บทความทั้งหมด    บทความค้าขาย    การบริหารจัดการร้านค้า    การเช่าพื้นที่ หาทำเล เปิดร้าน
3.7K
2 นาที
26 เมษายน 2559
หาทำเลการค้า ทำเลค้าขาย การลงทุน ด้วย GIS


ในโลกยุคใหม่เทคโนโลยีถูกพัฒนาเพื่อช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับทุกคนมากยิ่งขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งในการเลือกทำเลเพื่อการทำธุรกิจซึ่งปัจจุบันไม่จำเป็นต้องใช้การวิเคราะห์จากตัวบุคคลเพียงอย่างเดียวแต่มีระบบที่เรียกย่อๆว่า “GIS” 
 
มาอำนวยความสะดวกทำให้การเลือกทำเลมีประสิทธิภาพได้อย่างมืออาชีพมากขึ้น
 
www.ThaiFranchiseCenter.com อยากให้ทุกคนได้รู้จักกับระบบ “GIS” ที่ว่านี้มากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นธุรกิจแต่ยังมองหาทำเลที่ดีไม่ได้ระบบที่ว่านี้อาจทำให้เรื่องที่ดูเหมือนยากกลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นทันตาเห็นได้เลยทีเดียว
 
ระบบ GIS คืออะไร?
 
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์

โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยายหรือข้อมูลคุณลักษณะ (attribute data) และสารสนเทศ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ (spatial data) เช่น ตำแหน่งบ้าน ถนน แม่น้ำ เป็นต้น ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูล
 
GIS อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่ซับซ้อน พูดให้เข้าใจง่ายนี่คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมข้อมูลภูมิศาสตร์บนโลก รวมทั้งข้อมูลเสริมอื่นๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์แสดงผลในรูปแบบต่างๆ ให้สามารถเข้าใจง่ายและสะดวกในการตัดสินใจมากขึ้น
 
ข้อมูลสำคัญที่นำมาใช้ในการหาทำเล
 
การใช้ GIS เพื่อหาทำเลธุรกิจ ก็เหมือนการเอาข้อมูลสำคัญๆมาเชื่อมกันแบบขนมชั้น ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ฐานสำคัญคือ

1.ฐานข้อมูลแผนที่ทางภูมิศาสตร์
 
ปัจจุบันข้อมูลแผนที่ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทยมีการกำหนดขึ้นมาอย่างชัดเจนนับล้านจุด เช่นจุดถาวรของวัด , จุดถาวรของโรงเรียน , สถานที่ราชการต่างๆ  , ตลาด , ที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังมีจุดที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงทุกปีต้องมีการอัพเดทต่อเนื่องเช่นบริษัท ร้านสะดวกซื้อ  ร้านอาหาร ฯลฯ
 
2.ฐานข้อมูลแผนพื้นที่ฐาน
 
เป็นขอบเขตของสาธารณูปโภคในด้านต่าง รวมถึงการแสดงพื้นที่เขตการปกครอง  ทางรถไฟ  ถนน  ทางด่วน  ข้อมูลส่วนนี้ต้องมีการอัพเดทอยู่ต่อเนื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงเพื่อการวิเคราะห์จะได้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

3.ฐานข้อมูลทางการ

คือฐานข้อมูลจำนวนประชากร  มีการแบ่งแยกเพศชายหญิงชัดเจน จำนวนครัวเรือนในพื้นที่ ข้อมูลส่วนนี้ถ้ามีความละเอียดมากจะสามารถกำหนดได้ถึงบ้านเลขที่ เชื้อชาติ ศาสนาของคนในพื้นที่นั้นๆ ในการหาทำเลด้านการค้าถ้าข้อมูลส่วนนี้ไม่เพียงพออาจต้องเสริมด้วยฐานข้อมูลอื่นด้วยเช่นฐานข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นต้น
 
4.ฐานข้อมูลลูกค้า
 
คือการรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากหลายแหล่งเช่นแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้จ่าย หรือข้อมูลจากบัตรสมาชิกที่จะระบุรายได้ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา  ความสนใจในกีฬา การท่องเที่ยวและงานอดิเรก ข้อมูลเหล่านี้ก็จะมาเป็นส่วนหนึ่งในระบบของ GIS เพื่อให้การวิเคราะห์มีความละเอียดใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด
 
5.ฐานข้อมูลธุรกิจ/ร้านค้า
 
เป็นข้อมูลในส่วนของร้านค้าและบริการ อำนวยความสะดวกในเรื่องการคำนวณผลประกอบการล่วงหน้าด้วยความน่าจะเป็น จึงต้องมีการใส่ข้อมูลด้านอื่นๆมาประกอบก่อน

จากนั้นจึงเป็นข้อมูลทางร้านค้าหรือธุรกิจที่มี การกำหนดพิกัดของร้าน ปริมาณสินค้า ประเภทสินค้า ขนาดของร้าน ก็จะได้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับยอดขาย ส่วนนี้ช่วยในการประเมินเบื้องต้นว่าถ้าเกิดปัญหาเรื่องยอดขายไม่ตามเป้าจะต้องแก้ไขที่ส่วนใดได้บ้าง
 
นอกจากนี้ GIS ยังมีประโยชน์ในการช่วยเรียงลำดับความสำคัญว่าควรทำธุรกิจในพื้นที่ใดก่อนหลัง ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นที่วิเคราะห์ด้วยระบบนี้อาจจะเริ่มเปิดในย่านที่กำลังซื้อสูงคนอยู่หนาแน่นและค่อยขยับไปยังคอมมิวนิตี้มอลล์ย่านชานเมือง เมื่อความต้องการในย่านนั้นเริ่มสูงขึ้น เป็นต้น
 
“GIS” เป็นเครื่องมือที่ดีแต่ไม่ได้การันตียอดขายแบบ 100 %

แม้ว่า “GIS” จะเป็นเครื่องมือที่ดีแต่ถึงอย่างไรก็ไม่ได้การันตีว่าในทำเลที่ GIS ระบุจะทำยอดขายได้อย่างถล่มทลาย แต่นี่คือการลดต้นทุนประเภทหนึ่งสำหรับการเลือกพื้นที่ที่น่าจะดีที่สุดกับธุรกิจ เช่นแทนที่จะใช้คนจำนวนมากในการออกหาทำเลที่ต้องเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

รวมถึงเรื่องความคิดและประสบการณ์ที่ต่างกันทำให้มุมมองของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป GIS  จึงเข้ามาช่วยลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้น้อยลงและทำให้เราเริ่มทำธุรกิจได้รวดเร็วขึ้นด้วย ในต่างประเทศเองการใช้เครื่องนี้เป็นที่นิยมมากเพราะช่วยลดความเสี่ยงในเบื้องต้นได้มากพอสมควร
 
ในประเทศไทยเองแม้เรื่องนี้จะยังไม่ค่อยคุ้นเคยและหลายคนก็ยังใช้ประสบการณ์และเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของตัวเองมากกว่า ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่ถ้าเอาทั้งวิสัยทัศน์และระบบฐานข้อมูลมาผนวกรวมกันน่าจะได้คำตอบทางธุรกิจที่มีประโยชน์อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้นแน่นอน
 
 
เรียบเรียงโดย ThaiFranchiseCenter.com
 
บทความค้าขายยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ทีมไหน! หา"ทำเล"ก่อนทำธุรกิจ vs เลือก "ธุรกิจ" ก..
406
บทความค้าขายมาใหม่
บทความอื่นในหมวด