บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    การจดทะเบียนแฟรนไชส์ เครื่องหมายการค้า
9.2K
2 นาที
22 พฤศจิกายน 2549
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
 

ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่นำมาใช้จัดเก็บแทนที่ภาษีการค้า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นมา พร้อมกับภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีการบริโภค
ซึ่งกำหนดให้จัดภาษีเป็นรายเดือนภาษี เนื่องจากไม่อาจจัดเก็บโดยตรงได้จากผู้บริโภค จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้บริโภค แต่มีจำนวนไม่มากนัก พอที่รัฐจะสามารถบริหารการจัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ สิทธิประโยชน์ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ผู้ประกอบการ อยู่หลายประการ

อาทิ การนำภาษีซื้อ มาเครดิตหักออกจากภาษีขาย ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงมีทั้งความเปราะบาง อ่อนไหว และเสี่ยงต่อการหลบหลีก หรือเลี่ยงภาษีได้ง่ายมากกว่าภาษีเงินได้ ที่จัดเก็บภาษีรายปี ดังนั้น เพื่อให้การบริหารการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการกำกับดูแล ให้ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยถูกต้องครบถ้วน ตามที่กฎหมายกำหนด จึงมีการบัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่ ของผู้ประกอบการในส่วนที่เกี่ยวกับ ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไว้ในกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
 
ในขณะนี้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มใช้บังคับมาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว จึงสมควรที่จะทบทวนความรู้ความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติ เกี่ยวกับ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอีกครั้งหนึ่ง ประจวบกับอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 131) เรื่องกำหนดแบบหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2545 โดยให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังกลับไปตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นมา ไขปัญหาภาษีจึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
 
ปุจฉา ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในข่าย ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในราชอาณาจักร ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด
 
วิสัชนา ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในราชอาณาจักร ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้
  1. ในปีใดที่ผู้ประกอบการมีขนาดรายได้จากการประกอบกิจการเกินกว่า 1,200,000 บาท ให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายได้เกินกว่าเกณฑ์ดังกล่าว
  2. ในกรณีที่ผู้ประกอบการยังมีรายได้จากการประกอบกิจการไม่เกิน 1,200,000 บาท ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีความประสงค์ที่จะเข้าไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ให้กระทำได้โดยยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่ออธิบดีกรมสรรพากรได้ทันที ที่มีความประสงค์ดังกล่าว


     
  3. สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการขายสินค้าหรือการให้บริการบางประเภท เช่น ประกอบกิจการขายสินค้าที่เป็นพืชผลทางการเกษตร ที่ยังไม่แปรรูป สัตว์ และส่วนต่างๆ ของสัตว์ ที่ยังไม่แปรรูป ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการบำรุง รักษา ป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน การขนส่งทางอากาศโดยอากาศยานในราชอาณาจักร เป็นต้น

    ที่มีความประสงค์ที่จะเข้าไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ให้กระทำได้โดยยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่ออธิบดีกรมสรรพากรได้ทันที ที่มีความประสงค์ดังกล่าวเช่นเดียวกัน
ในการจดทะเบียน ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ . พ .01 แจ้งรายการรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในทางทะเบียน เช่น ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้งของสถานประกอบการ ประเภทกิจการที่กระทำเป็นปกติ ประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทำเป็นส่วนใหญ่ โดยให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ สำหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือ ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ สำหรับผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตต่างจังหวัด
 

ปุจฉา
เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว ผู้ประกอบการจะได้สิทธิประโยชน์ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร
 
วิสัชนา เมื่อได้จดทะเบียนเป็น " ผู้ประกอบการจดทะเบียน " แล้ว จะก่อให้เกิดสิทธิต่างๆ ดังนี้
  1. สิทธิในการออกใบกำกับภาษี เมื่อมีการขายสินค้าหรือการให้บริการให้แก่บุคคลอื่น
  2. สิทธิในการเรียกเก็บภาษีขายจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
  3. สิทธิในการนำภาษีซื้อมาเครดิตหักออกจากภาษีขายใน การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ
  4. สิทธิในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่ในเดือนภาษีใดมียอดภาษีซื้อมากกว่ายอดภาษีขาย
  5. สิทธิที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0% ตามที่กฎหมายกำหนด
 
ปุจฉา ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องใช้หลักฐานใดบ้าง
 
วิสัชนา ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการต้องใช้หลักฐานดังนี้
  1. คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ . พ . 01 จำนวน 5 ฉบับ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว
  3. บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว


     
  4. สัญญาเช่าอาคารอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ ( กรณีเช่า ) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการและหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นเจ้าบ้าน , สัญญาซื้อขาย , คำขอหมายเลขบ้าน , ใบโอนกรรมสิทธิ์ , สัญญาเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ และภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
  5. หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว ( กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล )
  6. หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว ( กรณีเป็นนิติบุคคล )
  7. บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
  8. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายของสถานประกอบการ จำนวน 2 ชุด
  9. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป 
อ้างอิงจาก: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ : ไขปัญหาภาษี


ท่านใดสนใจอยากให้จดเครื่องหมายการค้า แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
โกลเด้นเบรน (Golden Brain) คว้ารางวัล “MOST POPU..
4,652
บุกไทยแล้ว! Zhengxin Chicken แฟรนไชส์ไก่ทอดจีน ส..
3,844
ซื้อแฟรนไชส์ คาเฟ่ อเมซอน (Shop) วันนี้ คืนทุนเม..
3,498
6 อันดับแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดส์ ที่มีสาขามากสุด..
1,811
Bingxue (บิงเสวีย) ท้าชน Mixue (มี่เสวี่ย) ในไทย..
1,599
5 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนกรกฏาคม 2567
1,322
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด