บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
4.5K
1 นาที
3 ตุลาคม 2559
สิ่งที่แฟรนไชส์ซีควรได้จากแฟรนไชส์ซอร์ 
 
เป็นที่รู้กันแล้วว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ถือเป็นทางลัดในการสร้างธุรกิจที่ดี เพราะการจะสร้างธุรกิจขึ้นมาซักอย่างหนึ่งให้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของลูกค้า จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนาน การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงและมีระบบการทำงานอย่างมืออาชีพ ก็จะช่วยย่นระยะในการทำธุรกิจให้สั้นลง และทำให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไปดูว่ามีสิ่งใดบ้างที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีควรจะได้รับจากแฟรนไชส์ซอร์ มาดูกันเลยครับ 
 
1.แผนธุรกิจที่พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จ


 
สิ่งที่แฟรนไชส์ซีปรารถนาในการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ คือ “รูปแบบธุรกิจ” หรือ Business Model ที่ดำเนินธุรกิจมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ว่าประสบความสำเร็จ ทั้งด้านการเงินและชื่อเสียง มีแบรนด์สินค้าเป็นที่ยอมรับ มีสินค้าและบริการเป็นที่นิยม เป็นต้น

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ธุรกิจควรมีรูปแบบพร้อมให้นักลงทุนหรือแฟรนไชส์ซี ดำเนินการได้ตามแนวทางของแฟรนไชส์ซอร์ ไม่ต้องไปคิดกลยุทธ์หรือแผนงานเริ่มต้นด้วยตนเองอีก
 
2.คอร์สอบรม และคู่มือปฏิบัติงาน

 
แฟรนไชส์ซอร์ต้องเตรียมหลักสูตรการอบรม เพื่อถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ให้แฟรนไชส์ซีฝึกพัฒนาจนสามารถดำเนินธุรกิจได้เหมือนกับแฟรนไชส์ซอร์

ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจลงทุน แฟรนไชส์ซีควรสอบถามระยะเวลาการอบรม ตรวจดูหลักสูตรต่างๆ และเตรียมตัวเองให้พร้อม สำหรับระยะเวลาการฝึกอบรม และควรสอบถามว่ามีแผนการอบรมเพิ่มเติม และแผนการดูแลสนับสนุนการดำเนินงานจากแฟรนไชส์ซอร์อย่างไรบ้าง

3.ระบบการตลาด

 
แฟรนไชส์ซอร์ต้องสามารถแสดงแผนการตลาดที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโต และช่วยให้แฟรนไชส์ซีมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะค่าการตลาดที่แฟรนไชส์ซอร์เรียกเก็บจากแฟรนไชส์ซีนั้น จะถูกใช้ไปกับกลยุทธ์การตลาดต่างๆ อย่างเป็นระบบแบบแผน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เคยทำแล้วประสบความสำเร็จ และนำเสนอแผนการตลาดใหม่ๆ ในอนาคต
 
4.ระบบเทคโนโลยี

 
แฟรนไชส์ซอร์ต้องพัฒนาระบบไอทีของตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้มีความรวดเร็ว ปลอดภัยและแม่นยำ ซึ่งสามารถใช้ติดต่อประสานงานกับแฟรนไชส์ซี และใช้ตรวจสอบผลการทำงานเพื่อดูแลสนับสนุน เช่น ข้อมูลด้านยอดขาย ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการตลาด เป็นต้น ทั้งนี้ระบบดังกล่าวควรใช้ตรวจสอบข้อมูลภายในของแฟรนไชส์ซอร์เองได้ด้วย
 
5.กลุ่มลูกค้าและเครือข่ายแฟรนไชส์ซี

 
เป็นข้อพิสูจน์ความแข็งแรงของระบบแฟรนไชส์ของธุรกิจนั้นเลย ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรได้กลุ่มลูกค้าของแฟรนไชส์ซอร์ และสามารถสอบถามความเห็นของแฟรนไชส์ซีปัจจุบันว่า

ได้รับการดูแลสนับสนุนหรือมีปัญหาใดๆ ในการดำเนินธุรกิจอย่างไร ซึ่งการรวมตัวของแฟรนไชส์ซีหรือเครือข่ายนี้ จะพัฒนาอย่างดี เมื่อได้รับความเอาใจใส่ของแฟรนไชส์ซอร์โดยตลอด 
 
อย่างไรก็ตาม สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่ๆ อาจยังไม่มีแฟรนไชส์ซีเป็นจำนวนมาก นักลงทุนควรสอบถามแฟรนไชส์ซอร์เกี่ยวกับนโยบายการสนับสนุนเครือข่ายแฟรนไชส์ซีในอนาคตด้วย
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,411
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,554
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,268
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,230
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด