บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    กฎหมายและข้อบังคับ    แผนธุรกิจแฟรนไชส์
6.2K
2 นาที
20 กันยายน 2559
วิธีการเขียนแผนธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างง่าย
 
 

แผนธุรกิจ หรือ Business Plan เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่คิดจะเริ่มต้นธุรกิจ แผนนี้เป็นผลสรุป กระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจ ที่เปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ

คนส่วนใหญ่มักเปรียบเทียบว่าแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆ ทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาด การแข่งขันกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จหรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวังด้วยเช่นกัน
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีวิธีและขั้นตอนการเขียนโครงร่างแผนธุรกิจแฟรนไชส์ แบบคร่าวๆ มาฝากผู้ประกอบการธุรกิจ ที่อยากนำธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ มาดูกันว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง 

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
เป็นส่วนที่จะสรุปใจความสำคัญๆ ของแผนธุรกิจทั้งหมดให้อยู่ในความยาวไม่เกิน 1-2 หน้า ส่วนนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นส่วนแรกที่ผู้ร่วมลงทุนจะอ่านและจะต้องตัดสินใจจากส่วนนี้ว่า จะอ่านรายละเอียดในตัวแผนต่อหรือไม่ 
 
บทสรุปผู้บริหารจึงต้องชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญ ว่า ธุรกิจที่จะทำมีโอกาสจริงๆ ในตลาด และต้องชี้ให้เห็นว่า สินค้าหรือบริการที่จะทำนั้น จะสามารถใช้โอกาสในตลาดที่ว่านั้นให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร บทสรุปผู้บริหารจึงต้องเขียนให้เกิดความน่าเชื่อถือ หนักแน่น และชวนให้ติดตามรายละเอียดที่อยู่ในแผนต่อไป ผู้เขียนแผนควรระลึกไว้เสมอว่า คุณภาพของบทสรุปผู้บริหารจะสะท้อนถึงคุณภาพของแผนโดยรวม จึงควรให้เวลากับการเขียนส่วนนี้อย่างพิถีพิถัน

2. ประวัติโดยย่อของกิจการ
 
ส่วนนี้คือการให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งกิจการ ทั้งในด้านรูปแบบการจัดตั้ง หรือจดทะเบียน ตลอดจนแนวคิดและที่มาของการเล็งเห็นโอกาสทางการตลาด การคิดค้นและพัฒนาสินค้า/บริการ ที่ต้องการนำเสนอให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายระยะสั้น ที่ต้องการให้เกิดในอนาคต

3. การวิเคราะห์สถานการณ์

ขั้นตอนแรกของการจัดทำแผนธุรกิจ คือ การพยายามทำความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของปัจจัยสำคัญๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การแข่งขัน ความน่าสนใจโดยรวมของอุตสาหกรรม ตลอดจนความสามารถในการทำกำไร และความพร้อมในด้านต่างๆ ของกิจการ 
 
ดังนั้น การวิเคราะห์สถานการณ์จึงเป็นงานอันดับแรกที่สำคัญที่ผู้ประกอบการควรกระทำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ และแผนการดำเนินงานของกิจการ รวมถึงเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ข้อได้เปรียบกับคู่แข่ง แล้วสรุปเหตุผลว่า กิจการหรือธุรกิจของคุณดีอย่างไร ทำไมถึงต้องทำแฟรนไชส์

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ

ให้ระบุผลลัพธ์ทางธุรกิจ ที่ต้องการได้รับในช่วงระยะเวลาของแผน ซึ่งโดยทั่วไปเป้าหมายทางธุรกิจอาจเป็นเป้าหมายโดยรวมของกิจการ และเป้าหมายเฉพาะด้านในแต่ละแผนกหรือลักษณะงาน เช่น เป้าหมายทางการตลาด เป้าหมายทางการจัดการ เป้าหมายทางการผลิต และเป้าหมายทางการเงิน เป็นต้น 
 
นอกจากนี้ เป้าหมายทางธุรกิจอาจแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น คือ ภายใน 1 ปี เป้าหมายระยะกลาง ประมาณ 3-5 ปี และเป้าหมายระยะยาวที่นานกว่า 5 ปี เช่น ให้คุณระบุเป้าหมายการเติบโต จำนวนสาขาแฟรนไชส์ที่จะขยายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น ภายใน 1-5 ปี วางเป้าหมายขยายสาขาให้ได้ 100-200 สาขา และภายใน 10 ปี วางเป้าหมายขยายสาขาไปในต่างประเทศ 

5. แผนปฏิบัติการ

เป็นการเขียนระบุขั้นตอนต่างๆ ในการทำงาน ที่จะนำพาธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบธุรกิจ การปรับปรุง แผนการทำงาน แผนการสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์ ใช้เวลากี่เดือน งบประมาณมากน้อยแค่ไหน 
 
แผนการตลาด กำหนดทิศทางและแนวทางในการทุ่มเทความพยายามทางการตลาด ตลอดจนกลไกในการตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรมการตลาดไว้ล่วงหน้า รวมถึงกระบวนการ และวิธีการสร้างรายได้จากค่าสิทธิและอื่นๆ รวมถึงค่าใช้จ่าย และการลงทุน งบประมาณที่ต้องใช้ และแหล่งเงินทุนต่างๆ
 
แผนการตลาดจึงเป็นการกำหนดกลยุทธ์และวิธีในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อให้กิจการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่มุ่งหวัง โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรทางการตลาดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการตอบรับกับความเป็นไปและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในดำเนินธุรกิจทั้งภายนอกและภายในกิจการ 
 
ต้องรู้ว่าลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร นำเสนอสินค้าหรือบริการอะไรให้กลุ่มเป้าหมาย ราคาเท่าไหร่ ขายอย่างไร มีวิธีการสร้างความพอใจให้ลูกค้าแบบไหนบ้าง รูปแบบการให้บริการเป็นอย่างไร ที่จะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ทำอยู่ 
 
รวมถึงแผนการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้ประสบความสำเร็จอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าต้องซื้อจากไหน จัดส่งให้ หรือซื้อเอง ขั้นตอนการฝึกอบรมกี่วัน รวมถึงการจัดหาบุคลากรเข้ามาสนับสนุนด้วย 
 
มีการระบุเกี่ยวกับวิธีการให้สิทธิ ค่าสิทธิต่างๆ ที่จะเรียกเก็บกับแฟรนไชส์ซี เจ้าของแฟรนไชส์ต้องทำความเข้าใจ และศึกษาอย่างละเอียดก่อนที่จะระบุลงไปในร่างแผนธุรกิจแฟรนไชส์ (แต่เปลี่ยนแปลงภายหลังได้)  
 
ร่างแผนธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี ย่อมจะให้รายละเอียดถนนหนทาง และทิศทางในการทำธุรกิจที่ชัดเจน ช่วยให้ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ตัดสินใจได้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นควรจะร่วมลงทุนด้วยหรือไม่ แผนธุรกิจเมื่ออ่านแล้วต้องเข้าใจง่าย บอกขั้นตอน วิธีการทำงาน วิธีการบริหารธุรกิจ บอกว่าเขาซื้อไปจะได้อะไรจากเจ้าของแฟรนไชส์บ้าง  
 
ผู้ประกอบการธุรกิจต้องเข้าใจแนวคิดและปรัชญาของธุรกิจ แผนปฏิบัติการ ปัญหาอุปสรรค และหนทางที่เตรียมการเพื่อไปสู่ความสำเร็จ ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการจะใช้เงินลงทุนของตัวเอง ไม่ต้องการผู้ร่วมลงทุนหรือเงินกู้จากสถาบันการเงิน แผนธุรกิจก็ยังจำเป็นอยู่ดี เพื่อให้ผู้ประกอบการมีแผนที่ในการบอกทิศทางของการดำเนินกิจการในอนาคต
 



ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,767
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,875
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,369
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,918
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,254
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด