บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.7K
2 นาที
6 มิถุนายน 2559
แฟรนไชส์ การลงทุนที่ต้องคิด!

 
 
ทุกวันนี้คำว่า “แฟรนไชส์” หลายคนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ด้วยเห็นตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ที่เติบโตอย่างรวดเร็วบางคนเป็นนายของตัวเอง ไม่ต้องเป็นลูกน้องใคร ไม่ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งและแรงกดดัน

หลายคนเห็นกำไรจากการขายของในธุรกิจนี้คิดว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย แค่เสียเงินและซื้อระบบแฟรนไชส์มาที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกโดยที่ตัวเองไม่ต้องทำอะไรมาก เรียกว่าแค่จ่ายเงินแล้วก็รอแบบเสือนอนกิน 
 
ซึ่งถ้าทั้งหมดนี้เป็นความคิดของคุณที่เกิดขึ้นจริง www.ThaiFranchiseCenter.com ขอบอกว่า “นี่คือความคิดที่ผิดอย่างสิ้นเชิง” แม้การเลือกซื้อแฟรนไชส์จะเป็นเส้นทางอาชีพที่ดีแต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเส้นทางเดินของคุณจะราบรื่นเหมือนอยู่บนถนนคอนกรีตเสมอไป
  
3 สิ่งต่อไปนี้จะเป็นการยืนยันให้คุณรู้ว่าแฟรนไชส์ต่อให้ดีแสนดีแค่ไหนสิ่งสำคัญก็ยังอยู่ที่ตัวของคุณเสมอ

1. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ของแฟรนไชส์ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้คุณขายของได้ดีโดยที่ไม่ต้องทำอะไร


 
เป็นรายละเอียดของแฟรนไชส์เกือบทุกที่ซึ่งจะระบุไว้ว่ามีการโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือแฟรนไชส์บางอย่างเป็นสินค้าที่ผู้คนรู้จักกันดีแทบจะไม่ต้องมีการโฆษณาก็สามารถเป็นที่รู้จักเมื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์นั้นๆขึ้นมา ซึ่งผู้ลงทุนทั้งหลายก่อนซื้อแฟรนไชส์ใดๆก็มักจะมองที่ภาพลักษณ์ส่วนนี้เป็นอันดับแรก 
 
นักเศรษฐศาสตร์ทางธุรกิจได้กล่าวมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจในการซื้อแฟรนไชส์ว่า“To popularize the product , it does not mean that you will always be profitable” (การที่สินค้าติดตลาดก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องได้กำไรเสมอไป)

นั้นเพราะว่าสิ่งที่คุณต้องทำหลังจากซื้อแฟรนไชส์มาต่อให้ภาพลักษณ์ดีแค่ไหนก็ตาม จะต้องไม่ลืมว่า “คนที่ขายสินค้าชนิดนั้นคือตัวเราไม่ใช่บริษัท” ดังนั้นในหลักการตลาดหากขาดความเชื่อถือต่อกันย่อมไม่เกิดการซื้อขาย 
 
 
เมื่อสินค้าดีมีภาพลักษณ์น่าจดจำสิ่งที่เราต้องทำคือ “สร้างภาพให้คนรู้จักเรา” เพื่อให้เขารู้ว่าเราขายสินค้าประเภทนี้ สิ่งที่ทุกคนรู้คือ “สินค้าดี” แต่ที่คนยังไม่รู้คือ “ทัศนคติของคนขาย(The attitude of the salesman)”

ดังนั้นยิ่งแฟรนไชส์มีการโหมโฆษณาเพื่อสร้างภาพให้คนรู้จักมากเท่าไหร่ผู้ลงทุนก็ต้องยิ่งประชาสัมพันธ์ตัวเองให้คนทั่วไปรู้จักมากขึ้นคำว่า แฟรนไชส์ที่ดีและมีประสิทธิภาพจึงจะเริ่มต้นขึ้นได้อย่างแท้จริง

2. แฟรนไชส์ที่ดีก็ต้องอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน

 
คำว่าแฟรนไชส์เป็นแบรนด์ที่ทุกคนยอมรับแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะคิดแบบนี้ได้โดยไม่คำนึงถึงพื้นที่การขาย ด้วยเหตุนี้ก่อนที่จะเลือกซื้อแฟรนไชส์ใดๆก็ตามคุณต้องมีทำเลการขายอยู่ในใจและดูความเหมาะสมของพื้นที่นั้นๆว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณต้องการลงทุนหรือไม่
 
ยกตัวอย่างของ Jimmy John’s นักลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์เปิดร้านขายของบนเกาะสแตเทน (Staten Island) ซึ่งเป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ในอ่าวนิวยอร์คตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองที่นี่มีคนมากมายหลายภาษามีกลุ่มเศรษฐีและนักท่องเที่ยวในระดับหนึ่ง

แต่ในภาพรวมนี่คือเกาะที่เหมาะกับการท่องเที่ยวการเปิดร้านขายของแบบทั่วไปไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนต้องการในแฟรนไชส์เดียวกันนี้ถ้าไปเปิดในเมืองอื่นที่วิถีชีวิตถูกโยงให้มาเข้ากับสินค้าจะกลายเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วมากแต่ไม่ใช่ที่ Staten Island แห่งนี้ สุดท้าย Jimmy ต้องปิดร้านแฟรนไชส์บนเกาะนี้  
 
นั่นเพราะคำว่า “ความไม่เหมาะสม” ยังมีพลังที่ทำให้ธุรกิจไม่เดินหน้าไปสู่ความสำเร็จได้

3. ถ้าคิดจะยกเลิกแฟรนไชส์ก็ต้องศึกษาสัญญาให้ถี่ถ้วน

 
หลายคนบอกว่าแฟรนไชส์เข้าง่ายออกง่ายขายดีก็ทำต่อไปถ้าขายไม่ดีจะเลิกขายเมื่อไหร่ก็ได้ ในแง่ของการลงทุนสิ่งเหล่านี้ถือเป็นความคิดที่ผิดมหันต์นอกจากจะทำให้ธุรกิจเดินหน้าไม่เต็มที่เพราะคิดว่าเข้าง่ายออกง่ายยังเป็นการสร้างนิสัยที่ไม่รู้จักทำอะไรอย่างเต็มที่

ดังนั้นต่อให้มีแฟรนไชส์ที่ดีแสนดีขนาดไหนถ้าการทำงานยังลุ่มๆดอนๆทุกอย่างไม่จริงจัง โอกาสสำเร็จนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
 
และอย่าคิดว่าการเลิกแฟรนไชส์นั้นคือทางออกที่ดีที่สุด สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้ให้ถ่องแท้คือ “สัญญาในแฟรนไชส์” แฟรนไชส์ที่ดีย่อมไม่ร่างสัญญามาเอาเปรียบผู้ลงทุน

แต่สัญญาของแฟรนไชส์มีไว้สำหรับคนที่อยากลงทุนจริงๆเท่านั้น (The franchise agreement is for people who really want to invest only) นี่คือการสกรีนคนในเบื้องต้นใครไม่แน่ใจ ใครคิดว่าไม่ใช่แนะนำว่าอย่าเพิ่งเข้ามาในธุรกิจแฟรนไชส์เด็ดขาด
 
การยกเลิกการขายไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะยุติบางครั้งการละเมิดสัญญาด้วยตัวคุณเองก็ยังต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ต่อไปจนกว่าจะครบกำหนด รวมถึงค่าผูกพันต่างๆ ที่ระบุไว้ตามสัญญา
 

เหมือนกรณีของแฟรนไชส์หนึ่งในเมืองเดลีที่ผู้ลงทุนยกเลิกสัญญาด้วยตัวเองและไม่ยอมจ่ายในส่วนที่เป็นภาระผูกพันตามสัญญานำไปสู่การต่อสู้กันทางกฏหมายแน่นอนว่าผู้ลงทุนต้องเป็นฝ่ายแพ้เพราะนี่คือการยกเลิกสัญญาแบบที่ไม่มีเหตุผลอันสมควรซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิด
 
ก่อนการลงทุนทุกครั้งเราจึงต้องมั่นใจหรือถ้าลงทุนไปแล้วเกิดปัญหาระหว่างทางสิ่งที่ดีคือการปรึกษาเพื่อนำไปสู่การเจรจาหาข้อยุติที่ลงตัวและเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย
 
อย่างไรก็ดีการซื้อแฟรนไชส์ไม่ใช่สิ่งที่เราควรจะวิตกกังวลเพราะระบบของแฟรนไชส์แต่ละแห่งผ่านการคัดกรองและสร้างสรรค์มาอย่างมีคุณภาพ คนที่ซื้อแฟรนไชส์แล้วประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็วนั้นมีมาก

แต่จุดเริ่มคือตัวผู้ลงทุนต้องมีวิสัยทัศน์ มีความขยัน และทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างแท้จริง เมื่อระบบดี คนลงทุนดี สิ่งที่ตอบแทนคือผลกำไรงดงาม  ทุกอย่างเริ่มต้นจากตัวคุณเองล้วนๆ
 
ขอบคุณข้อมูลจาก https://goo.gl/FNvYQg 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,272
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,478
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,238
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,268
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,227
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด