บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
5.8K
2 นาที
27 กุมภาพันธ์ 2560
12 เรื่องจริงจาก SUBWAY ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

 
การเป็นธุรกิจระดับโลกที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันแต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้นั้นไม่ใช่ว่าจะง่ายดายเหมือนที่เราเห็นหลายธุรกิจมีเรื่องที่เรายังไม่รู้อีกมากเช่นเดียวกับ SUBWAY ธุรกิจฟาสต์ฟู้ดระดับโลก

โดย SUBWAY นั้นถือเป็นธุรกิจที่เติบโตได้รวดเร็วมากปัจจุบันในประเทศไทยก็มีสาขาของ SUBWAY อยู่ประมาณ 63 แห่งซึ่งยังเป็นปริมาณไม่มากนักถ้าเทียบกับประเทศต่างๆอย่างอินเดียที่มีสาขาของ SUBWAY กว่า 248 แห่ง

ทั้งนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่ามี 12 แง่มุมน่าสนใจให้ทุกคนได้ศึกษาและหากสังเกตให้ดีๆอาจจะพบกลเม็ดเคล็ดลับสำคัญๆที่นำไปต่อยอดการทำธุรกิจของตัวเองได้เช่นกัน

1.จุดเริ่มต้นของ SUBWAY มาจากความคิดจะหารายได้เพิ่มในช่วงปิดเทอม
Fred DeLuca ผู้ก่อตั้งธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู้ดระดับโลก SUBWAY นั้นมีความคิดสร้างธุรกิจในวัยเพียง 17 ปี ความต้องการแท้จริงคือหารายได้มาจ่ายค่าเทอมซึ่งตอนนั้น Fred เพิ่งจบมัธยมศึกษาตอนปลายและตั้งเป้าจะเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยบริดจ์พอร์ท รัฐคอนเนคติกัต
 
2.ทุนเริ่มต้นของธุรกิจระดับโลกเริ่มต้นจากเงินแค่ 1,000 เหรียญ
 
ดร.พีท บัค ซึ่งทำงานเป็นนักวิชาการด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์คือผู้ให้คำปรึกษาแก่เฟรดในช่วงแรกที่คิดจะสร้างธุรกิจ พร้อมกันนี้ ดร.พีท บัคได้แนะนำให้เปิดร้านขาย submarine sandwich หรือแซนด์วิชอันยาวที่มีลักษณะเหมือนเรือดำน้ำ โดยดร.พีทให้เฟรดยืมทุน 1,000 เหรียญ
 
3.Pete’s submarines เป็นชื่อแรกของธุรกิจก่อนเปลี่ยนมาเป็น SUBWAY

วันที่ 28 ส.ค.ในปีค.ศ 1965 ร้านแซนด์วิช Pete’s submarines ก็ได้ฤกษ์เปิดให้บริการ ได้รับการตอบรับดีพอสมควร แต่มีปัญหาตรงชื่อร้านที่ลูกค้ามักได้ยินเป็น Pizza marine จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น Pete’s super submarine และ Pete’s Subway ตามลำดับ ก่อนจะลงเอยที่ “SUBWAY” เป็นการถาวรในปีที่ 3 ของการดำเนินธุรกิจ
 
4.Eat Fresh เป็นสโลแกนที่มีมาตั้งแต่เปิดร้านในยุคแรกๆ
 
เฟรดตั้งใจจะทำแซนด์วิชที่แตกต่างจากร้านฟาสต์ฟู้ดทั่วไป เบื้องต้นคือการวางตำแหน่งสโลแกน “Eat Fresh” นั่นคือขนมปังต้องอบใหม่ทุกวัน วัตถุดิบสดสะอาดที่สำคัญคือออกแบบเคาน์เตอร์แบบเปิดทำให้ลูกค้ามองเห็นการทำงานของพนักงานขณะทำแซนด์วิชให้ลูกค้า สร้างความมั่นใจในคุณภาพอาหาร และลูกค้ารับรู้ว่ากำลังรับประทานอะไรเข้าไป 

5.ทุกเมนู SUBWAY มีฉลากบอกปริมาณพลังงานที่ลูกค้าได้รับ
 
แซนด์วิชของ SUBWAY เป็นเทรนด์เพื่อสุขภาพจึงมี การปรับสูตรให้ลดเกลือ ลดแคลอรี ปลอดไขมันทรานส์ บางสาขามีขนมปังแบบปลอดกลูเต็นสำหรับลูกค้าที่แพ้โปรตีนในแป้งสาลี และทุกเมนูของ SUBWAY มีฉลากบอกปริมาณพลังงานกำกับไว้อีกด้วย
 
6.SUBWAY เริ่มต้นการขายแฟรนไชส์ในปี 1974
 
หลังดำเนินกิจการได้ 9 ปี การขยายกิจการไปไม่ถึงไหน บางสาขาที่เปิดใหม่ ยอดขายไม่ฟู่ฟ่า เนื่องจากทำเลไม่ดี เฟรดเริ่มมองหาวิธีที่ทำให้ธุรกิจเติบโตเร็วกว่านี้ ซึ่งไม่มีอะไรดีไปกว่าการขายแฟรนไชส์ ปีพ.ศ. 2517 โดยเขาเริ่มจากการขายแฟรนไชส์ในประเทศ เป็นเวลา 10 ปี เต็ม 
 
7.แฟรนไชส์ SUBWAY ต่างประเทศที่แรกคือบาห์เรน
 
กว่า 10 ปีกับการขายแฟรนไชส์ในประเทศเขาทำได้เพียง 200 สาขาจากที่ตั้งเป้าไว้ถึง 5,000 สาขา เฟรดจึงเริ่มรุกตลาดต่างประเทศโดยประเดิมที่แรกคือประเทศบาห์เรน จากนั้นแฟรนไชส์ของ SUBWAY ก็เริ่มขยับและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องได้มากขึ้น

8. Jared Fogle คือคนที่ทำให้ SUBWAY โด่งดังแบบก้าวกระโดด
 
ในปี 1999 Jared Fogle เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยของอินเดียเขามีน้ำหนักตัวกว่า 200 กิโลกรัม แต่หลังจากเห็นโฆษณา “7 under 6” ที่โปรโมทแซนด์วิช SUBWAY ขนาด 7 นิ้วที่มีไขมันไม่ถึง 6 กรัม จาเรดก็ได้ไอเดียลดน้ำหนักด้วยแซนด์วิช SUBWAY ทุกวันและการรับประทานในปริมาณที่น้อยลง ใช้เวลาเกือบปีก็ประสบความสำเร็จ น้ำหนักเขาหายไปกว่า 107กิโลกรัม จนนิตยสาร Men’s Health นำเรื่องเขามาตีพิมพ์และกลายมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับ SUBWAY ในที่สุด
 
9.SUBWAY เป็นฟาสต์ฟู้ดเจ้าเดียวที่ไม่มีเมนูของทอดขาย
 
ในขณะที่ฟาสต์ฟู้ดเจ้าอื่นพยายามดิ้นรนให้หลุดพ้นจากคำว่าอาหารขยะ SUBWAY กลับกลายเป็นแบรนด์เดียวที่ชูจุดขายในเรื่องอาหารสดจนลูกค้ารู้สึกเป็นมิตรกับแบรนด์และ SUBWAY ยังเป็นฟาสต์ฟู้ดเจ้าเดียวที่ไม่มีเมนูของทอดขายและไม่มีของทอดเป็นส่วนประกอบในแซนด์วิชอีกด้วย
 
10.SUBWAY เป็นแซนด์วิชที่ทำตามใจลูกค้า
 
โดยลูกค้าสามารถ mix & match เลือกวัตถุดิบ เช่น ขนมปัง เนื้อ ผัก และซ้อสได้ด้วยตัวเอง โดยมีพนักงานคอยประกอบให้ตรงหน้า ณ จุดที่ลูกค้ายืนชี้นิ้วเลือก ลูกค้าจึงได้แซนด์วิชที่ทำสดๆ ใหม่ ๆ ตามแบบที่ตัวเองต้องการ
 
11.Franchise SUBWAY ทุกสาขาบริหารงานด้วยผู้ซื้อแฟรนไชส์เองทั้งสิ้น
 
ปัจจุบันสาขาของ SUBWAY มีอยู่44,222 แห่งใน 110 ประเทศทั่วโลก และไม่มีเลยสักแห่งที่บริหารโดยบริษัท Doctor’s Associates, Inc.(DAI) ซึ่งเป็นเจ้าของ SUBWAY ทุกสาขาล้วนแต่เป็นของ franchisee หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ทั้งสิ้นมีข้อดีคือข้อดีคือทำให้บริษัทลดความเสี่ยง และสามารถทุ่มเทกลยุทธ์การตลาด และการขยายแฟรนไชส์อย่างเต็มที่       

12.ขอแค่เป็นทำเลผู้คนพลุกพล่านก็เปิดกิจการ SUBWAY ได้ทันที
 
SUBWAY เป็นการลงทุนที่ไม่สูงนัก ขณะที่ รูปแบบร้าน SUBWAY ยังยืดหยุ่นได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นร้านใหญ่โตแพทเทิร์นเดียวกันเสมอ แม้พื้นที่จำกัด ขอแค่มีที่วางเคาน์เตอร์ก็มีสิทธิ์เปิดร้าน SUBWAY รูปแบบร้านไม่สำคัญ ขอเน้นว่าต้องเป็นทำเลที่มีผู้คนสัญจรผ่านจำนวนมากเท่านี้ก็เพียงพอ
 
ทั้งหมดนี้คือบางแง่มุมที่เราอาจเห็นเป็นสีสันสนุกๆแต่กว่าที่ธุรกิจนี้จะยอดฮิตทั่วโลกเชื่อได้เลยว่าผู้ก่อตั้งจะต้องเหนื่อยเลือกตาแทบกระเด็นดังนั้นไม่มีธุรกิจไหนที่สำเร็จได้ง่ายต้องพยายาม ต้องใช้ทักษะ ต้องรู้จักตลาดแล้วความสำเร็จก็จะเป็นของเราได้เช่นกัน
 
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก  goo.gl/8h742r
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,020
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,503
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,636
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,575
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
837
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด