บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    การวางแผนธุรกิจแฟรนไชส์
6.1K
3 นาที
25 มิถุนายน 2553

แฟรนไชส์น่าลงทุนสำหรับเอสเอ็มอี ปี ’53 (ตอนที่ 2)

ธุรกิจเพื่อสุขภาพ และความงาม
ธุรกิจประเภทนี้มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่รักสวยรักงาม ใส่ใจสุขภาพ ที่มีให้เห็นหลายธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจนวดสมุนไพร สปา และสถาบันเสริมความงาม เป็นต้น

โดยบางแฟรนไชส์อาจมีการคิดค้นสูตรผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายในร้านเองและจดสิทธิบัตรเป็นผลิตภัณฑ์ของธุรกิจด้วย ซึ่งนอกเหนือจากการให้บริการแล้ว ยังอาจมีการวางจำหน่ายเฉพาะตัวผลิตภัณฑ์ด้วย โดยอาจชูเป็นจุดขายของธุรกิจ ที่เน้นคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นหลัก

อาทิ เลือกใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ 100% เป็นต้น ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่ของธุรกิจประเภทนี้จะเน้นที่การตกแต่งสถานที่ให้มีบรรยากาศเหมาะสม เช่น ธุรกิจนวดสมุนไพร และสปา ก็จะมีการตกแต่งร้านให้มีความเป็นธรรมชาติ มีกลิ่นหอมสมุนไพร แสงไฟสลัวๆ ให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายเมื่อเข้ารับบริการ  ส่วนสถาบันเสริมความงาม ควรมีการตกแต่งร้านให้ดูทันสมัย หรูหรา ใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพและสะอาด เป็นต้น รวมถึงให้ความสำคัญในการฝึกอบรมพนักงานที่ให้บริการ ให้มีลักษณะสุภาพอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส อย่างเป็นกันเองอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าสถาบันลดน้ำหนัก และฟิตเนส ในช่วงนี้อาจอยู่ในภาวะที่มีการขยายตัวชะลอลง หลังจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการแข่งขันของผู้ประกอบการสูงมาก เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมีความรอบคอบในการใช้จ่ายมากขึ้น อีกทั้ง แนวทางการรณรงค์ต่างๆที่ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายตามที่สาธารณะ การควบคุมการบริโภคอาหาร  ลดอาหารที่มีแป้ง ไขมัน และน้ำตาลในปริมาณสูง ประกอบกับเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงมาก

จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจดังกล่าวเติบโตในอัตราชะลอลง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า สถาบันลดน้ำหนัก และฟิตเนส อาจเป็นธุรกิจที่ยังไม่น่าสนใจลงทุนมากนักสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในปีนี้ แต่หากยังสนใจที่จะลงทุนก็จะต้องปรับตัวให้มีความแตกต่างจากธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้วอย่างโดดเด่น จึงจะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในตลาด 

ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ

นับเป็นสถานที่ที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคในปัจจุบัน  เพราะมีการจำหน่ายสินค้าหลากหลาย ทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค พร้อมทั้งอาหารและของว่างทานเล่น รวมถึงการให้บริการชำระเงินหรือค่าบริการต่างๆ แต่ทั้งนี้หัวใจสำคัญก็ยังคงอยู่ที่การเลือกทำเลที่ตั้งร้าน โดยควรอยู่ในแหล่งชุมชน และไม่มีร้านค้าอื่นในบริเวณเดียวกัน ซึ่งเงินลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ก็จัดว่าอยู่ในระดับสูงเช่นกัน เนื่องจากต้องมีการตกแต่งร้านให้ดูทันสมัย จำเป็นต้องมีการสต็อกสินค้าให้เพียงพอต่อการหมุนเวียนในร้าน โดยมีการวางระบบบริหารจัดการสต็อกสินค้าอย่างเหมาะสม รวมถึงวางแผนระบบการเงิน และระบบการรับจ่ายในการชำระค่าบริการต่างๆ เป็นต้น  ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้การควบคุมและฝึกอบรมโดยบริษัทผู้ขายแฟรนไชส์ในระยะที่เริ่มกิจการ

ธุรกิจบริการต่างๆ


เช่น ธุรกิจถ่ายภาพด่วน งานพิมพ์/จัดทำเอกสาร ธุรกิจจัดส่งจดหมาย/เอกสาร/พัสดุ และธุรกิจซักอบรีด เป็นต้น ซึ่งล้วนช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในยุคที่สังคมมีความรีบเร่ง ก็นับว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจลงทุนสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในยุคนี้ด้วยเช่นกัน

ธุรกิจคัดแยกขยะเพื่อการรีไซเคิล

นับเป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยจะดำเนินการคัดแยกขยะ ฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว ซึ่งมีการคัดเลือกทำเลที่ตั้งที่อยู่ในถนนเส้นหลัก เพื่อง่ายต่อการขนส่ง และต้องไม่อยู่ใกล้แหล่งชุมชน สถานศึกษา โรงพยาบาล โรงแรม และสวนสาธารณะ พร้อมทั้งมีการฝึกอบรมในด้านต่างๆจากเจ้าของแฟรนไชส์  ซึ่งการลงทุนในธุรกิจนี้ต้องอาศัยเงินลงทุนค่อนข้างสูง ทั้งการก่อสร้างอาคาร/โรงงาน การจัดหาอุปกรณ์ การวางระบบเทคโนโลยี รวมถึงระบบการขนส่ง เป็นต้น 

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นตัวอย่างของธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจลงทุนในปี 2553 แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามไปก็คือคุณสมบัติที่ดีของธุรกิจแฟรนไชส์ ที่นับว่ามีความสำคัญยิ่งยวดที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรนำมาประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุนทำธุรกิจ นั่นก็คือ

สินค้าที่ผลิตจะต้องมีการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในตลาดแล้ว ซึ่งแสดงถึงการยอมรับจากผู้บริโภคในระดับหนึ่ง อีกทั้งเจ้าของแฟรนไชส์ต้องมีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะโดยปกติค่าธรรมเนียมที่เจ้าของ แฟรนไชส์เรียกเก็บจากผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์นั้นก็จะเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของการทำการตลาดด้วย หากเจ้าของแฟรนไชส์ละเลยในส่วนนี้ ก็ทำให้ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์เสียสิทธิประโยชน์ในส่วนนี้ไป

บริษัทผู้ก่อตั้งต้องเป็นผู้ชำนาญในธุรกิจนั้น และอยู่ในธุรกิจมาอย่างน้อยเป็นเวลา 5 ปี  เพื่อให้มีความรอบรู้ถึงปัญหาจากการดำเนินการในธุรกิจนั้นๆมากพอที่จะให้คำปรึกษาแก่ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ได้

ควรมีสาขาที่ดำเนินการโดยบริษัทแม่อย่างน้อย 5 แห่ง เพื่อแสดงถึงความสามารถในการบริหารสาขาของบริษัทแม่ ซึ่งจะต้องมีผลการดำเนินงานที่ดี และมีกำไรให้เห็นอย่างชัดเจน

การกระจายสาขาต้องมีความเหมาะสม ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน เพื่อไม่ให้เป็นการแย่งลูกค้ากันเอง

สินค้าต้องมีกลุ่มลูกค้า/ตลาดที่ใหญ่พอสมควร ธุรกิจต้องมีตลาดรองรับอย่างเพียงพอ จึงจะเหมาะสมในการขยายสาขาแฟรนไชส์

สินค้านั้นมีเอกลักษณ์ สามารถลอกเลียนแบบได้ยาก บ่อยครั้งที่เราจะเห็นว่าสินค้าที่สามารถเข้าสู่ตลาดและมีชื่อเสียง เมื่อกลายเป็นที่รู้จัก ประกอบกับสินค้านั้นสามารถทำเลียนแบบได้ง่าย ผู้ลงทุนทั่วไปจึงอาจมองว่าไม่จำเป็นต้องซื้อแฟรนไชส์จากเจ้าของก็ได้ แต่สามารถนำไปทำเลียนแบบเพื่อจำหน่ายได้เอง โดยอาศัยความมีชื่อเสียงของแบรนด์เจ้าของความคิดเพื่อการจำหน่ายสินค้า ก็จะเป็นการเสียผลประโยชน์สำหรับผู้ที่ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์อย่างถูกต้อง

ต้องไม่เป็นสินค้าที่มีวงจรธุรกิจที่สั้นจนเกินไป คือ ไม่เป็นสินค้าที่เกาะกระแสแฟชั่นที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเกินไป

ไม่เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมาก เพราะเมื่อผู้บริโภคมีสิทธิ์เลือกซื้อสินค้า เนื่องจากความหลายหลายในตลาด อาจเกิดการแข่งขันด้านราคา จนทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดีต้องมีความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้า เพื่อให้สามารถคงอยู่ในตลาดได้ในระยะยาว

มีผลกำไรไม่ต่ำจนเกินไป โดยกำไรของธุรกิจควรมีเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายรายเดือนของผู้ลงทุน ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารเล็กๆที่มีข้อดีเพราะใช้เงินลงทุนน้อย แต่เมื่อผู้ลงทุนดำเนินธุรกิจไประยะเวลาหนึ่ง อาจจะพบว่าผลกำไรที่ได้รับนั้นไม่เพียงพอกับรายจ่ายในครอบครัว จึงมีหลายรายที่ต้องปิดกิจการไป เป็นต้น

กล่าวโดยสรุปแล้ว การที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะเลือกลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทใด ก็ควรศึกษารายละเอียดประเภทธุรกิจอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ นอกเหนือจากความพร้อมด้านเงินทุนแล้ว โดยมีเป้าหมายในการทำธุรกิจที่ชัดเจน และมีความตั้งใจจริง ควรเลือกธุรกิจที่ตนชอบ/ถนัด มีเวลาในการดูแลธุรกิจเต็มที่ สามารถหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับธุรกิจประเภทนั้นๆ

สำรวจธุรกิจคู่แข่งในบริเวณใกล้เคียง และประเมินความเป็นไปได้ของรายรับว่าเพียงพอและครอบคลุมต้นทุนทั้งหมด รวมถึงความคุ้มในการจ่ายค่าเช่าสถานที่ในกรณีที่ไม่มีทำเลในพื้นที่ของตนเอง นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องจ่ายเป็นรายงวดแก่เจ้าของแฟรนไชส์ และพิจารณากำไรส่วนที่เหลือว่าเพียงพอต่อการใช้จ่ายภายในครอบครัวหรือไม่ เพียงเท่านี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีก็จะสามารถประสบความสำเร็จในการลงทุนทำธุรกิจแฟรนไชส์ได้เป็นอย่างดี
 

อ้างอิงจาก Ksmecare

บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนมิถุนายน 2567
9,100
ส่อง 72 แฟรนไชส์น่าสอยมาลงทุน ครึ่งปีหลัง 2567
5,542
กลับมาแล้วแฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี
1,637
เดือดแน่! 6 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาถูก จ่..
1,599
จริงมั้ย ซื้อแฟรนไชส์ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
839
ซื้อแฟรนไชส์ อย่าให้เป็นทาส แต่ให้เป็นนายตัวเองท..
829
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด