บทความทั้งหมด    บทความค้าขาย    การเริ่มต้นค้าขาย    ความรู้ทั่วไปการค้าขาย
4.7K
2 นาที
18 ตุลาคม 2559
10 วิธีสุดปัง!ทำให้ลูกค้าจ่ายเงินตรงเวลา

 
สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กๆแล้วๆ สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าการไม่มีกำไรคือ การขาดสภาพคล่องทางธุรกิจ นั้นหมายถึงหากทำธุรกิจขายปลีกประเภทได้เงินก่อนแล้วส่งสินค้าทีหลังก็พอจะเบาใจ

แต่หากเป็นธุรกิจที่ลูกค้ามาขอเครดิตเท่านี้ความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น มีธุรกิจมากมายที่ล้มไม่เป็นท่ากับการจ่ายเงินในลักษณะนี้ ยิ่งพอพูดเป็นสำนวนให้เข้าใจง่ายก็คือ “จ่ายสด งดเชื่อ เบื่อทวง” หรือไม่ก็ “เศรษฐีเงินสด ยาจกเงินผ่อน” เป็นต้น
www.ThaiFranchiseCenter.com เองก็ต้องการให้ทุกคนมีรายได้จากการทำธุรกิจอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วยเหตุนี้เราจึงขอเสนอ 10 วิธีสุดปัง! ที่น่าจะทำให้ลูกค้าจ่ายเงินตรงเวลามากขึ้นหรืออย่างน้อยๆก็ป้องกันไม่ให้ลูกค้าโกงเงินจากการซื้อขาย เป็นการเพิ่มอำนาจทางธุรกิจของเราให้มากขึ้นด้วย
 
1.เพิ่มช่องทางการชำระเงินให้หลากหลายมากขึ้น

 
สมมุติว่าเงื่อนไขเรา รับแต่เงินสด หรือเช็ค บางทีอาจทำให้ลูกค้ายุ่งยากในการจ่ายเงิน การเพิ่มช่องทางการจ่ายเงินก็ช่วยให้ลูกค้าโอนได้ง่ายขึ้น เช่น โอนทางออนไลน์ เครดิตการ์ด ทางมือถือ พวกแอพพลิเคชั่นต่างๆ ตลอดจนมีบัญชีธนาคารหลายๆธนาคารหน่อยก็ดี จะเพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้าจนไม่อาจมีข้อแก้ตัวเรื่องนี้ได้อีก
 
2.แจ้งลูกค้าทราบถึงกำหนดจ่ายเงินให้ชัดเจนลงบนใบกำกับภาษีแต่ละใบ

การแจ้งกำหนดการชำระลงบนใบกำกับภาษีอย่างชัดเจน จะไม่ทำให้ลูกค้าสับสน นอกจากนี้ลูกค้าในหลายๆที่ ก็มีระบบการวางบิล เราควรพิมพ์กำหนดการชำระเงินให้ตรงกัน รวมถึงการอธิบายให้เข้าใจแบบบรรทัดต่อบรรทัดเพื่อป้องกันการมึนที่อาจจะเกิดขึ้นของเหล่าลูกค้าได้
 
3.แจ้งเตือนทางออนไลน์ หรือ ส่ง Digital Invoices ให้ลูกค้า

นี่คือยุคของโซเชี่ยลมีเดียการบางครั้ง การแจ้งเตือนทาง online สามารถทำได้ง่ายมากๆ และค่าใช้จ่ายก็ถูกกว่าโทรแจ้งด้วยซ้ำหรือหากธุรกิจคุณเป็นการทำธุรกรรมออนไลน์ การส่งใบกำกับภาษีแบบดิจิตอล ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกันข้อสำคัญในการแจ้งเตือนคือควรแจ้งใกล้ๆจะถึงวันกำหนด เช่นอีก 5 วัน หรืออีก 3 วันเพื่อจะไม่ไม่มีข้ออ้างว่า “ลืม” นั่นเอง
 
4.มอบส่วนลดให้ลูกค้าที่ชำระเงินตรงเวลา


 
คล้ายๆกับ incentive หรือวิธีการล่อใจด้วยรางวัลหากลูกค้ารายใด ชำระเงินตรงเวลา อาจมีส่วนลดให้ลูกค้า เช่น 1-2% แต่ก็มีข้อควรระวังที่ลูกค้าบางราย จะขอส่วนลดตรงนี้แต่ขอจ่ายแบบเดิม ทางที่ดีก็ไม่ควรใช้วิธีนี้บ่อยเกินไปนัก
 
5.ชาจน์ลูกค้าเพิ่มหากชำระล่าช้า
 
เรียกว่าเป็นการเขียนเสือให้วัวกลัวหรือเชือดไก่ให้ลิงดู อาจจะดูเป็นสำนวนที่โหดร้ายไปหน่อยแต่หากคุณกล้าให้ส่วนลด หากลูกค้าชำระเงินเร็วแล้ว ก็ควรกล้าชาจน์ลูกค้าเพิ่มหากจ่ายเงินช้าด้วยเช่นกัน วิธีคล้ายๆกับการชำระบัตรเครดิตที่เราเคยเจอ เป็นวิธีที่ได้ผลในบางธุรกิจ เนื่องจากลูกค้าต้องไม่จ่ายเงินมากขึ้น สู้ชำระให้ไวแต่ชำระน้อยๆดีกว่าและนี่ก็เป็นวิธีกึ่งบังคับที่น่าสนใจไม่น้อย
 
6. เปิดอกคุยกันไปเลย

หากลูกค้าชำระเงินช้าบ่อยๆ การเปิดอกคุยกัน วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด แต่ผู้ประกอบการทั่วไปมักไม่ค่อยกล้าทวง อาจเป็นเพราะการไปทวงเงินอาจทำให้ลูกค้าเสียหน้า กลัวเขาจะโกรธ พาลไม่ใช้สินค้าและบริการของเรา แต่เราเชื่อว่าอยู่ที่กลวิธีการพูดมากกว่า ผู้ที่คิดจะใช้วิธีนี้ต้องมีทักษะการพูดที่ควรถามถึงสาเหตุของลูกค้าและเสนอแนวทางแก้ไขร่วมกันในระยะยาวที่น่าจะพึงพอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย 
 
7.ตัดบัตรเครดิตลูกค้าแบบ Automatic
 
บางครั้งลูกค้ามีการซื้อของแบบยอดเงินเดิมๆ เท่ากันทุกเดือนผ่านบัตรเครดิต เช่นสมาชิกรายเดือน รายปี การให้ลูกค้าตั้งค่าหักเงินเป็นรายเดือนหรือรายปี จะทำให้เราได้เงินแน่นอนและตรงเวลาแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตกลงเบื้องต้นถ้าลูกค้ายอมวิธีนี้เชื่อว่าเราไม่มีปัญหาเรื่องค้างจ่ายแน่นอน
 
8.พยายามเข้าถึงผู้มีอำนาจจ่ายเงิน


 
ส่วนใหญ่ลูกค้าถึงเวลาจ่ายเงินมักบ่ายเบี่ยงไปเป็นหน้าที่ของคนอื่น ดังเราจะเคยเห็นตัวอย่างการติดตามทวงหนี้ที่ต้องไล่ไปทีละแผนกสุดท้ายก็ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้มีอำนาจการอนุมัติสั่งจ่าย

เรื่องนี้ป้องกันได้ในตอนที่เราทำลายลักษณ์อักษณหรือสัญญาให้ระบุมาเลยว่าต้องติดตามทวงถามกับใครถ้าเขาไม่ใช่คนทำสัญญาเราก็ควรโทรถามปลายทางที่ระบุไว้ว่าเป็นคนมีอำนาจจ่ายเพื่อให้เข้าใจตรงกันเมื่อถึงกำหนดชำระ
 
9.เซ็ตระบบแจ้งเตือนภายในองค์กร

หากธุรกิจเรามีลูกค้าจำนวนมาก โอกาสที่ลูกค้าบางรายจะชำระเงินล่าช้าย่อมมีมาก เราควรหาวิธี set ระบบแจ้งเตือนภายในว่าลูกค้ารายไหนใกล้ถึงเวลาชำระเงิน เมื่อเราได้รับการแจ้งเตือน ก็จะมีเวลาเตือนหรือส่งข้อความให้ลูกค้าที่ใกล้ถึงดิวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการติดตามให้มีประสิทธิภาพขึ้น
 
10.ขอแบงค์การันตีจากลูกค้า

หลักการของแบงค์การันตี คือลูกค้าเอาเงินไปวางกับธนาคาร โดยธนาคารจะออกหนังสือค้ำประกัน หากลูกค้าไม่ชำระเงินเราก็เอาหนังสือค้ำประกันไปขึ้นเงินได้ การขอแบงค์การันตีเป็นวิธีที่ปลอดภัยทั้งสองฝ่าย (แต่จะมีค่าธรรมเนียมอยู่บ้าง) โดยมากลูกค้าจะมีภาระเพิ่มขึ้น หากเราเจรจาได้ก็จะป้องกันความเสี่ยงได้ดีทีเดียว
 
วิธีทั้งหลายเหล่านี้ถือเป็นการลดความเสี่ยงในระดับหนึ่งซึ่งหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยากแต่เชื่อเถอะว่าจะมีประโยชน์และคุ้มค่าหากทำแล้วได้ผลลูกค้าจ่ายเงินตรงเวลาสภาพคล่องธุรกิจเราก็จะดีและมีเวลาในการวางแผนธุรกิจในอนาคตได้มากขึ้นด้วย
 
บทความค้าขายยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สรุปขั้นตอนเปิดร้านในห้าง ใช้เวลาเท่าไหร่
467
บทความค้าขายมาใหม่
บทความอื่นในหมวด