิ่งว่า คุณสามารถบรรลุจุดหมายเหล่านั้นได้  กฎข้อเดียวของ  นอร์ดสตอมNordstrom  คือ  ให้การตัดสินใจที่ดีของคนในทุกสถานการณ์และไม่มีกฎอื่นใดเพิ่มเติม” ความหมายของแนวคิดที่ออกมาในการทำงานของพนักงานในนอร์ดสตรอมก็คือ พนักงานสามารถตัดสินใจในเรื่องใดๆที่เกี่ยวข้องกับงาน โดยเฉพาะการให้บริการลูกค้าให้ได้รับประโยชน์สูงสุดได้ด้วยตัวเอง เรียกว่า ถ้าตั้งใจทำในสิ่งที่ดีๆให้กับลูกค้าไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอน

วันนี้แม้ว่า ธุรกิจห้างสรรพสินค้าจะโดนกระแสของ ร้านเฉพาะทางแบบ ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือ แคตตากอลี่ คิลเลอร์ เข้ามามีบทบาทแทนนอร์ดสตรอม ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่พิสูจน์ อยู่ตรงที่ วันนี้ห้างนอร์ดสตรอมก็ยังคงยืนอยู่ได้ ขณะที่ห้างอื่นลาลับไปเป็นส่วนใหญ่แล้วก็ตาม



 

เถ้าแก่ ไม่ว่ายุคสมัยใดก็ตามต้องล้วนฝ่าฟันอุปสรรคเล็กใหญ่ด้วยกันทั้งนั้น

กฎการเป็นเถ้าแก่ในระบบแฟรนไชส์ก็ต้องเป็นเช่นเดียวกัน แม้ว่าการเป็นเถ้าแก่โดยลงทุนกับแฟรนไชส์ที่มีทั้งความรู้และชื่อเสียงที่ดีแล้วก็ตาม การผลักดันธุรกิจก็ยังต้องลงมือทำเองด้วยเสมอ เถ้าแก่ในระบบแฟรนไชส์นั้นเป็นความรู้สึกก้ำกึ่งกับการเป็นเจ้าของที่มีอำนาจตัดสินใจเองทุกๆเรื่อง กับการเป็นลูกทีมในองค์กร ที่การทำงานต้องขึ้นอยู่กับกฎระเบียบตัดสินใจเองไม่ได้ เพราะเป็นแฟรนไชส์ซีต้โองมีทั้งความเป็นเจ้าของและต้องปฎิบัติตามรูปแบบของนโยบายหรือวิธีการทำงานที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีด้วย เพราะการทำงานในระบบแฟรนไชส์นั้นจะกระทบต่อภาพพจน์ของร้านทุกร้านในเครือข่ายได้ทันทีถ้ามีอะไรผิดพลาด

การทำตามกฎกติกาก็คือ การลดความเสี่ยงของสมาชิกในกลุ่มนั่นเอง แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่า จะคิดอะไรใหม่ๆ ทำอะไรให้ฉีกแนวไม่ได้เลย การคิดสิ่งใหม่สร้างสรรค์เป็นสิ่งดี แต่ต้องมีการทำงานร่วมมือกับทุกฝ่ายก่อน สำนักงานใหญ่เองก็ต้องมองก่อนว่าสิ่งที่เป็นความคิดใหม่ๆเหล่านั้นดีกับทุกคนในระบบหรือเปล่า ไม่ใช่ดีต่อสาขาใดเพียงกลุ่มเดียว หรือขัดกับนโยบายแนวคิดการทำงานของบริษัทหรือไม่ ต้องมีการทดลองการผลิต การทดสอบตลาด ดังนั้นแน่นอนบางครั้งก็อาจไม่ทันใจเถ้าแก่บางกลุ่มไปด้วย
 


ถ้าจะสังเกตจากวิธีการเลือกแฟรนไชส์ซีที่จะมาเป็นเถ้าแก่ของเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์  ดูแล้วจะเห็นว่าเขามักจะเน้นเลือกผู้ตามที่ดีมากกว่าผู้นำที่เข้มข้น เพราะระบบแฟรนไชส์พอใจที่จะให้ผู้ที่อยู่ในระบบเข้าใจและปฎิบัติตามมากกว่าจะออกมาเป็นผู้นำ เพราะการอยู่เป็นกลุ่มมาจากหลายทิศหลายทางนั้น  ถ้ามีผู้นำหลายฝ่ายแล้วดูจะสร้างความยุ่งยากมากกว่าให้ความเจริญในธุรกิจ ดังนั้นกฎกติกาของเถ้าแก่แฟรนไชส์จึง ต้องเป็นผู้ตามที่ดีได้
 

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,686
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,828
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด