บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
7.1K
3 นาที
22 สิงหาคม 2559
12 ข้อต้องมี! ก่อนซื้อธุรกิจแฟรนไชส์

 
ธุรกิจแฟรนไชส์ถือเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ ที่กำลังสนใจอยากจะมีธุรกิจเป็นของตนเอง

เพราะในธุรกิจแฟรนไชส์ของแต่ละกิจการจะกำหนดรูปแบบความสำเร็จมาแล้วจากเจ้าของแฟรนไชส์ อาทิ รูปแบบการดำเนินธุรกิจ สูตรลับการทำอาหารเฉพาะตัว อุปกรณ์การขาย การตกแต่งหน้าร้าน ฯลฯ 
 
อย่างไรก็ตาม แม้รูปแบบของแฟรนไชส์จะเป็นสูตรสำเร็จอยู่แล้ว แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกอย่างก็ไม่ได้เป็นไปตามสูตรสำเร็จที่ตั้งไว้เสมอไป เพราะมีผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายรายประสบความล้มเหลวให้เห็นมิใช่น้อย ซึ่งอาจมาจากตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ ทำให้ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วไม่ประสบความสำเร็จ 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ได้มีเทคนิคง่ายๆ ในการสำรวจตัวเอง ว่าต้องดูอะไรบ้าง ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ มาฝากผู้ที่กำลังมองหาธุรกิจในระบบแฟรนไชส์มาบริหาร มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง 
 
1.คุณต้องมีความเหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะซื้อ

 
ก่อนตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ คุณต้องดูว่าธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ เหมาะกับตัวคุณหรือไม่ ไม่ใช่ว่าพอเห็นแฟรนไชส์ใดแฟรนไชส์หนึ่งกำลังได้รับความนิยม มีคนซื้อแฟรนไชส์ตัวนั้นไปลงทุนมากกมาย คุณก็แห่ไปลงทุนเหมือนคนอื่น สุดท้ายก็เกิดปัญหาทางธุรกิจ ไม่ประสบความสำเร็จดั่งใจหวัง แม้ว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะส่งมอบการบริหารจัดการทุกด้านให้กับคุณ 
 
ตรงนี้อาจเป็นเพราะคุณเองไม่เหมาะที่จะบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ตัวนี้ คุณอาจเหมาะกับธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทอื่น ดังนั้น ก่อนซื้อแฟรนไชส์คุณต้องศึกษาหาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้ แฟรนไชส์ประเภทไหนน่าลงทุน มีโอกาสเติบโต และเมื่อซื้อมาแล้วต้องเหมาะกับตัวคุณ เช่น คุณชอบงานบริการ คุณชอบทำอาหาร ชอบดื่มกาแฟ เป็นต้น
 
2.คุณต้องได้ตลาดและลูกค้า จากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ 

 
แน่นอนว่าเมื่อคุณซื้อธุรกิจแฟรนไชส์จากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ไปแล้ว สิ่งที่คุณต้องพิจารณาคือธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมา มีตลาดกว้างขวางหรือไม่ มีกลุ่มลูกค้าเป็นใคร มากน้อยแค่ไหน

ถ้าธุรกิจแฟรนไชส์นั้นไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในตลาด เมื่อคุณซื้อมาแล้วอาจไม่ประสบความสำเร็จก็ได้ เพราะคุณไม่มีตลาดและลูกค้าอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี น่าลงทุน ต้องมีตลาดและกลุ่มลูกค้ารออยู่แล้ว เมื่อคุณซื้อมาสามารถขายสินค้าได้เลย เช่น 7-11 กาแฟแบรนด์ต่างๆ 
 
3.คุณต้องเต็มใจพร้อมรับผิดชอบในการบริหารธุรกิจ 

 
การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์แม้ว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะส่งมอบสูตรความสำเร็จให้กับคุณแล้ว แต่อย่าลืมว่าการบริหารธุรกิจใดๆ นั้นให้ประสบความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับทักษะ ความชำนาญ และความสามารถของแต่ละคน คนทุกคนไม่เหมือนกัน แม้เจ้าของแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จมาก่อนแล้ว ก็ไม่ใช่คุณซื้อแฟรนไชส์มาจะประสบความสำเร็จเหมือนกับเจ้าของแฟรนไชส์ การลงทุนมีความเสี่ยง คุณต้องพร้อมรับผิดชอบกับการบริหารธุรกิจหากเกิดปัญหาและล้มเหลว 
 
4.คุณต้องรักและสนุกสนานกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมา

 
องค์ประกอบอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ คุณต้องรักในธุรกิจและสนุกสนานกับการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมา หากคุณซื้อแฟรนไชส์มาเพราะมีเงิน หรือเห็นคนนิยมลงทุนแฟรนไชส์ตัวนี้เป็นจำนวนมาก คุณก็แห่ไปลงทุนซื้อแฟรนไชส์มาลงทุนเหมือนคนอื่น

สุดท้ายธุรกิจไปไม่รอด เพราะคุณไม่รักในธุรกิจที่ทำอยู่ ทำไปแล้วไม่สนุกไปกับมัน เมื่อวันใดรู้สึกเบื่อขึ้นมา ไม่เอาใจใส่ ไม่ดูแล บริหารไปแบบวันๆ เชื่อว่าธุรกิจไปไม่รอดแน่นอน 
 
5.คุณต้องพร้อมที่จะทำตามระบบงานของแฟรนไชส์นั้นอย่างเคร่งครัด

 
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาบริหารนั้น คุณต้องถามตัวเองก่อนว่าพร้อมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของระบบงานแฟรนไชส์หรือไม่ เพราะการทำธุรกิจแฟรนไชส์แม้ว่าคุณจะได้รับสูตรความสำเร็จจากเจ้าของแฟรนไชส์อยู่แล้ว แต่คุณต้องเข้าใจว่าก่อนที่เจ้าของแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จมาถึงจุดนี้ได้

เขาต้องทำงานอย่างหนัก ลองผิดลอง ลองถูกมาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะจับต้นชนปลายได้ ซึ่งสูตรความสำเร็จเหล่านี้จะต้องมาอยู่กับคุณแน่นอน ถ้าคุณพร้อมทำตามระบบงานของแฟรนไชส์อย่างเคร่งครัด เชื่อว่าคุณก็จะประสบความสำเร็จในธุรกิจเหมือนเจ้าของแฟรนไชส์
 
6.คุณต้องสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ 

 
ระบบการบริหารแฟรนไชส์เป็นการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์ต้องทำการส่งมอบความสำเร็จให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ทุกราย

ขณะที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องปฏิบัติเงื่อนไขของระบบแฟรนไชส์ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการอบรม ให้คำปรึกษาธุรกิจ

รวมถึงการเข้าไปตรวจสอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณซื้อไปว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใดไม่สามารถทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทแฟรนไชส์ เชื่อว่าธุรกิจอาจไปไม่รอด ต่างฝ่ายไม่เชื่อใจกัน
   
7.คุณต้องมีเงินทุนเพียงพอในการบริหารธุรกิจ


 
การซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาบริหารนั้น ไม่ใช่ซื้อมาแล้วก็จบไป ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการบริหารธุรกิจอย่างน้อย 5-6 เดือน ถ้ามีเงินเพียงพอธุรกิจก็อยู่รอดได้ เรียกได้ว่าเงินหมุนเวียนเหล่านี้อาจมากเป็น 2 เท่าของเงินซื้อแฟรนไชส์ก็ว่าได้ เพราะต้องมีค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าเช่า ค่าบริหารจัดการต่างๆ เป็นต้น 
 
8.คุณต้องศึกษาข้อกำหนด เงื่อนไขสัญญา กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับระบบแฟรนไชส์ ให้ครบอย่างถี่ถ้วน
 
การลงทุนซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาบริหาร แน่นอนว่าจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในธุรกิจเร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างแบรนด์ เสียเวลาหาตลาด และลูกค้า

แต่ก่อนซื้อแฟรนไชส์คุณก็ต้องทำการศึกษา ทำความเข้าใจระบบธุรกิจแฟรนไชส์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ อย่างน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกหลอกจากเจ้าของแฟรนไชส์ คุณต้องศึกษาข้อกำหนด เงื่อนไขสัญญา กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับระบบแฟรนไชส์ให้ครบอย่างถี่ถ้วน 

9.คุณต้องดูว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจ มีประวัติความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมาแล้ว 

 
การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องดูว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจได้ประสบความสำเร็จมาก่อนหรือไม่ ถ้าเป็นธุรกิจที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ อยู่ในช่วงกำลังสร้างธุรกิจ

ขอบอกว่าอย่าไปเสี่ยงกับธุรกิจนี้เลย ธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าลงทุน ต้องเป็นธุรกิจที่ก่อตั้งมายาวนาน มีสาขาจำนวนมาก แต่ละสาขาประสบความสำเร็จเหมือนกัน แบรนด์เป็นที่รู้จักของตลาดและลูกค้าในวงกว้าง ที่สำคัญสินค้าหรือบริการเป็นที่ต้องการของตลาด 

10.คุณต้องดูว่าแฟรนไชส์ซีในธุรกิจนั้น มีความสุข และประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ 

 
ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีต้องประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ไม่ใช่แฟรนไชส์ซอร์ประสบความสำเร็จ แต่แฟรนไชส์ซีไปไม่รอด ปิดสาขา

ดังนั้น ก่อนที่คุณจะซื้อแฟรนไชส์ใดๆ มาบริหารแล้ว ต้องทำการศึกษา หรือสำรวจดูว่าแฟรนไชส์ซีที่ซื้อแฟรนไชส์ไปบริหาร มีความสุข และประสบความสำเร็จในธุรกิจหรือไม่ ถ้ามีการขยายสาขาของแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าแฟรนไชส์นั้นมีความน่าสนใจที่จะลงทุน มีโอกาสประสบความสำเร็จ
 
11.คุณต้องชอบทีมงานของแฟรนไชส์ซอร์ ที่จะทำงานร่วมกับคุณตลอดระยะตามสัญญา 

 
เมื่อคุณซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว นอกจากต้องปฏิบัติตามระบบงานของแฟรนไชส์แล้ว คุณต้องสามารถทำงานร่วมกับทีมงานของแฟรนไชส์ซอร์ได้ด้วย เพราะผู้บริหารระดับ CEO ของบริษัทแฟรนไชส์ จะไม่ได้มาดูแลคุณเหมือนช่วงทำการเจรจาซื้อขายแฟรนไชส์ เมื่อคุณซื้อมาแล้วส่วนใหญ่จะได้ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่หรือทีมงานของแฟรนไชส์ซอร์ตลอดสัญญา 
 
12.คุณต้องมีทีมงานที่พร้อมสนับสนุนการบริหารจัดการระบบธุรกิจแฟรนไชส์

 
แม้ว่าคุณจะซื้อระบบแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว คุณก็ต้องมีความพร้อมในเรื่องของทีมงาน พนักงาน รวมถึงครอบครัวที่พร้อมให้การสนับสนุนการทำธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณซื้อมา เพราะจะช่วยให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณไม่มีปัญหา สามารถประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับคุณ ครอบครัว พนักงาน พร้อมให้การช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างเต็มที่ ดังนั้น แฟรนไชส์ที่คุณซื้อมา ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับคุณต้องรัก เห็นดีเห็นงาม ให้การสนับสนุนเต็มที่ 
 
ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องมี และต้องสำรวจตัวเอง ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะถ้าหากขาดข้อใดข้อหนึ่งอาจทำให้การบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ประสบความสำเร็จ หรือเกิดปัญหาขึ้นในภายหลังได้นะครับ 
 
ใครที่สนใจลงทุนธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ สามารถเข้ามาดูรายละเอียดข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทต่างๆ ที่น่าสนใจได้ที่  http://goo.gl/UUQ37A
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,355
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,521
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,262
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,229
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด