บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
4.8K
3 นาที
12 ธันวาคม 2559
12 สิ่งต้องทำก่อนซื้อแฟรนไชส์ 

 
ต้องยอมรับว่า การเลือกซื้อหรือลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ มีประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ต่อผู้ประกอบการใหม่

เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ ที่บางครั้งไม่รู้ว่าจะบาดเจ็บ ล้ม ลุก คลุก คลาน มามากเท่าไหร่ ถ้าโชคดีหน่อยก็ประสบความสำเร็จ ถ้าผิดพลาดก็ล้มเหลวไปตามๆ กัน 
 
จึงไม่แปลกที่ธุรกิจแฟรนไชส์ จะได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มนักธุรกิจมือใหม่ ที่กำลังสนใจอยากจะมีธุรกิจเป็นของตนเอง เพราะในธุรกิจแฟรนไชส์ของแต่ละกิจการจะกำหนดรูปแบบความสำเร็จมาแล้วจากเจ้าของแฟรนไชส์ อาทิ รูปแบบการดำเนินธุรกิจ สูตรลับการทำอาหารเฉพาะตัว อุปกรณ์การขาย การตกแต่งหน้าร้าน ฯลฯ 
 
อย่างไรก็ตาม แม้รูปแบบของแฟรนไชส์จะเป็นสูตรสำเร็จอยู่แล้ว แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกอย่างก็ไม่ได้เป็นไปตามสูตรสำเร็จที่ตั้งไว้เสมอไป เพราะมีผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายรายประสบความล้มเหลวให้เห็นมิใช่น้อย ซึ่งอาจมาจากตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ ทำให้ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วไม่ประสบความสำเร็จ  
 
หากคุณกำลังมองหาช่องทางการทำธุรกิจแฟรนไชส์ วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ได้รวบรวมวิธีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ กล่าวอีกอย่างคือ สิ่งที่คุณจะต้องทำก่อนซื้อแฟรนไชส์ นั่นเอง 
 
1.ต้องมีบุคลิกภาพเหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์


 
ก่อนตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ คุณต้องดูว่าธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ เหมาะกับตัวคุณหรือไม่ ไม่ใช่ว่าพอเห็นแฟรนไชส์ใดแฟรนไชส์หนึ่งกำลังได้รับความนิยม มีคนซื้อแฟรนไชส์ตัวนั้นไปลงทุนมากกมาย คุณก็แห่ไปลงทุนเหมือนคนอื่น สุดท้ายก็เกิดปัญหาทางธุรกิจ ไม่ประสบความสำเร็จดั่งใจหวังแม้ว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะส่งมอบการบริหารจัดการทุกด้านให้กับคุณ 
 
ตรงนี้อาจเป็นเพราะคุณเองไม่เหมาะที่จะบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ตัวนี้ คุณอาจเหมาะกับธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทอื่น ดังนั้น ก่อนซื้อแฟรนไชส์คุณต้องศึกษาหาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้ แฟรนไชส์ประเภทไหนน่าลงทุน มีโอกาสเติบโต และเมื่อซื้อมาแล้วต้องเหมาะกับตัวคุณ เช่น คุณชอบงานบริการ คุณชอบทำอาหาร ชอบดื่มกาแฟ เป็นต้น 
 
2.ลงสำรวจภาคสนามจริง

 
แน่นอนว่า ก่อนที่จะทำธุรกิจใดๆ แล้ว ต้องมีการศึกษาหาความรู้ในธุรกิจนั้นๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เรียกได้ว่าถ้าไปนอนกับมันด้วยก็ต้องไปนอน เช่นเดียวกับการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ก่อนที่คุณจะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ตัวไหน

คุณก็ต้องลงไปคลุกคลีกับแฟรนไชส์ตัวนั้น เพื่อศึกษาโครงสร้างและรูปแบบของธุรกิจ ศึกษาตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภค ยิ่งถ้าธุรกิจนั้นๆ ที่คุณกำลังสนใจซื้อแฟรนไชส์ มีคนต่อแถวยาวเหยียดเพื่อซื้อ นั่นก็อาจทำให้คุณประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น 
 
3.วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งตัวเอง ว่าพร้อมหรือยัง

 
การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์แม้ว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะส่งมอบสูตรความสำเร็จให้กับคุณแล้ว แต่อย่าลืมว่าการบริหารธุรกิจใดๆ นั้นให้ประสบความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับทักษะ ความชำนาญ และความสามารถของแต่ละคน

คนทุกคนไม่เหมือนกัน แม้เจ้าของแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จมาก่อนแล้ว ก็ไม่ใช่คุณซื้อแฟรนไชส์มาจะประสบความสำเร็จเหมือนกับเจ้าของแฟรนไชส์ การลงทุนมีความเสี่ยง คุณต้องพร้อมรับผิดชอบกับการบริหารธุรกิจหากเกิดปัญหาและล้มเหลว ก่อนจะซื้อแฟรนไชส์ต้องวิเคราะห์จุกอ่อน จุดแข็งของตัวเองเสียก่อน ที่สำคัญคุณชอบธุรกิจนั้นๆ หรือเปล่า
  
4.สำรวจความพร้อมเงินลงทุน

 
การซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาบริหารนั้น ไม่ใช่ซื้อมาแล้วก็จบไป ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการบริหารธุรกิจอย่างน้อย 5-6 เดือน ถ้ามีเงินเพียงพอธุรกิจก็อยู่รอดได้ เรียกได้ว่าเงินหมุนเวียนเหล่านี้อาจมากเป็น 2 เท่าของเงินซื้อแฟรนไชส์ก็ว่าได้ เพราะต้องมีค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าเช่า ค่าบริหารจัดการต่างๆ เป็นต้น  
 
5.ระวังที่ปรึกษาแฟรนไชส์ 
 
ผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์ ไม่ควรมองข้ามไป เพราะที่ปรึกษาแฟรนไชส์ที่เข้ามาหาคุณ บอกว่าแฟรนไชส์นี้น่าลงทุน ให้ผลตอบแทนสูง ลงทุนแล้วเติบโตอย่างมั่นคง สิ่งเหล่านี้คุณสามารเก็บไว้พิจารณาภายหลังได้ อย่าด่วนตัดสิยใจซื้อ
 
เพราะที่ปรึกษาแฟรนไชส์ ต้องการที่อยากให้เกิดการเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ เพราะจะได้รับเงินจากการเป็นที่ปรึกษาธุรกิจเกือบครึ่งของค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ทางที่ดีก่อนซื้อแฟรนไชส์คุณต้องมีความรู้เรื่องธุรกิจแฟรนไชส์มาพอสมควร 
 
6.อย่าเชื่อทำรกิจแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จเสมอไป 

 
ไม่มีใครกล้าการัยตีได้ว่า ลงทุนทำธุรกิจนี้แล้วจะประสบความสำเร็จ 100% การทำธุรกิจทุกประเภทมีความเสี่ยงเสมอ ไม่ว่าจะขาดทุน หรือได้กำไร สามารถเกิดขึ้นได้หมด แม้ว่าการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วมาบริหาร

แต่ก็ไม่การันตีได้ว่า คุณจะประสบความสำเร็จเหมือนกับเจ้าของแฟรนไชส์ เพราะธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้นั้น จะมีองค์ประกอบหลายอย่างมาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจ ระบบธุรกิจ การบริหาร คน เป็นต้น

ดังนั้น ก่อนซื้อแฟรนไชส์ จงอย่าเชื่อ 100% ว่า ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ตัวนี้ไปแล้ว คุณจะประสบความสำเร็จเหมือนกับเจ้าของแฟรนไชส์  

7.ค้นหาข้อผิดพลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
 
ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างมากนะครับ ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ตัวนั้นไป คุณต้องอดทน อดใจรออีกนิดไม่เห็นเป็นไร ในการค้นหาข้อมูล ค้นหาข้อผิดพลาด ค้นหาด้านที่ไม่ดีของธุรกิจแฟรนไชส์ตัวนั้น ที่สำคัญทุกธุรกิจย่อมมีข้อดีและข้อเสีย ยิ่งเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีข้อเสียด้วยแล้ว ก็ต้องอย่าเผลอไปมอง จะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
 
เช่น บางธุรกิจแฟรนไชส์ ขยายสาขาได้จำนวนมาก ครอบคลุมพื้นที่ แต่เจ้าของแฟรนไชส์ไม่ให้ความสำคัญกับขนาด และระยะห่างในการเปิดร้านแฟรนไชส์ อยากขายแฟรนไชส์ให้ได้เงินอย่างเดียว อีกทั้งยังมีแฟรนไชส์รูปแบบเดียวกันอยู่ระแวกใกล้กันมากมาย ตรงนี้อาจถือเป็นข้อเสีย หรือข้อผิดพลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ ถ้าคุณซื้อไปแล้ว ตั้งใกล้กัน จะขายได้ไหม
 
8.พบปะและพูดคุยกับแฟรนไชส์ซี

 
คุณต้องดูว่าแฟรนไชส์ซีในธุรกิจนั้น มีความสุข และประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ โดยต้องลงไปพูดคุยโดยตรงกับแฟรนไชส์ซีของแฟรนไชส์นั้นๆ เพราะระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีต้องประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ไม่ใช่แฟรนไชส์ซอร์ประสบความสำเร็จ แต่แฟรนไชส์ซีไปไม่รอด ปิดสาขา 
 
ดังนั้น ก่อนที่คุณจะซื้อแฟรนไชส์ใดๆ มาบริหารแล้ว ต้องทำการศึกษา หรือสำรวจดูว่าแฟรนไชส์ซีที่ซื้อแฟรนไชส์ไปบริหาร มีความสุข และประสบความสำเร็จในธุรกิจหรือไม่ ถ้ามีการขยายสาขาของแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าแฟรนไชส์นั้นมีความน่าสนใจที่จะลงทุน มีโอกาสประสบความสำเร็จ 
 
9.อ่านรายละเอียด ข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ให้เข้าใจ
 
การลงทุนซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาบริหาร แน่นอนว่าจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในธุรกิจเร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างแบรนด์ เสียเวลาหาตลาด และลูกค้า

แต่ก่อนซื้อแฟรนไชส์ คุณก็ต้องทำการศึกษา ทำความเข้าใจระบบธุรกิจแฟรนไชส์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ อย่างน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกหลอกจากเจ้าของแฟรนไชส์ คุณต้องศึกษางบการเงิน ข้อกำหนด เงื่อนไขสัญญา กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับระบบแฟรนไชส์ให้ครบอย่างถี่ถ้วน  
 
10.จ้างที่ปรึกษาและมืออาชีพช่วย

 
หาคุณจะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ แต่ไม่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์อย่างลึกซึ้ง วิธีแก้ปัญหาคือ คุณอาจจ้างทนาย จ้างนักกฎหมาย จ้างที่ปรึกษาที่เป็นมืออาชีพ มีความีรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ทุกอย่าง มาช่วยเหลือคุณก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ได้นะครับ

อย่างน้อยคนกลุ่มนี้จะเป็นประโยชน์ในเรื่องการอ่านสัญญาแฟรนไชส์ ที่บางครั้งกฎหมาย ข้อกำหนดต่างๆ อาจทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์อย่างคุณไม่เข้าใจ ดังนั้น ยอมเสียเงินจ้างที่ปรึกษาบ้าง ดีกว่าเสียเปรียบเจ้าของแฟรนไชส์
 
11.สังเกตกระบวนการทำงานในร้าน

สมมติว่า คุณสนใจธุรกิจแฟรนไชส์เบเกอรี่ เพราะรสชาติอร่อย กลิ่นหอม ขายง่าย ราคาไม่แพง ถ้าซื้อมาบริหารแล้ว น่าจะมีกลุ่มลูกค้ารองรับ

โดยก่อนที่คุณจะซื้อแฟรนไชส์ คุณก็ลองไปสังเกตที่ร้านเบเกอรี่ที่เป็นสาขาของแฟรนไชส์นั้นๆ ดูว่าระบบการทำงานเป็นอย่างไร การรับออเดอร์ การสั่งซื้อ การชำระเงินต่างๆ ของลูกค้า

อย่าลืมสังเกตดูว่ากลุ่มลูกค้ารู้สึก0กอย่างไรต่อสินค้า และตัวธุกิจแฟรนไชส์นั้นๆ ด้วย ถ้าลูกค้ารู้สึกดี นิยมในสินค้า ทำให้คุณตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น 
 
12.วิเคราะห์ผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย 

 
แน่นอนว่า ก่อนที่คุณจะเลือกซื้อแฟรนไชสตัวไหนแล้ว จะต้องรู้ว่าธุรกิจนั้นๆ จะทำประโยชน์ให้กับคุณมากน้อยแค่ไหน ในแต่ละเดือนสามารถทำยอดขาย และสร้างผลกำไรให้กับคุณอย่างไร

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่คุณจะต้องวิเคราะห์ และคำนวณมันออกมา ก่อนที่จะซื้อแฟรนไชส์ตัวนั้นไป เพราะค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีส่วนสำคัญทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อไป อยู่รอดหรือไม่รอด

บางแฟรนไชส์ค่าแฟรนไชส์ถูก แต่ระยะเวลาคืนทุนนานไป แต่บางแฟรนไชส์ค่าแฟรนไชส์แพง แต่คืนทุนได้เร็ว  ดังนั้น ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องทำการวิเคราะห์ผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย ที่จะเกิดขึ้น ว่าคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่ 
 
ทั้งหมดเป็น 12 สิ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องทำ ก่อนที่จะซื้อแฟรนไชส์ ผู้ที่กำลังอยากเริ่มต้นธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ สามารถนำเอาไปเป็นแนวทางในการเลือกซื้อแฟรนไชส์ได้นะครับ แต่สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ คุณจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ มีเงินทุน และมีความพร้อมในการทำธุรกิจครับ  
 
ใครที่สนใจอยากลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ไหนดี ทีมงานจัดให้! รวบรวมธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละประเภท หลากหลายแบรนด์ แยกเป็นหมวดหมู่ น่าลงทุน พร้อมเสิร์ฟให้กับคุณแล้ว เข้าดูรายละเอียดข้อมูลแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ได้ที่ https://goo.gl/yzLScO
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,355
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,523
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,262
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,270
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,229
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด