บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
5.9K
2 นาที
24 มีนาคม 2559
5 ขั้นตอนทำธุรกิจตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์


 
การขายแฟรนไชส์ถือได้ว่าเป็นการต่อยอดทางธุรกิจที่มีความน่าสนใจในยุคปัจจุบัน

โดยเฉพาะธุรกิจที่มีจุดซัพพลายเกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภคและงานบริการเป็นหลัก เพราะธุรกิจจำพวกนี้จะวัดความสำเร็จได้ด้วยความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก เรียกได้ว่าใครมีเคล็ดลับ จุดเด่น และฝีมือที่เหนือกว่าคนอื่นถือว่าได้เปรียบ

ดังนั้นการต่อยอดธุรกิจด้วยวิธีการทำเป็นแฟรนไชส์จึงเป็นแนวทางที่คุณสามารถทำได้ในทันที แต่คุณต้องมีความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ดีพอ

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีเทคนิคง่ายๆ ในการเปลี่ยนธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ มาฝากผู้ที่สนใจอยากขยายธุรกิจ รวมถึงเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการเติบโตในอนาคต ด้วยระบบแฟรนไชส์

1. ประเมินความเป็นได้ของธุรกิจ
 

คุณอย่าคิดว่าทุกธุรกิจสามารถทำเป็นแฟรนไชส์ได้ คิดจะขายแฟรนไชส์ก็ขายได้ทันที ธุรกิจที่จะทำเป็นแฟรนไชส์และขายสิทธิให้กับคนอื่นได้นั้น ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน

ไม่ว่าจะเป็นที่นิยมชมชอบของลูกค้า เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นกิจการที่มีผลกำไรมาแล้ว มีร้านสาขาอยู่บ้าง มีอายุธุรกิจนานพอที่จะสามารถนำเอาเทคนิคและรูปแบบบริหารมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ และมีการสร้างทีมงานที่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์

ดังนั้นก่อนที่คุณคิดจะนำธุรกิจไปขายแฟรนไชส์ ต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน อยู่ในระดับไหนแล้ว เพราะการขายแฟรนไชส์ต้องมีความพร้อม ถ้าไม่พร้อมก็จะเกิดปัญหาตามมามากมาย อาจต้องกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่

2. ทำร้านต้นแบบ


ถือเป็นการจัดระเบียบธุรกิจในรูปแบบใหม่ ทำให้ธุรกิจหรือกิจการของคุณมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะลูกค้าที่จะมาซื้อแฟรนไชส์จากคุณไปเขาก็ต้องมาดูว่าคุณมีร้านต้นแบบหรือไม่ ประสบความสำเร็จ สามารถดึงดูดลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน

ดังนั้นก่อนที่คุณจะขายแฟรนไชส์ต้องมีการจัดระเบียบร้านค้าให้ดูดีก่อน มีการกำหนดรูปแบบให้เป็นมาตรฐานการทำงาน สิ่งที่ไม่ดีก็จัดระเบียบใหม่เพื่อสร้างมาตรฐาน ร้านต่อไปจะได้นำรูปแบบไปปฏิบัติตามได้ถูกต้อง

เพื่อให้ได้คุณภาพสินค้า การบริการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เหมือนกันทุกร้าน เรียกได้ว่าร้านต้นแบบจะทำให้คุณทราบถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ รับรู้ถึงผลกำไร-ขาดทุน รู้ว่ากลุ่มลูกค้าเป็นใคร

3. วิเคราะห์วางแผนทางการเงิน


ร้านต้นแบบจะเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่  และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี 

และคุ้มไหมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้  ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee)  และค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) ด้วย

4. สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก


หากคุณคิดจะทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ต้องลองสำรวจตลาดก่อนว่า แบรนด์สินค้าและบริการธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปหรือไม่ ถ้าคนไม่รู้จัก ธุรกิจคุณก็ไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้

ดังนั้นการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักก็เท่ากับว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจคุณด้วย ถ้าแบรนด์สินค้าของคุณดีก็จะมีคนบอกต่อปากต่อปาก ขยายฐานตลาดให้กว้างขึ้น นำไปสู่ยอดการขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แบรนด์จะเป็นหน้าตาของธุรกิจคุณ เมื่อขายให้แฟรนไชส์ซีไปแล้วแบรนด์นั้นก็จะติดไปด้วย ถ้าลูกค้ารู้จักแบรนด์คุณมาก่อน ก็จะทำให้แฟรนไชส์ซีขายสินค้าได้เหมือนกับคุณ ไม่ว่าจะไปตั้งร้านอยู่ที่ไหนก็ตาม นั่นก็จะสร้างความมั่งคงกลับมาให้กับธุรกิจคุณด้วย

5. จัดทำคู่มือการถ่ายทอดระบบแฟรนไชส์


ระบบแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีคู่มือการดำเนินธุรกิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับร้านต้นแบบ คู่มือดังกล่าวจะเป็นไกด์หรือรูปแบบการบริหารธุรกิจที่คุณจะถ่ายทอดประสบการณ์ทางธุรกิจที่มีมานานให้แก่ผู้อื่น

คู่มือนี้จะสามารถควบคุมให้การบริหารงานในระบบแฟรนไชส์ได้ง่ายและราบรื่นขึ้น ไม่ว่าคุณจะขายแฟรนไชส์กี่สาขา ทุกสาขาก็จะยึดแนวทางการบริหารธุรกิจและบริการในรูปแบบเดียวกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ดังนั้น ถ้าคุณต้องการที่จะทำแฟรนไชส์ ต้องอย่าลืมจัดทำคู่มือการดำเนินงานตามแบบธุรกิจคุณประสบความสำเร็จมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การตกแต่งร้าน การทำตลาดและประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่นต่างๆ การบริหารจัดการด้านการเงิน บริหารสต็อก เป็นต้น

ทั้งหมดถือเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ซึ่งจริงๆ แล้วหลักการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่อยู่ๆ จะลุกขึ้นมาเปิดขายแฟรนไชส์กันเลย คุณต้องทำการศึกษาระบบและกระบวนการแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้


นอกจากจะสร้างธุรกิจให้มีชื่อเสียงในตลาดแล้ว ลูกค้าชื่นชอบ คุณอาจจะต้องเข้าคอร์สและผ่านอบรมการทำธุรกิจแฟรนไชส์จากสถาบันที่เกี่ยวข้อง หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ด้วย

สำหรับใครที่สนใจข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ หรือ ขอคำปรึกษาเรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ สอบถามได้ที่ โทร.02-8967330
 


 
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
23,093
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,072
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
1,957
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,852
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,242
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,194
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด