บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
4.3K
2 นาที
20 ตุลาคม 2552

แฟรนไชส์ที่เขาว่า เหมาะกับคุณหรือเปล่า? 

บางทีถ้าเรามานั่งคุยกันเรื่องแฟรนไชส์ หลายคนก็เหมาเอาว่า แฟรนไชส์ก็คือ ธุรกิจร้านอาหารจานด่วน หรือไม่ก็พาลคิดว่าเรากำลังคุยกันเรื่องกฎหมายว่าด้วยเรื่องสิทธิ์ การผูกพันสัญญา หรือว่ากันด้วยธุรกิจที่มีการลงทุนสูง ค่าใช้จ่ายสูง โอ้โห....ยังไม่ขนาดนั้นหรอกครับ

ธุรกิจแฟรนไชส์ นั้นไม่ได้ยุ่งยากหรือเรื่องมากอย่างที่คิด ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจดังกล่าวได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อธุรกิจหรือการสร้างธุรกิจของตนเองให้เป็นระบบแฟรนไชส์ เพียงแต่ต้องทำให้ถูกต้องและมีจริยธรรมจริงจังเท่านั้น แฟรนไชส์เป็นเรื่องของธุรกิจที่ขยายตัวอย่างเป็นระบบ ผู้ที่สร้างธุรกิจในรูปแบบนี้ขึ้นมาอย่างจริงจัง ก็คือ สหรัฐอเมริกา ที่เป็นดินแดนเสรีทางความคิด เรื่องต่อไปนี้เป็นการเก็บตกข้อมูลธุรกิจ แฟรนไชส์ในอเมริกาครับ

ในอเมริกานั้นมีธุรกิจที่อยู่ในระบบแฟรนไชส์มากกว่า 320,000 ร้านค้า และมีธุรกิจแฟรนไชส์กระจายเป็นแต่ละประเภทนับละเอียดมากๆ ได้ถึง 75 ธุรกิจ และทั้งอเมริกากับแคนาดานั้นมีสาขาธุรกิจไปทั่วโลกมากกว่า 65,000 สาขา

ในปี 2000, ธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเดียวมีมูลค่าทางธุรกิจถึง หนี่งแสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 4.7 ล้านล้านบาทไทยครับ
 
ถ้านับมูลค่าธุรกิจด้านแฟรนไชส์เปรียบเทียบกับธุรกิจค้าปลีกในอเมริกานั้น แฟรนไชส์มีมูลค่าถึงเกือบ 50% ของมูลค่าธุรกิจค้าปลีกของประเทศ และในแคนาดานั้นมีมากกว่า 40% ของมูลค่าธุรกิจค้าปลีกในประเทศ

ธุรกิจแฟรนไชส์มีการจ้างงานมากกว่า 8 ล้านคนในอเมริกา ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการเปิดสาขาเกิดขึ้นใหม่ในทุกๆ 8 นาที และทุกๆ 2 ชั่วโมงในแคนาดา

โดยถัวเฉลี่ยแล้วพบว่าธุรกิจที่เปิดขึ้นใหม่ในอเมริกานั้น มี 1 ใน 12 ธุรกิจเป็นธุรกิจระบบแฟรนไชส์ คนที่ลงทุนแฟรนไชส์นั้นก็เป็นคนเดินดินกินข้าวแกงธรรมดาแบบเราๆ ท่านๆ นี่แหละครับ บางคนก็สามารถสร้างธุรกิจจากการลงทุนแฟรนไชส์แล้วประสบความสำเร็จก็มี ซึ่งเขาเหล่านั้นบางครั้งมีความรู้ไม่มากนัก หรือบางครั้งก็มีเงินทุนน้อยหรือแม้แต่บางคนก็ต้องใช้วิธีการหยิบยืมกู้ธนาคารมาลงทุนก็มี บางครั้งความสามารถหรือความรู้เดิมก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ที่จะลงทุนด้วยซ้ำ แล้วอะไรที่เป็นตัวทำให้เขาเหล่านั้นหันมาลงทุนในระบบแฟรนไชส์

ส่วนใหญ่ก็เพราะความต้องการส่วนตัวลึกๆ ที่จะต้องการเป็นเจ้าของกิจการ เป็นตัวของตัวเองบ้าง เป็นนายตัวเอง และอยากจะออกมาจากการทำงานที่ต้องแข่งขันในที่ทำงานที่เจ้าตัวเริ่มเบื่อ และที่พบบ่อยๆ ก็คืออยากที่จะเป็นอิสระ อยากบริหารการเงินด้วยความสามารถของตนเอง

ซึ่งเรื่องนี้ส่วนใหญ่จะได้อย่างที่ต้องการเมื่อเข้ามาเป็นเถ้าแก่ในระบบแฟรนไชส์ ถึงตอนนี้หลายคนอาจจะหันมาถามตัวเองว่า แล้วตนเองเหมาะกับระบบธุรกิจที่ว่านี้หรือไม่ จริงๆ แล้วแฟรนไชส์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการหรือลักษณะของแต่ละคน แฟรนไชส์ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ซึ่งนี่แหละจึงจะต้องหาข้อมูลและทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อนที่จะเข้ามาลงทุนในระบบแฟรนไชส์

ข้อดีของแฟรนไชส์ที่มีมากคือ
อย่างน้อยการลงทุนทำกิจการ ใหม่นั้นจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า ทั้งเรื่องของการเริ่มธุรกิจใหม่และการจัดการในระบบธุรกิจสมัยใหม่ที่มีการแข่งขันและความซับซ้อนมากกว่าในสมัยก่อนอย่างมาก ถ้าหากจะลองยกตัวอย่างสิ่งที่เป็นข้อดีในระบบแฟรนไชส์ที่เข้ามาช่วยเราในการจัดการกับการลงทุนของเรานั้นมองได้ในหลายแง่มุม แต่ต้องดูความต้องการของตัวเองด้วยซึ่งต้องตอบตัวเองดังๆ ให้ได้ดังนี้

เริ่มจากถามตัวเองเพิ่มว่าปกติแล้ว ชอบทำงานเป็นทีม และเป็นผู้ร่วมทีมที่ใช้ได้หรือไม่ เพราะการทำงานในระบบแฟรนไชส์นั้นคุณเป็นเสมือนผู้เล่นคนเหนึ่งในระบบร้านสาขาขนาดใหญ่ ซึ่งต้องร่วมมือและประสานงานร่วมกันตลอดเวลา หรือปกติเราเป็นคนสันโดษ ชอบทำงานคนเดียวหรือเปล่า เดี๋ยวจะกลายเป็นแกะดำ หรือพลอยเข้าไปทำลายล้างรูปแบบการทำงานเป็นทีมเขาหรือไม่

ต่อจากนั้นดูเสียก่อนว่าตัวเราเองนั้นพอใจที่จะทำตามรูปแบบงานทางธุรกิจที่เขามีอยู่แล้วที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจะทำให้ธุรกิจนั้นๆ ประสบความสำเร็จได้ หรือพอใจที่จะทำในรูปแบบของเราเอง

ถามตัวเองเพิ่มอีกนิดด้วยว่า จะยอมที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมด้านแฟรนไชส์หรือไม่ ซึ่งส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องแลกซื้อกับสิทธิในการใช้ตรายี่ห้อ หรือวิธีการจัดการธุรกิจที่เป็นรูปแบบเดียวกันทุกๆ ที่ และค่าธรรมเนียมของ แฟรนไชส์ที่ดีนั้นราคาก็ไม่น้อยกว่าเงินแสนถึงเป็นล้านบาทก็ได้ นอกจากนั้นยังจะต้องมีค่าธรรมเนียมรายเดือนที่ต้องมีการจ่ายต่อเนื่องอาจเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานใหญ่เข้ามาช่วยเหลือดูแล การจัดหาความรู้ต่างๆ เพิ่มเติมตลอดถือว่า เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดการสนับสนุนธุรกิจให้กับเรา

ถ้าคำตอบของคุณข้างบนตอบว่าไม่แล้วละก็ ต่อให้มีเงินมากหรือคุณเองก็เก่งพอตัวก็ตามระบบแฟรนไชส์คงไม่เหมาะกับคุณเท่าไรแล้วล่ะ แต่ถ้าตอบว่าใช่ เห็นด้วยกับเรื่องข้างต้น คุณก็ต้องเริ่มทำการบ้านด้วยการหาข้อมูลได้เลย อาจเริ่มจากวิธีการง่ายๆ เช่น ลองหาข้อมูลทางอินเตอร์เนท ควรหาหลายธุรกิจมาเปรียบเทียบ อย่าลืมขอคำปรึกษาจากผู้รู้ การหาความรู้จากการเข้าร่วมสัมมนา ด้านวิชาการ หรือการประชุมร่วมกับธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ ซึ่งกว่าจะหาธุรกิจและร่วมลงทุนได้จริงก็กินเวลาหลายเดือนหรือเป็นปีก็ได้

แต่ทั้งหมดคือแนวทางที่จะต้องเริ่มทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกถ้าหากจะนำธุรกิจแฟรนไชส์มาเป็นส่วนสร้างความสำเร็จที่แท้จริงให้ตัวคุณเอง.

อ้างอิงจาก ดร.สุนันทา ไชยสระแก้ว

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,767
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,875
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,918
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,254
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด