บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
3.7K
2 นาที
29 มกราคม 2553

กริ๊ง.....บางสิ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ได้ (ฉุก) คิดถึง

สวัสดีครับ แต่ผมว่ารอบนี้แทบจะตั้งไม่ค่อยจะติดแล้วล่ะ ไหนจะโดนพิษน้ำมันทุบเอา ๆ ไหนจะโดนหางเลขค่าไฟฟ้าที่เตรียมจะขึ้นอีก ไหนจะโดนดอกเบี้ยของธนาคารบ้าง สถาบันการเงินบ้าง โอ้ย...ผมว่า ใครอึดผ่านไปได้ช่วงนี้ ต้องยกย่องกันเลยว่า เก่งจริงหรือของจริงกันล่ะครับ

แต่ยังไงผมว่า ถ้าคิดจะลงมาเป็นชาวตั้งตัวกันแล้ว ไอ้คำว่า “เหนื่อย” คงไม่มีล่ะ อย่างกับคำสอนที่คุณพ่อของผมได้รับการถ่ายทอดมาก็คือ ถ้ารู้สึก “ท้อ” ให้พัก แต่รู้สึก “ถอย” ให้ยันหลังไว้ แล้วหาโอกาสสู้ต่อ (สงสัยจะคล้าย ๆ กับประโยคที่เค้าว่าไว้คือ ท้อได้แต่อย่าถอย) ซึ่งผมว่า ก็ดีเนอะ ไม่งั้นคนรุ่นก่อน ๆ คงไม่สามารถสร้างอะไรเยอะแยะให้เราได้เสวยสุขกันจนป่านนี้ โดยเฉพาะธุรกิจต่าง ๆ ที่หลายบรรพชนสร้างไว้แล้วส่งต่อให้ลูกหลานได้ดูแลกันต่อ (แม้ว่า บางชิ้นก็ล่มไปกับเจ้าพวกลูกหลานนี่แหละ)

เชื่อหรือไม่ครับ ผมว่า ทฤษฎีการเป็นเจ้าของธุรกิจ นั้นก็คล้ายกับการพยายามจะเป็นแชมป์ แต่พอเป็นแชมป์แล้ว ก็ต้องพยายามป้องกันแชมป์ให้ได้ (คล้ายกับโฆษณาทีวีของบริษัทประกันชีวิตรายหนึ่ง) ที่คอยกระตุ้นเตือนพวกเราด้วยสัจจะธรรมนี้ ซึ่งผมว่า ฟังดูก็ง่าย ๆ แต่ขอโทษทีครับ ทำได้ยากน่าดู เพราะอะไรครับ อย่างน้อยก็คู่แข่งธุรกิจก็คงไม่ยอมหยุดที่จะเอาชนะเราทุกทาง แถมถ้าเราหย่อนเกมลงนิดเดียว คงโดนใส่แน่นอน

ดังนั้น ผมจึงคิดว่า ถ้าทุกท่านอยากจะตั้งตัว หรือตั้งตัวได้แล้วแต่ยังไม่แข็งแรงพอ ลองมาดูตัวอย่างง่าย ๆ ตามที่ผมจ่าหัวเรื่องวันนี้ไว้คือ เรื่องใกล้ตัวบางสิ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ได้ (ฉุก) คิดถึง แต่เสียหายหลาย ๆ เลยครับ



เรื่องที่ผมจะเล่าให้ฟังนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องจริง แต่เมื่อทุกท่านอ่านจบแล้ว ลองหาคำตอบว่า เกิดขึ้นกับตนเองหรือลูกน้องหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็ดี แต่ถ้าใช่ ก็ว่ากันเอาเองแล้วกันนะ

นายพลท่านหนึ่ง ซึ่งถือว่า เป็นเจ้านายที่เคร่งครัดมาก พยายามโทรศัพท์ติดต่อไปที่กองกำลังพลหน่วยหนึ่งที่กำลังปฏิบัติภารกิจแถว ๆ ชายแดน (ซึ่งวันที่ติดต่อเป็นวันอาทิตย์) ตามหลักแล้ว ถ้าติดต่อไป ยังไงก็ต้องมีคนรับสายปลายทางแน่นอน แต่เชื่อหรือไม่ กว่าจะมีคนรับสายก็ต้องรอกันเกือบสิบห้าครั้ง (นับว่า ท่านนายพลท่านนี้ต้องอดทนและใจเย็นมาก)

ทันทีที่มีคนรับสาย ท่านนายพลก็พูดเต็มเสียงว่า “ผม นายพล (ระบุชื่อจริง นามสกุลจริง) ขอพูดกับผู้กำกับกองกำลังพลฯ ด้วย อยู่หรือไม่”

  • “ไม่อยู่ครับผม” เสียงปลายทางตอบ
  • “แล้วรองผู้กำกับกองฯ ล่ะ อยู่มั้ย”
  • “ก็ไม่อยู่ครับ”
  • “เอ้า งั้นก็ขอผู้ช่วยกองฯ ล่ะ ยังอยู่มั้ย” เสียงท่านนายพลชักดุขึ้น
  • “ก็ไม่อยู่อีกล่ะครับ” ปลายทางตอบมาแบบชักกวน ๆ
  • “แล้วพลทหารคนไหนก็ได้ เรียกมาพูดกับผมหน่อยได้มั้ย” ท่านนายพลเริ่มฉุนแล้ว
  • “เสียใจครับท่าน เพราะไม่อยู่อีกล่ะครับ เวลานี้ไม่มีใครว่างมารับสายท่านนะครับ”
  • “แล้วตกลงไม่มีใครอยู่มารับสายผม แล้วเอ็งเป็นใครว่ะ” ท่านนายพลเริ่มฉุนปนอาการขาสั่นแล้ว
  • “ก็ผมเห็นว่า เสียงโทรศัพท์มันดังนานแล้ว กวนสมาธิของผม ก็เลยข้ามแดนมารับสายให้ ถ้าไม่มีอะไรผมจะข้ามแดนกลับไปฝั่งพม่าล่ะครับ เดี๋ยวไปส่งสินค้ากัญชาไม่ทัน” ปลายสายทิ้งท้ายแถมเสียงหัวร่อคิก ๆ ด้วย

เรื่องทั้งหมดก็มีเท่านี้ แต่เหตุการณ์นี้สำหรับผู้ที่กำลังเป็นอยากจะเป็นหรือเป็นเจ้าของธุรกิจแล้ว คงต้องหยิบมาคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าลองมีปรากฏการณ์ที่โทรศัพท์เข้ามาในบริษัทหรือร้านของเรา แต่ไม่มีผู้รับสาย หรือกว่าจะรับสายกันได้ก็ต้องรอแล้วรอเล่า รอกันจนตายกันไปข้างหนึ่ง หรือจนผู้โทรเข้ามายอมแพ้ใจวางสายไปเอง เรื่องแบบนี้ผมเจอบ่อยมากเหมือนกัน

ที่จริงแล้ว โทรศัพท์นี้ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของบริษัทและร้านค้าที่ต้องให้การดูแลอย่างดี เพราะว่า มากกว่า 95% ของลูกค้าของเราต้องติดต่อผ่านมา และถ้าเราซึ่งเป็นเจ้าของไม่ได้ฉุกคิดมาดูแลอย่างดี ส่งยามรักษาการณ์ หรือน้องระดับ ม.3 หรือ ปวช. ที่เพิ่งจบมาเป็นพนักงานรับโทรศัพท์ แต่ไม่ได้สอนหรือบอกให้ทราบถึง เทคนิคพื้นฐานการดูแลรับสายผู้ติดต่อเข้ามา เชื่อผมเถอะ คุณกำลังทำร้ายธุรกิจของคุณเองแน่นอน

  • เมื่อกริ๊งแรกเข้ามา และมีผู้รับสายเลย แสดงว่า ดีมาก
  • สองกริ๊ง แสดงว่า ดี มีมาตรฐานทั่วไป
  • สามกริ๊ง แสดงว่า พอใช้ได้
  • สี่กริ๊ง แสดงว่า ชักจะยังไงแล้วนะ
  • ห้ากริ๊ง แสดงว่า ไม่ค่อยพอใจแล้ว
  • หกกริ๊ง แสดงว่า เริ่มเดือด ๆ แล้ว
  • เจ็ดกริ๊ง แสดงว่า เริ่มโกรธแล้ว
  • แปดกริ๊ง แสดงว่า บ้าแล้ว มันตายหว่าไปไหนกันหมด...
    โครม (เสียงนี้ไม่ต้องบอกนะว่าอะไร)
 
จริง ๆ มันวางสายไปตั้งแต่ ห้าหรือหกกริ๊งแล้ว แต่ที่แน่ ๆ ไม่มีอะไรยากหรอก เพียงแต่ถ้าท่านและลูกน้องตกลงกันเป็นมาตรฐานว่า ทุกครั้งที่โทรศัพท์ดังเข้ามาในบริษัทและร้านของเรา ต้องแสดงความกระตือรือร้นรีบแย่งกันรับสายจนทำให้มองเห็นเป็นการแข่งขันกัน หรือมีคุณค่ามากถ้าหลุดหรือพลาดรับสายนั้น ๆ ไป เพราะเชื่อหรือไม่ บางครั้งโอกาสธุรกิจที่ดี ก็หลุดหรือพลาดจากเรื่องเล็ก ๆ นี้มาหลายรายแล้วล่ะครับ (จบ)


อ้างอิงจาก ดร.สุกิตติ เอื้อมหเจริญ
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,725
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,850
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,368
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,916
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,279
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,244
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด