บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
28K
4 นาที
14 กรกฎาคม 2559
5 เทคนิคเลือกซื้อแฟรนไชส์ แบบไม่ผิดหวัง!


 
  
หลายคนที่เลือกลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ อาจมองว่าเป็นทางลัดในการทำธุรกิจ ไม่ต้องเสียเวลาทำการตลาด สร้างแบรนด์ เพราะเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ได้วางระบบและรูปแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเอาไว้รอเรียบร้อย

แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จในการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์เสมอไป บางคนเลือกลงทุนแฟรนไชส์ตามกระแส แต่ตัวเองไม่มีความสนใจเลยก็เจ๊ง หรือบางคนไม่ศึกษาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ให้แน่ชัด ทำไปแล้วไม่ชอบ สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการไปโดยปริยาย  
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จึงมีเทคนิคในการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ให้ได้ดั่งใจคุณ แบบไม่ต้องผิดหวัง หากต้องจ่ายเงินซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว มาฝากผู้ที่สนใจซื้อและอยากประกอบธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ครับ 
 
1.เลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยู่ในความสนใจ


 
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกลงทุนซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ใดๆ คุณต้องถามตัวเองก่อนว่าชอบหรือสนใจทำธุรกิจอะไร เพราะถ้าเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณสนใจ จะทำให้คุณมีความตั้งใจบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

โดยมากแล้วคนที่คิดจะทำอะไรสักอย่าง ต้องคิดไว้แล้วในใจบ้างแล้ว เช่น บางคนบอกว่า อยากทำแฟรนไชส์ร้านอาหาร แฟรนไชส์กาแฟ หรือบางคนก็สนใจกิจการซื้อมา-ขายไป ร้านค้าปลีก เป็นต้น 
 
ดังนั้น ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์อะไร คุณก็ต้องโฟกัสที่ตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก เพราะคนทุกคนเกิดมาให้มีความถนัดคนละอย่าง บางคนชอบขายของ ทำอาหาร ชอบบริการ ชอบชิม รักเด็ก บางคนชอบพูดคุยพบปะกับคนอื่น

บางคนรักงานช่าง ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ พบว่าจะมีใจรักที่ทำ จึงทนกับปัญหาที่เกิดขึ้นและมองเห็นช่องทางแก้ไขได้เสมอ ดังนั้น คุณควรโฟกัสธุรกิจที่คุณสนใจจริงๆ เพื่อความชัดเจนในการทำธุรกิจ 

2.เลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด


 
การเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น หรือไม่ก็เลือกลงทุนธุรกิจที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ตัวอย่างบเช่น ถ้าคุณมีอพาร์ทเม้นท์หรือหอพักให้เช่า อาจจะต้องลงทุนซื้อเครื่องซักผ้า หรือตู้หยอดเหรียญมาไว้คอยบริการผู้เช่า หรือถ้าคุณอยู่ในตลาด ก็อาจจะทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร

หรือบางคนอยู่ในแวดวงลูกค้าต่างชาติ ก็เลือกธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ หรือธุรกิจร้านอาหารนานาชาติมารองรับพวกเขา เป็นต้น ซึ่งเท่ากับว่าเลือกธุรกิจที่มีตลาดรองรับอยู่ในมืออยู่แล้วนั่นเอง ถ้าคุณแน่ใจว่ามีกลุ่มตลาดอยู่ในมือก็มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง
 
3.เลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับเงินทุนในกระเป๋า 

 
 
เมื่อคุณเลือกได้แล้วว่าจะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทไหน ต่อมาก็มาดูกำลังเงินในกระเป๋า ว่ามีเงินทุนเพียงพอที่จะซื้อแฟรนไชส์นั้นหรือไม่ ถึงแม้ว่าคุณสนใจธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ แต่ถ้าไม่มีเงิน ก็ควรเปลี่ยนไปดูธุรกิจอื่นที่เหมาะสมกับคุณและเงินในกระเป๋าคุณ คุณอาจจะต้องตัดแฟรนไชส์ที่ลงทุนเกินกำลังของคุณออกไป
 
แต่ถึงอย่างไร ปัจจุบันได้มีสถาบันการเงินหลายแห่ง ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้สนใจทำธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ กสิกรไทย เอสเอ็มอีแบงค์ ธนาคารกรุงเทพ และสถาบันการเงินอื่นๆ โดยมีเงื่อนไขการกู้ที่ผ่อนปรนมากกว่าแต่ก่อนมาก แต่อาจจะต้องมีเงินบางส่วน ที่เหลือหาจากแหล่งต่างๆ เช่น เงินเก็บส่วนตัว เงินยืมพ่อแม่ (แบบไม่ต้องคืน) เป็นต้น 
 
โดยคุณสามารถเข้าไปดูรายละเอียดสินเชื่อเพื่อธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงสินเชื่อ SMEs ของแต่ละสถาบันการเงินเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thaifranchisecenter.com/loan หรือถ้าอยากเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ ลงทุนต่ำไม่ถึง 5,000 บาท

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ได้ที่ http://goo.gl/TtsQ8j

และสามารถดูธุรกิจแฟรนไชส์ลงทุนไม่ถึง 10,000 บาท ดูได้ที่ http://goo.gl/knPSeu
 
4.ทำการศึกษาหาข้อมูลของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ 

 
 
เมื่อคุณได้กลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจจะลงทุนแล้ว และคัดให้เหมาะกับวงเงินลงทุนของคุณ ต่อไปคุณต้องทำการศึกษาข้อมูลของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะซื้อนั้นเหมาะสำหรับคุณมากน้อยแค่ไหน มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ และโอกาสที่จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างไร  
 
คุณอาจจะศึกษาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์จากอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถืออย่าง ThaiFranchiseCenter.com หรือจากหนังสือไดเร็กทอรี่ ที่มีการรวบรวมข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์เอาไว้มากมาย 
 
หากคุณต้องการดูแบรนด์แฟรนไชส์ ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองข้อมูลถูกต้องจาก ThaiFranchiseCenter.com สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://goo.gl/rrPkuZ
 
และดูรายละเอียดข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ที่ ThaiFranchiseCenter.com ได้ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบ Special Franchise สรุปโครงการอัพเดทแฟรนไชส์ 2015-2016 เพื่ออัพเดทข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ให้สดใหม่ตลอดเวลา เพื่อประโยชน์ต่อเจ้าของแฟรนไชส์ และผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ โดยสามารถดูแฟรนไชส์ที่อัพเดทข้อมูลสดๆ ใหม่ๆ ได้ที่ http://goo.gl/1RtTOa
 
5.ติดต่อสอบถามข้อ และขั้นตอนการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์กับเจ้าของแฟรนไชส์

  
เมื่อคุณได้ทำการศึกษาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ และเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ มีความน่าเชื่อถือ เหมาะสมกับเงินทุนในกระเป๋าคุณแล้ว ต่อไปเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคุณก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ คุณอาจต้องติดต่อไปยังบริษัทแม่หรือเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์โดยตรง เพื่อสอบถามข้อมูลรายละเอียดการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ให้แน่ใจอีกครั้ง 
 
โดยคุณอาจจะต้องมีการตั้งคำถามต่างๆ นานา เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน สร้างความมั่นใจ ไม่ทำให้ผิดหวังหากจ่ายเงินไปแล้ว อาทิ ธุรกิจตั้งมานานหรือยัง ตั้งอยู่ที่ไหน เปิดสาขาแล้วกี่สาขา เปิดที่ไหนบ้าง

ถ้าจะซื้อแฟรนไชส์ต้องเตรียมเงินทั้งหมดเท่าไหร่ เป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง สินค้าที่ขายดีคืออะไร ขายวันละเท่าไหร่ถึงจะคุ้ม กลุ่มลูกค้าเป็นใคร ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับอะไรบ้าง บริษัทแม่ให้การสนับสนุนอย่างไร ขั้นตอนการซื้อแฟรนไชส์ต้องทำอย่างไร ต้องอบรมกี่วัน เป็นต้น 
 
ทั้งหมดนับว่าเป็น 5 เทคนิคการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์แบบไม่ทำให้คุณผิดหวัง ซึ่งคุณสามารถที่จะนำไปศึกษาและยึดเป็นแนวทางปฏิบัติก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ ก็ไม่การันตีว่าเทคนิคข้างต้นจะได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองว่า จะมีความตั้งใจ และพยายามทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน  
 
 
 
1.สำรวจร้าน 

ถ้าคุณคิดว่ากำลังจะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ใดก็ตาม คุณจำเป็นจะต้องรู้ว่า ร้านแฟรนไชซี่ หรือผู้ที่ซื้อธุรกิจนี้ก่อนหน้านี้ เป็นใคร และอยู่ที่ไหนกันบ้าง และลงสนามสำรวจร้านจริงที่มีอยู่แล้วว่า พวกเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง และทำกำไรได้จริงหรือไม่ เพื่อศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสีย เพื่อให้คุณมีความพร้อมเต็มที่ที่จะทำธุรกิจนั้นให้สำเร็จ
       
และมีคำถามสำหรับแฟรนไชซี่ที่คุณควรถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น การลงทุนธุรกิจนี้ คุณภาพสินค้าที่ขายนี้ ดีไหม ลูกค้านิยมไหม ? สินค้าที่บริษัทแม่จัดให้ ส่งทันไหม และเพียงพอหรือไม่ ? อะไรคือปัญหาของธุรกิจนี้ ? ร้านของคุณทำกำไรได้หรือไม่ ? 

2. สำรวจตนเอง

สิ่งที่ผิดมากที่สุดในเรื่องของแฟรนไชส์ก็คือ คนส่วนมากเข้าใจผิดว่า การซื้อแฟรนไชส์ เป็นการเอาเงินมาลงทุน แล้วบริษัทแม่จะต้องช่วยทำให้กิจการนั้นจนได้ผลกำไร โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์คอยรับผลตอบแทน นี่เป็นเรื่องที่เข้าใจกันมากจริงๆ ทำให้คนตกเป็นเยื่อ ของการระดมเงิน ซึ่งไม่ใช่วิธีการของแฟรนไชส์
       
ต้องจำไว้ว่า การทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ต้องลงมือทำเองหรือบริหารเองเท่านั้น ธุรกิจจึงจะมีกำไร การที่กิจการหนึ่งเคยประสบความสำเร็จมาแล้ว และขายระบบงานที่ประสบความสำเร็จนี้ให้คนอื่นทำบ้าง ดังนั้นการจะทำแฟรนไชส์ให้ได้เงิน จึงขึ้นกับการทำงานตามระบบงาน โดยมีบริษัทแม่เป็นผู้สนับสนุน
 
 
       
3. สำรวจบริษัท

บริษัทแม่มีตัวตนจริงหรือไม่ กิจการที่อาศัยเรื่องของแฟรนไชส์มาระดมเงิน มีเกิดขึ้นเสมอ กิจการเหล่านั้น มักเพิ่งก่อตั้งขึ้นมาไม่นาน บางรายไม่มีตัวตนด้วยซ้ำ วิธีการเลือกบริษัท แฟรนไชส์ที่ดี ที่คุณสมควรเข้าร่วมธุรกิจด้วย ควรมีลักษณะดังนี้ 
  • มุ่งหวังเป็นอันดับ 1 แฟรนไชส์ที่คุณเลือกนั้น ควรมีเป้าหมาย ต้องการเป็นผู้นำการตลาด ซึ่งมันจะทำให้คุณได้ประโยชน์ไปด้วย เพราะบริษัทเหล่านี้จะกระตือรือร้นในการทำการตลาด การโฆษณา เพื่อทำให้ได้ส่วนแบ่งการขายสูงสุดของประเทศ โดยมีคุณเป็นช่องทางที่จะช่วยให้ถึงเป้า
  • ความชำนาญในธุรกิจ เพราะการซื้อแฟรนไชส์ เป็นการซื้อระบบที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นกิจการที่จะมาขายแฟรนไชส์ได้ ควรต้องช่ำชองในธุรกิจนั้นๆมากพอ
  • อายุธุรกิจ กิจการที่จะขายแฟรนไชส์ควรมีอายุแก่พอ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะจะทำให้คุณได้รับความรู้จากการลองผิด-ลองถูกมาแล้ว และควรจะมีระยะเวลาในการขยายร้านสาขาของตัวเอง เพื่อเป็นบทเรียนในการบริหารร้านแฟรนไชส์ได้จริงๆ
  • มีอำนาจในการต่อรอง ที่จะเอื้อประโยชน์ในสิ่งที่คุณทำไม่ได้ อย่างเช่น การเช่าสถานที่ หรือส่วนลดราคาสินค้ากับซัพพลายเออร์ และถ้าถึงขนาดมีเครดิตในการช่วยเหลือคุณในกู้เงินธนาคารก็จะดีมาก
  • ผู้บริหารมีความสามารถ คุณอาจจะต้องรู้ประวัติของผู้บริหารบ้างว่า มีประวิติส่วนตัวเป็นอย่างไร ทั้งด้านลักษณะนิสัย และความสามารถในการบริหารธุรกิจ คุณเชื่อไหมว่า แฟรนไชส์ที่ล้มเหลว ส่วนใหญ่ มาจากผู้บริหารเอาเงินไปใช้ผิดประเภท
  • มีทีมงานสนับสนุน คุณต้องมั่นใจว่า มีทีมงานสนับสนุน ร้านเครือข่าย โดยได้รู้ว่า จะมีใครทำหน้าที่อะไรบ้าง อย่างไร คุณจะต้องมั่นใจได้ว่า ทีมงานนั้น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความพร้อม และมีความเป็นมืออาชีพ
  • สินค้ามีตลาด ต้องขายสินค้าที่มีลูกค้านิยมมากพอ และสามารถสร้างรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่สินค้าที่ขายได้เฉพาะบางช่วงเวลา ไม่เป็นสินค้าแฟชั่น หรือขายสินค้าที่มีคู่แข่งมากเกินไป
  •  มีระบบ แฟรนไชส์ที่ดี ควรมีระบบงานที่ดี หรืออย่างน้อยต้องมีโปรแกรมการอบรม เพื่อถ่ายทอดธุรกิจมาสู่คุณอย่างอย่างง่าย และได้ผล มีการจัดทำคู่มือการทำงาน ในด้านต่างๆ ที่ช่วยให้คุณใช้บริหารงานได้
  •  เป็นเจ้าสิทธิ์ ที่ถูกต้อง ก่อนที่คุณจะลงลายเซ็นต์ คุณต้องแน่ใจว่า บริษัทนั้นเป็นเจ้าของสิทธิ์อย่างถูกต้อง ในกรณีที่กิจการนั้นซื้อสินค้าจากที่อื่นมาอีกต่อหนึ่ง เช่นร้านสินค้าแบรนด์แนมต่างๆ ที่คุณควรเห็นหลักฐานว่า กิจการนั้นได้รับการอนุญาตการเป็นตัวแทนที่ถูกต้อง
4. ตรวจสถานะของบริษัท

จากการจดทะเบียนบริษัท จากเว็ปของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อดูว่า บริษัทแฟรนไชส์ที่คุณสนใจ มีใครบ้างเป็นผู้ถือหุ้น และทุกปี ทุกบริษัทต้องมีการส่งงบดุล และงบกำไร-ขาดทุน (ยกเว้นกิจการประเภทที่ไม่ต้องจ่ายภาษี เช่น สถานศึกษา เป็นต้น) นี่เป็นหลักฐานที่ดี ที่คุณจะรู้สภาพว่า บริษัทแฟรนไชส์นั้น มีฐานะทางการเงินอย่างไร มีผลการดำเนินงานอย่างไร

       
 
5. เรื่องคืนทุนเป็นเรื่องโกหก

การพูดถึงการคืนทุนนั้นเป็นเรื่องโกหก เพราะไม่มีใครที่จะรู้ล่วงหน้าในเรื่องของอนาคตได้ แม้ว่าอาจจะมีตัวอย่างความสำเร็จมากมายมาให้คุณเห็นก็ตาม ในสหรัฐ มีกฎหมายที่กำหนดว่า การชักชวนคนซื้อแฟรนไชส์ด้วยการบอกเรื่องการคืนทุนนี้ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย
 
6.มีที่ปรึกษา

ปัจจุบันนอกจากผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์จะศึกษาหาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยตัวเองแล้ว ยังสมารถใช้บริการขอข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับแฟรนไชส์จากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เรื่องธุรกิจแฟรนไชส์  


โดยสามารถโทรสอบถามรายละเอียดและข้อมูลแฟรนไชส์เพิ่มเติมได้ที่ 02-1019187 หรือเข้าไปเช็กลิส ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ แบบง่ายๆ ได้ที่ http://goo.gl/KZOqci
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,110
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,421
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,226
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,894
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,260
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,223
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด