บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
5.2K
2 นาที
18 สิงหาคม 2552

เตือนภัย แฟรนไชส์เก๊

ในบทความว่าไว้ สรุปได้ว่า... ช่วงปลายปี 2550 ที่ผ่านมามีข่าวใหญ่ส่งท้ายปี ซึ่งส่งผลกระทบในด้านลบต่อแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ คือมีผู้เสียหายหลายร้อยคนเข้าแจ้งความต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ ร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัทแห่งหนึ่งในข้อหา “ฉ้อโกงประชาชน”

โดยการโฆษณาชวนเชื่อด้วยข้อความโฆษณาว่าเป็นผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยวยี่ห้อหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติแล้วเป็นธุรกิจในรูปแบบ “แชร์ลูกโซ่”
 
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าในช่วงแรกผู้ที่หลงเชื่อลงทุนด้วยจะได้รับเงินปันผลจริง แต่ก็เป็นเพียงการหลอกลวงอีกขั้น เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจ-ตายใจ นำเงินมาระดมทุนเพิ่มขึ้นอีกเป็นหลายแสน หรือ หลายล้านบาทต่อคน แล้วในที่สุดธุรกิจก็จะปิดตัวลง ทำให้ผู้ที่ลงทุนเกิดความเสียหาย  ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการดำเนินธุรกิจที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ “หลอกลวงประชาชน” โดยใช้ตัวเลขผลประโยชน์ที่เกินความเป็นจริงเข้าล่อ
และ “แอบอ้างความเป็นธุรกิจแฟรนไชส์” ส่งผลด้านลบต่อธุรกิจแฟรนไชส์โดยรวม !!
 
“นอกจากกรณีแชร์ก๋วยเตี๋ยว...ที่ปิดตัวไปแล้ว ปัจจุบันก็ยังมีธุรกิจประเภทแชร์ลูกโซ่อีกจำนวนหนึ่งที่พยายามแปลงร่างตัวเองให้กลายเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ โดยหวังที่จะขี่กระแสความนิยมของคำว่าแฟรนไชส์ ซึ่งได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภคทั่วไป เพื่อที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากผู้ที่สนใจให้นำเงินมาลงทุนทำธุรกิจกับตน”
 
...ในบทความระบุ พร้อมทั้งยังบอกไว้อีกว่า... จากการสำรวจของกองบรรณาธิการของเว็บพบว่ายังมีผู้ประกอบการบางรายที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ อาทิ ธุรกิจไปรษณีย์เอกชน, ร้านค้าปลีก และการระดมทุนผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้นิยมโหมโฆษณาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้มีความน่าเชื่อถือ โดยยอมทุ่มงบใช้สื่อโฆษณาทุกรูปแบบ อาจจะใช้ทั้งสื่อโทรทัศน์ นิตยสารและสื่อเว็บไซต์ต่างๆ 

“ธุรกิจหลอกลวงกำลังเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างในปัจจุบัน ซึ่งก็มีบางรายที่มักอ้างว่าตนเองเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ โดยการโฆษณาด้วยข้อความที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน ดังนั้นก็เป็นเรื่องที่ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาหาข้อมูลให้ชัดเจนด้วยการพิจารณาเงื่อนไขการลงทุนและรายละเอียดของการดำเนินธุรกิจ ก่อนจะตัดสินใจลงทุน”
 
การเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่ดี จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างไปพร้อม ๆ กัน อาทิ ชื่อเสียงของแบรนด์ต้องเป็นที่รู้จัก ประวัติผู้บริหารและโครงสร้างการบริหาร ทีมงานในการสนับสนุนได้เยี่ยมชมร้านต้นแบบของบริษัท เงื่อนไขการลงทุนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมถึงสัญญาแฟรนไชส์จะต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ซึ่งผมก็เห็นด้วยว่าผู้ที่คิดจะลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์ควรจะต้องคำนึงถึงไว้ด้วย ก็คือ... “ไม่ว่าจะลงทุนแบบใดก็ไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จและร่ำรวยได้ทุกรายเสมอไป...ไม่เว้นแม้กระทั่งธุรกิจแฟรนไชส์”
 
ก่อนจะลงทุนทำธุรกิจแฟรนไชส์ต้องศึกษาให้ถ่องแท้
 
ก็เพราะทั้งมีโอกาสเจ๊ง...และอาจเจอของเก๊ต้มตุ๋น !!.

สังเกตง่ายๆ นี่แหล่ะ “แชร์ลูกโซ่”

สำหรับวิธีง่ายๆ ที่จะดูว่าแชร์ลูกโซ่ หรือการเงินนอกระบบ พันเอกปิยะวัฒก์ ให้ข้อสังเกตง่ายๆ ว่า

  1. มีการชักชวนมาลงทุนแล้วจ่ายผลตอบแทนสูง ในระยะเวลาอันสั้น โดยมากมักล่อใจกันในระดับ 10% เศษๆ หรืออาจจะถึง 20% ต่อปีเลยทีเดียว ถือเป็นผลตอบแทน “เกินจริง” ซึ่งไม่มีทางที่เศรษฐกิจช่วงขาลงจะสามารถได้ผลตอบแทนได้สูงขนาดนี้ได้ง่าย
  2. ไม่เน้นการขาย “สินค้า” แต่เน้นการบอกต่อหา “สมาชิก” ใหม่ๆ ให้ได้มากๆ แล้วได้รับค่าหาสมาชิก (อาจมาในรูปที่ว่า สามารถฝากขายสินค้าได้ เพื่อรับเปอร์เซ็นต์ส่วนต่างไป หรือหากสินค้าขายไม่ได้ให้ดาวน์ไลน์ หรือสมาชิกใหม่รับช่วงสินค้านั้นไปเลย)
  3. ค่าสมัครสมาชิกแรกเข้า หรือค่าสินค้า “แพงเกินจริง” และบางครั้งมีลักษณะ “บังคับขาย” สินค้า
  4. การลงทุนช่วงแรกมักจะได้รับผลตอบแทน แต่เมื่อผ่านไปได้ไม่นาน จะได้รับผลตอบแทนไม่สม่ำเสมอ บางครั้งมีการล่อหลอกให้ลงทุนเพิ่มเพื่อรักษาเงินลงทุนเก่าไว้

ถ้าไม่ชัวร์ว่า การลงทุนนั้นเข้าข่ายหรือไม่พันเอกปิยะวัฒก์ แนะนำให้ตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือดีเอสไอ โดยสังเกตจากประเภทการลงทุนให้ถูกต้อง เช่น

ขายตรง
ที่มีแผนการตลาดซับซ้อน สามารถตรวจสอบกับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ ส.ค.บ. www.ocpb.go.th 

สินค้าเกี่ยวข้องกับ "ดัชนี" ราคาหุ้น น้ำมัน ทองคำ ตรวจสอบ ชี้เบาะแสได้ที่เว็บไซต์ก.ล.ต. หรือ แจ้งเรื่องมาได้ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน (Help Center) ของ ก.ล.ต. ที่หมายเลข 02-263-6000 หรือ เข้ามาคลิกที่ “ร้องเรียน” ที่มุมขวาของเว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th  หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สินค้าราคาเกษตรล่วงหน้า ตรวจสอบที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือผ่าน เว็บไซต์ http://www.aftc.or.th

กรณีเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สามารถแจ้งกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (ปศท.)

แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าเข้าข่ายประเภทไหนสามารถตรวจสอบ และสอบถามได้ที่ ดีเอสไอ โดยตรง หรือ http://www.dsi.go.th

รวมทั้งสามารถร้องเรียนไปยังสายด่วน 1359 ของกลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

ผู้เสียหายยังสามารถเข้าแจ้งความต่อตำรวจท้องที่ เพื่อดำเนินคดีฐานฉ้อโกงหรือฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญาได้อีกทางหนึ่งด้วย (กรณีฉ้อโกงตาม ม.341 ควรร้องทุกข์ หรือฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นจะขาดอายุความเพราะเป็นความผิดต่อส่วนตัว)

แม้ว่ามีข้อความจำกัดสิทธิระบุในสัญญา แต่ผู้เสียหายก็สามารถแจ้งความได้

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,691
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,828
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,366
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,914
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,272
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด